ที่มา: dodeden

สมัยนี้เด็กๆ รุ่นใหม่ หรือ รุ่นเก่าๆ นี่แหละ จะชอบพิมพ์ข้อความสนทนากันแบบง่ายๆ สั้นๆ ตามเทคโนโลยีที่ไปไกล จนบางครั้งกลายเป็นความเคยชิน ส่งผลให้จดจำในรูปแบบเดิมๆ

แม้กระทั่งจดหมายติดต่องาน จดหมายราชการ หรือ ข่าวประชาสัมพันธ์ที่ทางพีอาร์บางท่านก็พิมพ์ผิด ซึ่งเรื่องราวของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนั้นต้องบอกว่าสำคัญมากๆ เพราะหากเยาวชนไทยสนทนาในคำผิดๆ ย่อมส่งผลเสียต่อภาษาไทยเราแน่นอน

และที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะเราอาจจะหลงลืมเรื่องหลักภาษาไทยว่าต้องเขียนแบบไหนถูก เขียนแบบไหนผิด เราก็เลยไม่สนใจ เขียน ๆ ไปเถอะ “คะ”, “ค่ะ” ก็เหมือน ๆ กัน สงสัยว่า ต้องกลับไปหยิบแบบเรียนภาษาไทยมาอ่านใหม่อีกรอบแล้วล่ะ จะได้เขียนกันถูก ไม่สร้างความหงุดหงิดใจให้คนอ่าน

แต่ถ้าให้จะง่ายกว่านั้น ลองมาดูการ์ตูนน่ารัก ๆ เรื่อง “คะ ค่ะ นะคะ” จากแนวคิดและฝีมือการวาดของ คุณ i-phan ดูสิ รับรองว่า เคล็ดลับวิธีการเขียนคำไทยให้ถูกต้องของ คุณ i-phan เข้าใจง่ายสุด ๆ

และหลังจากอ่านจบแล้ว หวังว่าคงจะไม่ใช้คำว่า “คะ”, “ค่ะ” , “นะคะ” ผิดกันอีกแล้วนะค่ะ เอ้ย นะคะ

p-ach_using-ka-in-thai

นอกจากนี้  คำลงท้ายเสียงที่ผิดความหมายค่อนข้างบ่อยมาก จนถึงมากที่สุด เช่น “ขอบคุณนะค่ะ”, “สวัสดีคะ”, “สบายดีไหมค่ะ” พออ่านคำเหล่านี้ แล้วจะรู้สึกเสียงที่ออกมาแปลกๆ ใช่ไหม ? เพราะแต่ละคำนั้น ก็จะสื่อออกมาว่า เป็นประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถาม หรือประโยคตอบรับ ฯลฯ

naka1

ดังนั้นแล้ว มันต้องใช้ยังไงกันล่ะ ? …. ไม่ยากครับ ค่อยๆ ดูกันไป

การใช้คำว่า “คะ”

ใช้ร่วมกับ วลี คำ หรือประโยค ที่ต้องการเสียงสูง

1.1  ใช้ในประโยคคำถาม เช่น “หรือคะ”, “ได้ไหมคะ” เป็นต้น

1.2  ใช้เพื่อเพิ่มความสุภาพ เช่น “พ่อคะ”, “แม่คะ”, “ครูคะ” เป็นต้น

ใช้ต่อหลังคำว่า “นะ” เป็นคำว่า “นะคะ” (ย้ำ! คำว่า นะค่ะ ไม่มีในโลก แค่อ่านออกเสียงก็ประหลาดแล้ว ดังนั้นอย่าใช้ผิดเป็นอันขาด)

ใช้ต่อหลังคำว่า “สิ” เป็นคำว่า “สิคะ” หรือรวมกับข้อบนด้วยก็จะได้เป็น “สินะคะ”

การใช้คำว่า “ค่ะ”

ใช้ร่วมกับ วลี คำ หรือประโยค ที่ต้องการเสียงต่ำ

1.1  ใช้ในประโยคบอกเล่า ให้ข้อมูลต่างๆ เช่น “สวัสดีค่ะ”, “ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ”

1.2  ใช้ในการตอบรับ เช่น “ค่ะ”, “ได้ค่ะ”, “เชิญค่ะ”, “ทราบแล้วค่ะ”

** บางที ใช้ร่วมกับคำว่า “น่ะค่ะ” ก็ได้ เช่น “ตรงนั้นน่ะค่ะ”

หรือจะจำง่ายๆ แบบกราฟิกด้านบน ที่ p-ach.com ได้สรุปเอาไว้ว่า คะ ใช้ต่อหลังประโยคคำถาม หรือต่อหลังคำว่า “สิ” หรือ “นะ” ส่วน   ค่ะ ใช้ต่อหลังประโยคตอบรับ หรือประโยคบอกเล่า

หรือจะตามไปดูการ์ตูน กราฟิกลายเส้น ที่ช่วยให้เข้าใจการใช้งานคำๆ นี้ได้มากขึ้น ซึ่งมีหลากหลายเยอะแยะมากในโลกออนไลน์

เครดิตภาพ สร้างสรรค์ผลงานโดย คุณ i-phan

เรื่องน่าสนใจ