- เข้าร่วม
- 16 กันยายน 2020
- ข้อความ
- 131
อาการหัวใจเต้นเร็วเกินไป หรือเต้นช้าเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเกิดจากระบบไฟฟ้าของหัวใจเอง และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเครียด และการสูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิดและมีหลากหลายสาเหตุ ทำให้การรักษาจึงมีความแตกต่างกันออกไปด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
1.การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ ซึ่งถึงแม้จะไม่ช่วยให้หายขาด แต่ก็ลดความถี่และความรุนแรงของการได้ โดยพบว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิดตอบสนองดีต่อการใช้ยา
2.การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) เป็นการฝังเครื่องมือเล็กๆ ไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ และสอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่ กำหนด
3.การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion) ใช้ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วเกินไป โดยแพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องส่งภายนอกร่างกายซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแปะ ที่หน้าอกของผู้ป่วยเพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่
4.การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (ablation therapy) วิธีนี้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุซึ่งอาจช่วยให้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด หายขาดได้ โดยเป็นวิธีการรักษาที่ต่อเนื่องจากการตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ เมื่อสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุของความผิดปกติ แพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงเป็นจุดเล็กๆ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น
5.การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator) เป็นการฝังเครื่องมือคล้ายกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ (ventricular fibrillation) ซึ่งอาจอันตรายต่อชีวิต โดยเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ แต่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมา เต้นปกติทันที
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่หลายวิธี แต่การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นวิธีที่ดีที่สุด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ค่ะ
#หัวใจเต้นผิดจังหวะ