- เข้าร่วม
- 16 กันยายน 2020
- ข้อความ
- 131
รู้รึไม่คะ ว่าระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ทางเดินอาหารส่วนบน (หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร) ทางเดินอาหารส่วนกลาง (ลำไส้เล็ก) และ ทางเดินอาหารส่วนล่าง (ลำไส้ใหญ่) เป็นระบบอวัยวะภายในที่มีความยาวมาก เฉพาะลำไส้เล็กก็ยาวถึง 6 เมตรแล้ว การตรวจภายในทางเดินอาหารจึงเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในวันนี้พวกเราจึงสามารถตรวจจับและรักษาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารได้ด้วยการส่องกล้อง ปัจจุบันเราสามารถแบ่งเทคโนโลยีการส่องกล้องได้เป็น 2 แบบ คือ “แบบมาตรฐาน” และ “แบบซับซ้อน” โดยส่วนใหญ่อวัยวะที่มักเกิดโรคในระบบทางเดินอาหารจะเป็นทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่าง สำหรับทางเดินอาหารส่วนกลางหรือลำไส้เล็กนั้นพบได้น้อย ซึ่งการส่องกล้องทางเดินอาหารแบบมาตรฐานก็คือการส่องกล้องเข้าไปในระบบทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่างหรือกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่นั่นเอง ซึ่งระหว่างการส่องกล้องแบบมาตรฐาน” และ “แบบซับซ้อน นั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไปดังนี้
ความแตกต่างของการส่องกล้องทางเดินอาหาร แบบมาตรฐาน” และ “แบบซับซ้อน
1.การตรวจแบบมาตรฐาน
การส่องกล้องในทางเดินอาหารแบบมาตรฐานก็คือการส่องกล้องเข้าไปในระบบทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่างหรือกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ เพื่อวินิจฉัยว่ามีรอยโรค เช่น ติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือแผลอะไรบ้าง หากไม่แน่ใจว่าความผิดปกติดังกล่าวคืออะไร แพทย์ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ ในกรณีที่เจอรอยโรคขนาดเล็กและสามารถรักษาได้ด้วยการส่องกล้อง เช่น เป็นติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อขนาดประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร หรือไม่เกิน 2 เซนติเมตร ก็สามารถใช้เครื่องมือตัดออกมาได้เลย
2.การส่องกล้องแบบซับซ้อน
การส่องกล้องแบบซับซ้อนนั้นสามารถนำมาใช้ได้ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา โดยจะมีการติดตั้งเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ เข้ากับตัวกล้อง หรือเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของกล้อง ซึ่งจะให้ข้อมูลที่ละเอียดเพิ่มขึ้นจากการส่องกล้องแบบมาตรฐาน อย่างไรก็ตามการส่องกล้องแบบซับซ้อนนี้จะต้องทำโดยแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมจนมีความเชี่ยวชาญขั้นสูง ตัวอย่างการส่องกล้องแบบซับซ้อนเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค เช่น
#ส่องกล้องทางเดินอาหาร
ความแตกต่างของการส่องกล้องทางเดินอาหาร แบบมาตรฐาน” และ “แบบซับซ้อน
1.การตรวจแบบมาตรฐาน
การส่องกล้องในทางเดินอาหารแบบมาตรฐานก็คือการส่องกล้องเข้าไปในระบบทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่างหรือกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ เพื่อวินิจฉัยว่ามีรอยโรค เช่น ติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือแผลอะไรบ้าง หากไม่แน่ใจว่าความผิดปกติดังกล่าวคืออะไร แพทย์ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ ในกรณีที่เจอรอยโรคขนาดเล็กและสามารถรักษาได้ด้วยการส่องกล้อง เช่น เป็นติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อขนาดประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร หรือไม่เกิน 2 เซนติเมตร ก็สามารถใช้เครื่องมือตัดออกมาได้เลย
2.การส่องกล้องแบบซับซ้อน
การส่องกล้องแบบซับซ้อนนั้นสามารถนำมาใช้ได้ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา โดยจะมีการติดตั้งเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ เข้ากับตัวกล้อง หรือเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของกล้อง ซึ่งจะให้ข้อมูลที่ละเอียดเพิ่มขึ้นจากการส่องกล้องแบบมาตรฐาน อย่างไรก็ตามการส่องกล้องแบบซับซ้อนนี้จะต้องทำโดยแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมจนมีความเชี่ยวชาญขั้นสูง ตัวอย่างการส่องกล้องแบบซับซ้อนเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค เช่น
- การใช้กล้องกำลังขยายสูงซึ่งทำให้นอกจากจะช่วยให้เห็นภาพแบบมาตรฐานแล้ว ยังสามารถเห็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กๆ ได้อีกด้วย
- การใช้กล้องแบบคัดกรองเฉดสีซึ่งช่วยให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำขึ้น
- การใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงหรืออัลตราซาวนด์ฝังเข้าไปในส่วนปลายของกล้อง ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นรอยโรคภายใต้เยื่อบุทางเดินอาหารที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยกล้องปกติ นอกจากนี้กล้องที่ติดเครื่องกำเนิดคลื่นเสียงยังสามารถเห็นอวัยวะที่อยู่ติดกับทางเดินอาหารได้ชัดเจนขึ้น การส่องกล้องแบบซับซ้อนวิธีนี้จึงสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เกิดนอกระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย
- การใช้กล้องส่องท่อน้ำดี ซึ่งช่วยให้เห็นรูออกของท่อน้ำดีในลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจน นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถใส่เครื่องมือที่เป็นสายเข้าไปฉีดสีในท่อน้ำดีเพื่อที่จะดูภาพของท่อน้ำดีได้อีกด้วย การส่องกล้องท่อน้ำดีนอกจากจะใช้เพื่อการวินิจฉัยแล้ว ยังใช้เพื่อการรักษาได้อีกด้วย เช่น รักษานิ่วในท่อน้ำดี โดยเอากล้องเข้าไปที่รูปเปิดของท่อน้ำดีที่ลำไส้เล็กส่วนต้น แล้วคล้องนิ่วออกมาจากบริเวณดังกล่าว หรือแก้ปัญหารอยตีบในถุงน้ำดี ซึ่งแต่เดิมศัลยแพทย์จะรักษาโดยการผ่าตัดเอาท่อน้ำดีมาต่อลำไส้เล็ก แต่ในปัจจุบันแพทย์ส่องกล้องสามารถใส่ท่อเข้าไปในท่อน้ำดีเพื่อให้น้ำดีไหลลงมาโดยที่ไม่ถูกเนื้องอกกด เบียดหรือกีดขวางการระบายของน้ำดี
#ส่องกล้องทางเดินอาหาร