ที่มา: khaosod

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า วันนี้ถือเป็นวันสุดท้ายของกระทรวงไอซีที หลังจากก่อตั้งมาได้ 13 ปี ตั้งแต่ ต.ค. 2545 พร้อมกับเปิดเผยสัญลักษณ์ใหม่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่กรมศิลปากรออกแบบให้แล้ว แต่ในส่วนของโทนสีอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย

14739442391473944808l-630x420

สำหรับสัญลักษณ์ของกระทรวงใหม่มีลักษณะคล้ายโลโก้ของกระทรวงไอซีทีโดยใช้พระพุธอยู่ตรงกึ่งกลาง เป็นสัญลักษณ์แทนภูมิปัญญามีความรอบรู้เป็นเลิศ พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ในวิทยาการต่างๆ พระหัตถ์ขวาเปล่งรัศมี เป็นวงแทนคลื่นดิจิทัล

ทั้งนี้ พระพุธ ( เขียนแบบนี้ถูกแล้ว ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งในคติไทย พระพุธถูกสร้างขึ้นมาจากคชสาร (ช้าง) 17 เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ แล้วเสกได้เป็นพระพุธ มีพระวรกายเขียว ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ฏะ ใหญ่ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ)

พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับลัคนา มักชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย

14359060_1214804091917174_5431207887242071317_n-696x696

ตามนิทานชาติเวร พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ เนื่องจากในบางปกรณัมของฮินดูเล่าว่า พระพุธเป็นโอรสของพระจันทร์กับนางตารา ซึ่งเป็นชายาของพระพฤหัสบดี ที่พระจันทร์ชิงมาเป็นชายาของตน และเป็นศัตรูกับพระราหู

ในโหราศาสตร์ไทย พระพุธถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๔ (เลขสี่ไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคชสาร 17 เชือก จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 17 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธก็คือ ปางอุ้มบาตร

เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระพุธเทียบได้กับเฮอร์มีสของเทพปกรณัมกรีก และเมอร์คิวรี่ของเทพปกรณัมโรมัน

เรื่องน่าสนใจ