- เข้าร่วม
- 16 กันยายน 2020
- ข้อความ
- 131
เนื้องอกในมดลูกเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติเกิดได้ทั้งด้านนอกผนังมดลูก อยู่ในเนื้อมดลูกหรืออยู่ในโพรงมดลูก เนื้องอกมี 2 ชนิด คือ ชนิดธรรมดาและชนิดที่เป็นมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่เนื้องอกมดลูกจะเป็นชนิดธรรมดา ซึ่งในส่วนด้านการรักษานั้นมีหลายวิธีมาก โดยในกรณีที่ไม่มีอาการแสดงออกมา หรือมีเนื้องอกขนาดเล็ก สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
วิธีการรักษาเนื้องอกมดลูก
1. ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกมดลูกออกทางหน้าท้อง (Myomectomy) สามารถนำเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด แต่มีเลือดออกเยอะ อาจเสียเลือดเยอะขณะผ่าตัด ถ้าห้ามเลือดไม่ได้อาจต้องตัดมดลูก หลังผ่าตัดมีพังผืดในช่องท้อง และอุ้งเชิงกรานได้
2. ผ่าตัดส่องกล้องเอาก้อนเนื้องอกมดลูกออก (Laparoscopic Myomectomy) สามารถนำเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด และแผลมีขนาดเล็ก แต่หากเสียเลือดเยอะมาก อาจต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง หลังผ่าตัดมีพังผืดในช่องท้อง และอุ้งเชิงกรานได้ แต่น้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
3. ผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง (Total Abdominal Hysterectomy) สามารถนำมดลูกและเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีประจำเดือน และก้อนเนื้องอกไม่กลับมาใหม่ แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และขณะผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น เกิดอันตรายกับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ ทำให้รังไข่ขาดเลือด, เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเสียเลือดมาก ต้องให้เลือด และ อาจมีภาวะติดเชื้อได้
4. ผ่าตัดส่องกล้องเอามดลูกออก (Total Laparoscopic Hysterectomy)สามารถนำมดลูกและเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีประจำเดือน ก้อนเนื้องอกไม่กลับมาใหม่ และเกิดพังผืดน้อยกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้องแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และขณะผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น เกิดอันตรายกับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ ทำให้รังไข่ขาดเลือด, เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเสียเลือดมาก ต้องให้เลือด อาจมีภาวะติดเชื้อได้ และหากการผ่าตัดทำได้ยาก มีเลือดออกเยอะ อาจต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
5. รักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal treatment) โดยแบ่งได้เป็น
· ฮอร์โมนชนิดรับประทาน (ocp) ร่วมกับยาลดเลือดประจำเดือน ช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนได้ แต่ต้องเสี่ยงกับการรับฮอร์โมนเป็นเวลานาน และไม่ได้ลดขนาดก้อนเนื้องอก
· ฮอร์โมนชนิดฉีด (GnRH agonist) ช่วยลดขนาดของก้อน มักให้ก่อนผ่าตัด อาจมีอาการคล้ายภาวะหมดประจำเดือน และ ไม่สามารถให้นานได้
6. การฉีดสารชนิดหนึ่งเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก ทำให้ก้อนเนื้องอกขาดเลือดก้อนเหี่ยว ยุบลง (Uterine Artery Embolization) ไม่ต้องผ่าตัด แต่อาจทำให้อวัยวะข้างเคียงขาดเลือดได้ และอาจมีภาวะติดเชื้อได้
7. High Intensity Focused Ultrasound (HIFU) คือ การรักษาโดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์พลังงานสูงเฉพาะจุด ทำให้เนื้อเยื่อเป้าหมาย (เนื้องอก) เกิดความร้อนสูง และเซลล์บริเวณนั้นตาย โดยไม่เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียง หลังจากนั้นร่างกายจะจัดการกับเซลล์ที่ตายโดยการทำให้มันหายไป และทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงในที่สุด
