การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อหาความผิดปกติของร่างกายในแบบต่าง ๆ

babala

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
16 กันยายน 2020
ข้อความ
131
docter24122020.jpg
ความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและลำไส้อาจไม่ได้แสดงอาการให้เห็นชัดเจนแต่แรกเริ่ม แถมอาการทั้งหลายยังมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แม้จะเป็นโรคที่ต่างกันและร้ายแรงต่างกัน ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคทางเดินอาหารและลำไส้ด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร จึงเป็นวิธีบ่งชี้ความผิดปกติที่ดีที่สุด เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน และในโรคบางโรคแพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันที เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ทำให้ลดความจำเป็น และความเสี่ยงของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด โดยการส่องกล้องทางเดินอาหารนั้นจะมี 2 ชนิดดังนี้

การส่องกล้องทางเดินอาหาร

1.การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Endoscopy)

จะใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่หลอดอาหาร ไล่ลงไปกระเพาะอาหาร ถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนมากเพื่อหาสาเหตุอาการโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน การกลืนลำบาก ปวดท้องเรื้อรัง ตรวจหาแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในช่องท้อง หรือหาเนื้องอก

วิธีตรวจส่องกล้อง: แพทย์จะใช้กล้องเอ็นโดสโคป มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ยืดหยุ่นโค้งงอได้ มีเลนส์กล้องและแสงไฟที่ปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากผ่านทางหลอดอาหารและลงไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้เห็นความผิดปกติที่เกิดในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

2.การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

เป็นการตรวจเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของผนังลำไส้ และสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติบางขนิดออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัดทางช่องท้อง หรือเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อมาตรวจวินิจฉัยเนื้อร้าย ผู้ที่ควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ หรือติ่งเนื้อในลำไส้ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาการเช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด อุจจาระลีบเล็ก ปวดท้อง ท้องอืดแน่น

วิธีตรวจส่องกล้อง: แพทย์อาจให้ยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและง่วง แล้วจึงใช้กล้อง Colonoscope กล้องเป็นท่อขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซ็นติเมตร ความยาวประมาณ 150 เซนติเมตร ยืดหยุ่น โค้งงอได้ สอดกล้องเข้าทางทวารหนักอย่างช้า ๆ เข้าไปถึงส่วนของลำไส้ใหญ่ตอนต้น เพื่อให้เห็นภาพผนังภายในลำไส้ใหญ่และมองหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อหรือติ่งเนื้อที่ผิดปกติ

ซึ่งข้อมูลด้านบนที่เราได้เอามาฝากนี้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการส่องกล้องทางเดินอาหารที่เราอยากจะให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยการส่องกล้องทั้ง 2 แบบ อย่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อหาสาเหตุอาการโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน การกลืนลำบาก ปวดท้องเรื้อรัง ตรวจหาแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในช่องท้อง หรือหาเนื้องอก เป็นต้น และการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของผนังลำไส้ และสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติบางขนิดออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัดทางช่องท้อง นั่นเองค่ะ

#ส่องกล้องทางเดินอาหาร
 
กลับ
บน ล่าง