งานวิจัยขององค์การนาซ่าเผยว่า ชิ้นส่วนสุดท้ายของชั้นน้ำแข็งขนาดมหึมาในทวีปแอนตาร์กติกา เริ่มอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว และอาจเกิดสลายตัวอย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี และจะทำให้ระดับน้ำทะเลในอนาคตเพิ่มสูงขึ้น
งานวิจัยมุ่งเน้นที่ชั้นน้ำแข็งที่เรียกว่า “ลาร์เซ่น บี” ซึ่งดำรงอยู่มาเป็นเวลาอย่างน้อย 10,000 ปี แต่บางส่วนได้แตกตัวออกมาเมื่อปี 2545 ทำให้เหลือพื้นที่เพียงประมาณ 1,600 ตารางกิโลเมตร
อลา คาเซนเดอร์ หัวหน้ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในงานวิจัยดังกล่าวระบุว่าการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฎว่า “ลาร์เซน บี” จะสึกกร่อนอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะหายไปในปี 2563 หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นธารน้ำแข็งที่ห้อหุ้มด้วยชั้นน้ำแข็งลาร์เซนบีจะตกลงสู่ทะเล และเร่งให้ระดับน้ำทะเลพุ่งสูงขึ้น
ทวีปแอนตาร์กติกามีชั้นน้ำแข็งหลายชั้น ขนาดใหญ่สุดที่พบเห็นมีขนาดเท่าประเทศฝรั่งเศส
ทั้งนี้ ประเทศต่างๆเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกได้ตกลงที่จะเจรจาหารือสนธิสัญญาสหประชาชาติภายในช่วงสิ้นปี 2558 เพื่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ที่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากคาดว่าจะนำมาสู่เหตุการณ์ภัยพิบัติที่มากขึ้น อาทิ น้ำท่วม, ภัยแล้ง, คลื่นความร้อนและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น