แม้ว่าโอกาสที่เนื้องอกมดลูกจะกลายเป็นมะเร็งมีน้อย ก็ใช่ว่าจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อการใช้ชีวิต แต่ด้วยรอยโรคที่มักไม่มีอาการแสดงจนกว่าก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่ การตรวจภายในประจำปีจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว และรักษาโรคได้ทัน โดยที่อาจจะไม่ต้องผ่าตัดก็ได้ค่ะ
#เนื้องอกมดลูก
วิธีการรักษาเนื้องอกมดลูก
1. ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกมดลูกออกทางหน้าท้อง (Myomectomy) สามารถนำเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด แต่มีเลือดออกเยอะ อาจเสียเลือดเยอะขณะผ่าตัด ถ้าห้ามเลือดไม่ได้อาจต้องตัดมดลูก หลังผ่าตัดมีพังผืดในช่องท้อง และอุ้งเชิงกรานได้
2. ผ่าตัดส่องกล้องเอาก้อนเนื้องอกมดลูกออก (Laparoscopic Myomectomy) สามารถนำเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด และแผลมีขนาดเล็ก แต่หากเสียเลือดเยอะมาก อาจต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง หลังผ่าตัดมีพังผืดในช่องท้อง และอุ้งเชิงกรานได้ แต่น้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
3. ผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง (Total Abdominal Hysterectomy) สามารถนำมดลูกและเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีประจำเดือน และก้อนเนื้องอกไม่กลับมาใหม่ แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และขณะผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น เกิดอันตรายกับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ ทำให้รังไข่ขาดเลือด, เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเสียเลือดมาก ต้องให้เลือด และ อาจมีภาวะติดเชื้อได้
4. ผ่าตัดส่องกล้องเอามดลูกออก (Total Laparoscopic Hysterectomy)สามารถนำมดลูกและเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีประจำเดือน ก้อนเนื้องอกไม่กลับมาใหม่ และเกิดพังผืดน้อยกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้องแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และขณะผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น เกิดอันตรายกับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ ทำให้รังไข่ขาดเลือด, เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเสียเลือดมาก ต้องให้เลือด อาจมีภาวะติดเชื้อได้ และหากการผ่าตัดทำได้ยาก มีเลือดออกเยอะ อาจต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
5. รักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal treatment) โดยแบ่งได้เป็น
· ฮอร์โมนชนิดรับประทาน (ocp) ร่วมกับยาลดเลือดประจำเดือน ช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนได้ แต่ต้องเสี่ยงกับการรับฮอร์โมนเป็นเวลานาน และไม่ได้ลดขนาดก้อนเนื้องอก
· ฮอร์โมนชนิดฉีด (GnRH agonist) ช่วยลดขนาดของก้อน มักให้ก่อนผ่าตัด อาจมีอาการคล้ายภาวะหมดประจำเดือน และ ไม่สามารถให้นานได้
6. การฉีดสารชนิดหนึ่งเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก ทำให้ก้อนเนื้องอกขาดเลือดก้อนเหี่ยว ยุบลง (Uterine Artery Embolization) ไม่ต้องผ่าตัด แต่อาจทำให้อวัยวะข้างเคียงขาดเลือดได้ และอาจมีภาวะติดเชื้อได้
7. High Intensity Focused Ultrasound (HIFU) คือ การรักษาโดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์พลังงานสูงเฉพาะจุด ทำให้เนื้อเยื่อเป้าหมาย (เนื้องอก) เกิดความร้อนสูง และเซลล์บริเวณนั้นตาย โดยไม่เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียง หลังจากนั้นร่างกายจะจัดการกับเซลล์ที่ตายโดยการทำให้มันหายไป และทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงในที่สุด
แม้ว่าโอกาสที่เนื้องอกมดลูกจะกลายเป็นมะเร็งมีน้อย ก็ใช่ว่าจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อการใช้ชีวิต แต่ด้วยรอยโรคที่มักไม่มีอาการแสดงจนกว่าก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่ การตรวจภายในประจำปีจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว และรักษาโรคได้ทัน โดยที่อาจจะไม่ต้องผ่าตัดก็ได้ค่ะ
#เนื้องอกมดลูก