ฝนตกหนักๆ อากาศแปรปรวน มีโอกาสติด โรคมือ เท้า ปาก ! ที่มักจะพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก ในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อโรค ซึ่งส่วนใหญ่จะพบได้ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี เมื่อเด็กติดเชื้อโรคที่เป็นพาหะก็จะมีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในช่องปาก ซึ่งส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง และสามารถหายได้เอง

ฝนตกหนักแบบนี้
ภาพจาก Meagan’s Makeup

ฝนตกหนักๆ มีความเสี่ยงอย่างไร?

เนื่องจากในเวลาที่ฝนตกชุก อากาศชื้น ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี จึงทำให้อาจมีอาการไข้ ร่วมกับตุ่มเล็กๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง และสามารถหายได้เอง แต่ก็มักพบเป็นส่วนน้อย ที่อาจจะมีอาการทางสมองร่วมด้วย จนอาจทำให้รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยๆขนาดเล็กในลำคอบริเวณเพดานช่องปาก ลิ้นไก่ และทอนซิล จะมีอาการเจ็บคอมากจนกลืนน้ำลายไม่ได้จนทำให้มีน้ำลายมาก จนอาจมีอาการกลืนลำบาก ปวดท้องและอาเจียน แต่โรคมือเท้าปากนี้ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต เพราะโรคจะมีอาการอยู่ประมาณ 3 – 6 วัน จากนั้นมักจะหายเอง

ฝนตกหนักแบบนี้
ภาพจาก dearcrazykids

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อเราเริ่มรู้ว่าเด็กมีอาการเหมือนเป็นโรคมือเท้าและปาก ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการรักษาหรือให้ยาต้านโรคในทันที เพราะสาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะมาจากสิ่งสกปรกรอบ ๆ ตัวหรือเกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดมาจากคนอื่น สำหรับเด็กๆที่มีภูมิต้านทานต่ำ ก็ควรจะได้รับการดูแลเลี้ยงดูเป็นพิเศษ ต้องได้รับยาต้านอย่างดีและอาหารดี ๆ อยู่ห่างไกลจากสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายหรือเชื้อแบคทีเรียที่สกปรกอย่างมากรอบ ๆ ตัว

 

ฝนตกหนักแบบนี้
ภาพจาก homeopathyforhealth

การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
การติดต่อของโรคนี้ มักจะมาจากการสัมผัสเป็นหลัก เช่น การสัมผัสน้ำมูก อุจจาระ หากหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงไม่ได้ ก็ต้องล้างมือให้สะอาดเป็นพิเศษ เพราะมือเป็นอวัยวะที่มีช่องทางที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้มากที่สุด และควรหลีกเลี่ยงการไอหรือจามรดกันโดยไม่ปิดปากและไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อโรคกันได้ง่าย สัญญาณอันตราย หากมีอาการไข้สูง อาเจียน ซึม หายใจเหนื่อยหอบ หรือกระตุก ควรรีบไปพบแพทย์ และไม่ควรใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์เพื่อรักษาโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก เพราะมันจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยหนักขึ้น ควรใช้น้ำอุ่นเช็ดตัวบ่อยๆ และต้องให้ยาพาราเซตามอลเท่านั้น เราจำเป็นต้องใช้หลักการสังเกตจากหลายประเด็นร่วมกัน เพราะในบางครั้งผื่นก็ไม่ได้เกิดขึ้น 100% บางรายไม่มีผื่นที่มือ เท้า แต่กลับเจอที่แก้มก้น

การรักษาโรคมือเท้าปาก
โดยทั่วๆ ไปจะรักษาตามอาการของผู้ป่วย หากเพลียมากก็ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับเฝ้าระวังอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจด้วย

……………………………………………

เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวเจ็บป่วย ก็ต้องบอกประวัติแพทย์ให้เข้าใจเพื่อจะได้เฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะมากับโรคช่วงที่ฝนตกชุกแบบนี้ค่ะ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