โรคหลอดเลือดหัวใจกิดจากการเกาะสะสมของไขมันและโคเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือดจนกระทั่งมีผลทําให้หลอดเลือดแดงตีบแข็ง และนําไปสู่โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมสุขภาพ สามารถบอกถึงสาเหตุของการเกิดโรค และสามารถทํานายถึงภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ จากการปฏิบัติตน และพฤติกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคล ว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากน้อยแค่ไหน

 

โรคหลอดเลือดหัวใจ
ภาพจาก stuff.co.nz

 

ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การกินยาคุมกําเนิด การขาดการออกกําลังกาย และการกินอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีผลทําให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น และถ้าสูงกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซนต จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงได้

ในปัจจุบันเป็นยุคสังคมอุตสาหกรรม การประกอบอาชีพมีการใช้เครื่องจักรกล และการบริการต่าง ๆ ที่อํานวยความสะดวกมากขึ้น ทําให้การใช้ชีวิตสะดวกสบาย จึงทําให้ขาดการออกกําลังกาย สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น

 

โรคหลอดเลือดหัวใจ
ภาพจาก jamanetwork.com

 

ปัจจุบัน วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจไดพัฒนาขึ้นอย่างมาก มีการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้มากมาย  เช่น การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน การใส่โครงตาข่าย การตัดคราบไขมันออก การผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ การขยายหลอดเลือดด้วยเลเซอร์ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการรักษาที่หลากหลายวิธีและมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง พบว่าการกลับเข้ารับการรักษาด้วยภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากการตีบของหลอดเลือดซ้ำถึงร้อยละ 20-50 จะเห็นว่าวิธีการรักษาต่าง ๆ ไม่สามารถทําให้โรคหายขาดได้ จึงจําเป็นต้องมีการควบคุมโรค โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพควบคู่กับการรักษาด้วย

 

โรคหลอดเลือดหัวใจ

 

โดยพฤติกรรมสุขภาพที่สําคัญของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกาย และพฤติกรรมการกินยา  ในส่วนของพฤติกรรมการกินอาหารมีความสําคัญมาก เพราะอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิตของมนุษย์ ทําให้สุขภาพแข็งแรง การกินอาหารที่เหมาะสม ทําให้ความรุนแรงของโรคลดลง หรือคงสภาพเดิมอยู่เป็นเวลานาน และหากกินทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคาร์โบไฮเดรต ในปริมาณที่มากเกินความต้องการ จะทําให้เกิดการสะสมของไขมัน และคอเลสเตอรอลภายในหลอดเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปไม่ได้ตามปกติ ทําให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจรุนแรงจนเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้

 

โรคหลอดเลือดหัวใจ

 

เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ควรปรับปรุงการกินอาหารให้เหมาะสม โดยให้ความสําคัญกับอาหารที่กิน ซึ่งต้องคํานึงถึงตั้งแต่การเลือกชนิดอาหาร การเตรียมอาหาร และการกินอาหาร โดยการลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อหรือหมูติดมัน เครื่องใน เป็นต้น และควรเลือกกินอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา ซึ่งควรกินทุกวันเพราะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ และย่อยง่าย ส่วนเนื้อสัตว ควรเลือกลักษณะที่เป็นเนื้อไม่ติดมัน ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ เช่น ผักผลไม้ ธัญญพืช และถั่วต่าง ๆ โดยเส้นใยอาหารสามารถลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหาร จึงลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้

 

โรคหลอดเลือดหัวใจ

 

ในส่วนของผักและผลไม้ ควรกินทุกวัน ให้มีความหลากหลายชนิด แต่ไม่ควรกินผลไม้ที่มีรสหวานจัด และมีไขมันสูง เช่น ทุเรียน น้อยหน่า เป็นต้น และควรดูรายละเอียดบนฉลากข้างภาชนะบรรจุเกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหาร เช่น ปริมาณไขมัน คอเลสเตอรอลและโซเดียม การไปกินอาหารนอกบ้าน ควรเลือกอาหารประเภทแกงจืด ยํา ต้ม มากกว่าอาหารทอดหรือผัด ควรปรุงอาหารด้วยการต้มแทนการทอด หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันที่มาจากไขมันสัตว์ หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยกะทิ

……………………………………………………………..

การดูแลตัวเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน จะช่วยป้องกันความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีสุขภาพที่ดีได้ค่ะ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