การรักษาโรคเนื้องอกมดลูกในกรณีที่ไม่มีอาการและเนื้องอกมีขนาดเล็ก

babala

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
16 กันยายน 2020
ข้อความ
131
woman16062021.jpg
โรคเนื้องอกมดลูกเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิงทุกคน โดยพบได้บ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 30-50 ปี และมักแสดงอาการที่รบกวนชีวิตประจำ เช่น ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นต้น นอกจากนี้มันยังส่งผลเสียต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ในกรณีที่ไม่มีอาการหรือมีเนื้องอกขนาดเล็ก สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีดังนี้

วิธีการรักษาเนื้องอกมดลูก

1. ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกมดลูกออกทางหน้าท้อง (Myomectomy) สามารถนำเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด แต่มีเลือดออกเยอะ อาจเสียเลือดเยอะขณะผ่าตัด ถ้าห้ามเลือดไม่ได้อาจต้องตัดมดลูก หลังผ่าตัดมีพังผืดในช่องท้อง และอุ้งเชิงกรานได้

2. ผ่าตัดส่องกล้องเอาก้อนเนื้องอกมดลูกออก (Laparoscopic Myomectomy) สามารถนำเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด และแผลมีขนาดเล็ก แต่หากเสียเลือดเยอะมาก อาจต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง หลังผ่าตัดมีพังผืดในช่องท้อง และอุ้งเชิงกรานได้ แต่น้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

3. ผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง (Total Abdominal Hysterectomy) สามารถนำมดลูกและเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีประจำเดือน และก้อนเนื้องอกไม่กลับมาใหม่ แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และขณะผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น เกิดอันตรายกับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ ทำให้รังไข่ขาดเลือด, เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเสียเลือดมาก ต้องให้เลือด และ อาจมีภาวะติดเชื้อได้

4. ผ่าตัดส่องกล้องเอามดลูกออก (Total Laparoscopic Hysterectomy)สามารถนำมดลูกและเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีประจำเดือน ก้อนเนื้องอกไม่กลับมาใหม่ และเกิดพังผืดน้อยกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้องแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และขณะผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น เกิดอันตรายกับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ ทำให้รังไข่ขาดเลือด, เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเสียเลือดมาก ต้องให้เลือด อาจมีภาวะติดเชื้อได้ และหากการผ่าตัดทำได้ยาก มีเลือดออกเยอะ อาจต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

5. รักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal treatment) โดยแบ่งได้เป็น

· ฮอร์โมนชนิดรับประทาน (ocp) ร่วมกับยาลดเลือดประจำเดือน ช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนได้ แต่ต้องเสี่ยงกับการรับฮอร์โมนเป็นเวลานาน และไม่ได้ลดขนาดก้อนเนื้องอก

· ฮอร์โมนชนิดฉีด (GnRH agonist) ช่วยลดขนาดของก้อน มักให้ก่อนผ่าตัด อาจมีอาการคล้ายภาวะหมดประจำเดือน และ ไม่สามารถให้นานได้

6. การฉีดสารชนิดหนึ่งเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก ทำให้ก้อนเนื้องอกขาดเลือดก้อนเหี่ยว ยุบลง (Uterine Artery Embolization) ไม่ต้องผ่าตัด แต่อาจทำให้อวัยวะข้างเคียงขาดเลือดได้ และอาจมีภาวะติดเชื้อได้

7. High Intensity Focused Ultrasound (HIFU) คือ การรักษาโดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์พลังงานสูงเฉพาะจุด ทำให้เนื้อเยื่อเป้าหมาย (เนื้องอก) เกิดความร้อนสูง และเซลล์บริเวณนั้นตาย โดยไม่เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียง หลังจากนั้นร่างกายจะจัดการกับเซลล์ที่ตายโดยการทำให้มันหายไป และทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงในที่สุด โดยมีข้อดีดังนี้

· ไม่ต้องผ่าตัด ไม่เกิดแผลที่ผิวหนัง และไม่มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด

· ไม่มีผังผืดเกิดขึ้นภายในช่องท้องและตัวมดลูก

· ไม่ต้องดมยาสลบ

· ไม่เกิดอันตรายกับอวัยวะข้างเคียง

· ผู้ป่วยรู้ตัวตลอด สามารถสื่อสารกับแพทย์ขณะที่ทำการรักษาได้

· ระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 1 วัน

· มีโอกาสตั้งครรภ์ได้หลังการรักษา

สิ่งสำคัญในการป้องกัน และช่วยรับมือกับเนื้องอกมดลูกได้ดี คือการหมั่นตรวจภายในเป็นประจำทุกปี รวมถึงการตรวจอัลตราซาวด์ และเมื่อพบอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดความเครียด และการดูแลสุขภาพให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นเนื้องอกได้อีกทางหนึ่งค่ะ

#เนื้องอกมดลูก
 
กลับ
บน ล่าง