ดิวตี้ฟรีไทยใครควรได้ พลังไทย vs พลังผสมพันธุ์

Unclezamm

สมาชิกใหม่
Registered
เข้าร่วม
6 พฤษภาคม 2019
ข้อความ
3
3dfa3c157c393ff4325c3256caa55ead.jpg
จากบทความของ เดลีนิวส์ สัมปทานดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ สุดหอมหวล ใครๆ ก็อยากได้ ศึกหนนี้เปิดหน้ากันชัดๆ
"พลังคนไทย" กับ "พลังผสมพันธุ์(ต่างชาติ)" ใครเป็นใคร ตามไปดู

เหมือนว่า การชิงสัมปทาน “ดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ” ที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดให้นักลงทุนที่สนใจมาซื้อซองประมูล จะเป็นที่สนใจและกล่าวถึงกันมาก

เพราะ “ตัวละคร” ที่เปิดชื่อกันออกมา บอกได้คำเดียวว่า “สะท้อนชัด” ถึงปูมหลังและผลประโยชน์ของ “ผู้จะลงทุน” ได้อย่างชัดเจนที่สุด!!!

5 รายชื่อที่ซื้อซองประมูลดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ คือ 1.บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด 2.บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 3.บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 4.บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ 5.บริษัท รอยัลออคิด เชอราตัน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ส่วนผู้ซื้อซองประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ (รีเทล) 4 ราย คือ 1.บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 3.บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ 4.บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

ความน่าสนใจของเงื่อนไขในทีโออาร์คือ ผู้จะยื่นซองประกวดราคา ต้องแจ้งรายชื่อ “พันธมิตร” ที่จะร่วมลงทุน Joint Venture กับ ทอท. ไม่เกินวันที่ 8 พ.ค.ที่จะถึงนี้ และจะต้องยื่นซองประมูลในวันที่ 22 พ.ค. โดย ทอท. จะประกาศผล “ผู้ชนะการประมูล” ในวันที่ 31 พ.ค.นี้

บอกได้คำเดียวว่า ศึกชิงสัมปทานเฉพาะ “ดิวตี้ฟรี” ในครั้งนี้มันส์พะยะค่ะ ซึ่งถ้าวัดกันจริงๆ แล้ว การต่อสู้ครั้งนี้ สู้กันระหว่าง “พลังคนไทย” กับ “พลังพันธุ์ผสม(ต่างชาติ)” นั่นเอง

เพราะ “กลุ่มเซ็นทรัล” เปิดไต๋แล้วว่า จับมือกับ “ดีเอฟเอส สิงคโปร์” (DFS) ขณะที่ “การบินกรุงเทพ” จับมือกับ “ล็อตเต้” จากเกาหลีใต้ ส่วน “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ที่เชี่ยวชาญเรื่องการทำร้านอาหารในสนามบิน จะผนึกกำลังกับ “เอสเอสพี อินเตอร์เนชั่นแนล” ที่เป็นขาใหญ่ในธุรกิจร้านอาหารในสนามบินหลายประเทศ สำหรับ “รอยัลออคิด เชอราตัน” นั้น ยังไม่ปรากฏชัดว่าจะจับมือกับใคร หรือเป็นแค่ซื้อซองประมูล ขอดูเนื้อหาในทีโออาร์ เพื่อเตรียมการสำหรับอนาคตก็เป็นได้

โฟกัสไปที่ “เซ็นทรัล” ก่อน ถ้าติดตามข่าวสารตลอด จะรับรู้ดีว่า ช่วงที่ผ่านมา ใช้เครือข่าย “สมาคมผู้ค้าปลีกไทย” เป็นตัวขับเคลื่อนในการป้อนข้อมูลด้านที่ตัวเองต้องการสื่อเพียงด้านเดียว โดยเน้นวาทกรรม “ห้ามผูกขาดดิวตี้ฟรี” หรือ “ข้อตกลงคุณธรรม” การจับมือกับ “ดีเอฟเอส สิงคโปร์” ก็เพิ่งคว้าสัมปทานพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่สนามบินอู่ตะเภา พื้นที่ 1,400 ตรม. ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ อีกทั้งยังได้เรื่อง บริการ VAT Refund จุดรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจะคืนเป็นเงินสด ในรูปสกุลเงินบาท

การที่เซ็นทรัลต้องจับมือกับดีเอฟเอส เพราะรู้ดีว่า ตัวเองไม่มีความเชี่ยวชาญ ไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจดิวตี้ฟรี แต่ต้องการกระโดดเข้ามาเพื่อ ต่อยอดกับธุรกิจเดิม ที่นับวันจะเตี้ยลงๆ ไม่ได้บูมเหมือนก่อน คือ “เครือห้างสรรพสินค้า (CDG)-อสังหาริมทรัพย์ (CPN)-โรงแรมและบ้านพักตากอากาศ (CHR)-เครือสายงานวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน (CHG)-กลุ่มเครื่องเขียน (COL)-ดูแลตลาดให้แบรนด์ต่างๆ (CMG)” จึงจำเป็นต้องพึ่งพาความเป็นยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของโลกในธุรกิจดิวตี้ฟรี ทั้งในเรื่องประสบการณ์และเงินลงทุนจำนวนมหาศาล เพราะแวดวงธุรกิจรู้กันดีว่า การจะควักเงินลงทุนทำธุรกิจอะไรของกลุ่มเซ็นทรัล...เป็นเรื่อง “ยาก” อย่างยิ่งแต่หากฝ่าด่านคว้าชัยชนะดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ จะทำให้เครือเซ็นทรัล กลายเป็น พยัคฆ์ติดปีก ที่ยืมมือต่างชาติขยายฐาน ไปสู่การผูกขาดรูปแบบใหม่

