ความแตกต่างของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตที่หลาย ๆ คนยังไม่รู้

babala

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
16 กันยายน 2020
ข้อความ
131
09062021(1).jpg

โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากการที่เซลล์สมองขาดเลือด โดยมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน ซึ่งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นคนละโรคกัน โรคอัมพฤกษ์ คือ ภาวะที่แขน หรือขาอ่อนแรง แต่ยังพอใช้งานได้ เกิดความรู้สึกชาตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นบางครั้ง ส่วนโรคอัมพาต คือ ภาวะที่แขน หรือขาไม่มีแรง ใช้งานไม่ได้ กล่าวคืออัมพฤกษ์จะยังสามารถขยับร่างกายได้ แต่อัมพาต ไม่สามารถขยับได้เลย ซึ่งมีปัจจัยอยู่หลายอย่างที่เป็นสาเหตุส่งผลให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ โดยจะมีทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

1.ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 mmHg ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี, เป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคไตวายเรื้อรัง และควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 150/90 mmHg ในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี

2.โรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารให้อยู่ระหว่าง 80 - 130 mg/dl หรือ น้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 7 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดในร่างกาย

3.คอเลสเตอรอลในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จะทำให้ร่างกายมีค่าไขมันไม่ดี (LDL) ในเลือดสูงซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

4.โรคอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักให้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วง 18.5 - 25 ซึ่งคำนวณโดยวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

5.การขาดการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 - 40 นาที เป็นจำนวน 3 - 4 ครั้ง/ สัปดาห์

6.การสูบบุหรี่จัดและการดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 2 หน่วย ( standard drink)/ วัน หรือมากกว่า 14 หน่วย/ สัปดาห์ ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 1 หน่วย ( standard drink)/ วัน หรือมากกว่า 7 หน่วย / สัปดาห์ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยที่ 1 standard drink มีค่าเท่ากับ 10-12 กรัมของ ethanol alcohol เช่น 1 standard drink ของเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 4% จะมีปริมาณเท่ากับ 300 ml เป็นต้น

7.การใช้สารเสพติด

8.การหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่นอนกรนดัง ๆ หรือมีน้ำหนักตัวมาก ๆ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำ sleep test ดูว่ามีออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงนอนหลับหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้

9.หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบ พบในผู้ที่มีอายุมาก มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการทำอัลตร้าซาวนด์ดูหลอดเลือดบริเวณคอ

10.หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีลิ้นหัวใจผิดปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (echocardiogram)

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้

1.ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็นได้มาก เรามักพบโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ เนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด

2.เพศชาย พบอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าเพศหญิง

3.มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว

4.มีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน

ทั้งนี้หากเรารู้และเข้าใจถึงสาเหตุที่อาจนำพาไปสู่การเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตแล้ว เราก็ควรที่จะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น ๆ หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรควบคุมให้น้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตเป็นปกติ แหละที่สำคัญหมั่นตรวจสุขภาพ และพบแพทย์เป็นประจำเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วยก็จะดีมาก ๆ ค่ะ

#อัมพฤกษ์ อัมพาต
 

กระทู้ที่คล้ายกัน

กลับ
บน ล่าง