- เข้าร่วม
- 16 กันยายน 2020
- ข้อความ
- 131
นิ่วทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิ่ว มีลักษณะเป็นก้อนแข็งคล้ายก้อนกรวดเกิดจากการตกตะกอนหรือตกผลึกของหินปูนหรือเกลือแร่ในร่างกายซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ แคลเซียม ออกซาเลต, แคลเซียม ฟอสเฟต, กรดยูริค และซีสเตอีน นิ่วเกิดขึ้นที่อวัยวะใดก็จะมีชื่อเรียกตามอวัยวะนั้น เช่น นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในต่อมน้ำลาย และนิ่วทางเดินปัสสาวะซึ่งประกอบไปด้วยนิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในท่อปัสสาวะ และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เพราะฉะนั้นบทความของเราในวันนี้จึงจะพาท่านไปเจาะลึกทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้กัน ตามมาทางนี้กันเลยค่ะ
สาเหตุของการเกิดนิ่ว
ปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วทางเดินปัสสาวะ คือกรรมพันธุ์ อายุ เพศ อาหารที่รับประทาน ปริมาณน้ำที่ดื่ม ยาที่รับประทาน รวมถึงภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ
ตำแหน่งที่พบนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้ตั้งแต่ใน ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ
อาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์
- มีอาการปวดที่บริเวณบั้นเอวหรือบริเวณท้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนิ่ว
- มีปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีปัสสาวะแสบ,ขัด,ปัสสาวะลำบาก
- มีไข้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะไม่ออก กรณีเป็นนิ่วบริเวณท่อปัสสาวะ
- ไม่มีน้ำปัสสาวะ กรณีที่มีภาวะอุดตันของไตอย่างรุนแรงทั้งสองข้าง
ปัจจุบันการรักษามีหลายวิธีแล้ว ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วยแต่ละราย อาจจะเป็นการผ่าตัด การเจาะเพื่อดูดเอานิ่วออก หรือการสลายนิ่ว ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดบางประการที่แพทย์จะเลือกให้กับผู้ป่วยตามพยาธิสภาพของโรค
การรักษาโรคนิ่วโดยวิธีการสลายนิ่ว
การสลายนิ่ว คือ การรักษาโรคนิ่วโดยการทำให้นิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยพลังงานเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอกร่างกาย ซึ่งพลังงานนี้จะผ่านเข้าสู่ร่างกายโดยไม่มีการทำลายเนื้อเยื่อ หลังจากที่นิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆแล้ว จะหลุดปนออกมากับปัสสาวะ เป็นการรักษาที่ไม่จำเป็นต้องฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบใด ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาที่ทำการรักษา ไม่มีแผลหรือท่อระบายใด ๆ ออกมานอกร่างกาย ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้หลังจากรับการรักษาแล้ว
โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ต้องเป็นกังวลหรือกลัวเกินไปนะคะ เพราะปัจจุบันทางโรงพยาลต่างมีเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัย ซึ่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำมาก และหากมีอาการผิดปรกติเบื้องต้นแนะนำว่าให้รีบมาพบแพทย์ ทางแพทย์จะสอบถามอาการ และทำการตรวจร่างกาย เพิ่มเติม เพื่อระบุตำแหน่งหรือรู้ขนาดของนิ่ว โดยทำการเอกซเรย์หรือทำอัลตราซาวนด์ เพื่อดูผลจากการอุดตันของก้อนนิ่วนั้น ๆ หลังจากนั้นแพทย์จะแนะนำวิธีที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยต่อไปค่ะ
#นิ่วทางเดินปัสสาวะ