หันมาที่ “การบินกรุงเทพ” ของ “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” ที่จับมือกับ “ล็อตเต้ เกาหลีใต้” ยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลก ต้องบอกว่าไม่ธรรมดา เพราะ “ผู้บริหารทั้งสองกลุ่ม” นี้ ดันมีเรื่อง “อื้อฉาว” เกี่ยวกับการทำธุรกิจของตัวเอง กล่าวคือ “หมอปราเสริฐ” ถูก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด กับพวกอีก 2 คน ในข้อหา ปั่นหุ้น BA (บมจ.การบินกรุงเทพ) โดยเจ้าตัวยินยอมแต่โดยดี ในการชำระค่าปรับทางแพ่งรวม 499.45 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.62 ที่ผ่านมา ส่วน “ล็อตเต้” นั้น ตัวประธานใหญ่ “นายชิน ดองบิน” เพิ่งโดนอัยการเกาหลีใต้ จับได้ว่าทำผิดกฎหมาย ที่ยักยอกเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ1.6 พันล้านบาท) และใช้ตำแหน่งเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้คนในครอบครัว สร้างความเสียหายให้กลุ่มล็อตเต้ ถึง 120 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเห็นการจับมือผนึกกำลังกันแบบนี้ของ “การบินกรุงเทพ” และ “ล็อตเต้” จึงอดคิดไม่ได้ว่า ความโปร่งใสในการทำธุรกิจดิวตี้ฟรีในเมืองไทย...จะมีจริงหรือ???

วกมาที่ “กลุ่มคิง เพาเวอร์” ที่ประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น ธุรกิจของคนไทย และลงสู้ศึกประมูลดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ แบบไม่ต้องพึ่งพา “ต่างชาติ” แต่สามารถต่อกร-ต่อสู้ในธุรกิจนี้ จนมียอดขายติดอันดับ 1 ของเอเชีย และติด 1 ใน 5 ของโลก ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญของทั้ง “ดีเอฟเอส สิงคโปร์” และ “ล็อตเต้ เกาหลีใต้” ในเวทีดิวตี้ฟรีโลก และในอดีตที่ผ่านมา ทั้งสองรายนี้ต้องการรุกคืบเข้ามาในเมืองไทยอยู่ตลอด

ที่ผ่านมา จะพบว่า “กลุ่มคิง เพาเวอร์” มีนโยบายชัดเจนในการทำธุรกิจว่า เมื่อมีกำไรก็ต้องตอบแทนสังคมไทย จึงเป็นที่มาในการเดินหน้าโครงการ “คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย” คืนประโยชน์ให้สังคม ไม่ว่าจะเป็นกีฬา ชุมชน ดนตรี การศึกษาและสุขภาพ ที่สร้างแรงขับเคลื่อน การตื่นตัว การตื่นรู้ การสร้างอาชีพ การสร้างรายได้ ต่อยอดผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากภาคต่างๆ มาวางขายในดิวตี้ฟรีของเครือคิง เพาเวอร์ หรือการเปิดตัว “ผ้าตีนจกและมัดย้อม” ของชาวปกากะญอ จังหวัดลำพูน ที่ออกแบบพิเศษ ไม่เหมือนใครในโลก และการเปิดตัว INDIGO (อินดิโก้) คอลเลกชั่นสุดพิเศษ ทำจาก "ผ้าสีย้อมคราม" ที่ผลิตจากชุมชนบ้านนาขาม จังหวัดสกลนคร สร้างรายได้ สร้างความภุมิใจให้กับชุมชนคนชนบท

คิดง่ายๆ และถามดังๆ ว่า ทั้ง “ดีเอฟเอส” และ “ล็อตเต้” จะยอมให้สินค้าพื้นบ้านที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยไปวางขายในดิวตี้ฟรีที่สิงคโปร์และเกาหลีใต้หรือไม่!!!

ดี-ไม่ดี ถ้ารายหนึ่งรายใดชนะประมูลครั้งนี้ อาจนำสินค้าประเทศตัวเอง มาวางขายในดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ ก็เป็นได้...ใครจะไปรู้

ถึงได้บอกเมื่อตอนต้นว่า การประมูลดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ ครั้งนี้ เป็นการสู้กันระหว่าง “พลังคนไทย” กับ “พลังพันธุ์ผสม(ต่างชาติ)” นั่นเอง และเป็นการบ่งบอกชัดๆ ว่า เงินรายได้ที่เกิดจากการลงทุนในครั้งนี้ ควรจะตกสู่คนไทยและนำไปต่อยอดให้สังคมไทย คืนประโยชน์ให้สังคม หรือควรแบ่งปันไปให้กับ “ต่างชาติ”...ลองไตร่ตรองกันดู

เป็นที่น่าสนใจ ที่หากมองดูแล้ว สิ่งที่ควรคืออยากให้พลังคนไทยได้สัมปทานตรงนี้ไปมากกว่า
เพราะเรื่องเงินไหลออกนอกประเทศเป็นเรื่องมหาภาค และมองแล้วคนไทยได้ประโยชน์จากพลังไทยเองมากกว่า
 

ไฟล์แนบ

  • 2019-05-06_203506.jpg
    2019-05-06_203506.jpg
    163.3 KB · ดู: 0

กระทู้ที่คล้ายกัน

กลับ
บน ล่าง