ที่มา: voicetv

งานวิจัยของอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่ล่าสุดตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Psychiatry ได้ข้อสรุปว่า การเสพกัญชาไม่ทำให้เนื้อสมองเปลี่ยนแปลง

01

ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณะสุข มักจะมีความเชื่อว่า การบริโภคกัญชาจะมีผลต่อโครงสร้างการทำงานของสมอง แต่งานวิจัยของอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่ล่าสุดตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Psychiatry ได้ข้อสรุปว่า การเสพกัญชาไม่ทำให้เนื้อสมองเปลี่ยนแปลง

งานวิจัยชิ้นนี้ตั้งสมมติฐานว่า คู่พี่น้องที่คนหนึ่งบริโภคกัญชา ในขณะที่อีกคนไม่บริโภค น่าจะมีปริมาตรเนื้อสมองที่แตกต่างกัน จากนั้นหาคำตอบด้วยการนำ พี่น้องหรือฝาแฝดทั้งชายและหญิง อายุ 22 – 35 ปี จำนวน 483 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างศึกษา โดยคนกลุ่มนี้เป็นผู้เสพกัญชา 262 คน

ผู้วิจัยทำการเปรียบเทียบ ระหว่าง คู่พี่น้องที่เสพกัญชาทั้งคู่ กับ คู่น้องที่ไม่เสพทั้งคู่ และเปรียบเทียบระหว่างพี่น้องที่คนหนึ่งเสพ อีกคนไม่เสพ จากการศึกษาและสังเกต พบว่า คนที่ใช้กัญชาจะมีสมองส่วน “อไมดลากา” มีขนาดเล็กลง ซึ่ง อไมดากลา มีขนาดเท่าเมล็กแอลมอนด์ ที่อยู่ในสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์แง่ลบทั้งหมด ทั้งความเกลียด ความเศร้า ความกลัว ความกังวลกระวนกระวายใจ

02

ซึ่งอาจารย์ผู้ทำการวิจัยยืนยันว่า ถ้าสมองส่วนอไมดากลาเล็กลง ก็เท่ากับเนื้อสมองเล็กลงมากๆ มากจนแทบเรียกว่าไม่เปลี่ยนไป

สำหรับใครที่สนใจในประเด็นเกี่ยวกับกัญชาเพิ่มเติม เว็บไซต์ประชามติ (Prachamati.org) จะจัดเวทีเสวนา “คุยแบบ No Drama เสรีภาพกัญชาควรอยู่ตรงไหน?” หลังเคยตั้งกระทู้ถามว่า “กัญชาถูกกฎหมาย เห็นด้วยหรือไม่?” ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีผู้แสดงความคิดเห็นมากกว่า 4,000 คน สะท้อนให้เห็นว่า กัญชา เป็นประเด็นที่อยู่ความสนใจของสังคมเป็นวงกว้าง

ดังนั้น ผู้จัดงานจึงเปิดพื้นที่สาธารณะออฟไลน์ ให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันต่อหน้า ใครที่สนใจสามารถไปร่วมกิจกรรมได้ในวันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2558 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกา เป็นต้นไป

เรื่องน่าสนใจ