ปวดเข่าบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ ? มาเช็คกัน

pacraa

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
7 สิงหาคม 2020
ข้อความ
87
โรคข้อเข่าเสื่อม คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ ทำให้มีอาการปวด และปวดมากขึ้นเวลาใช้งานและปวดลดลงหลังจากพัก มีเสียงหรือมีความรู้สึกว่ากระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อ เช่น เวลาเดิน โดยทั่วไปจะพบมากในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป รวมทั้งวัยหนุ่มสาว ที่ต้องใส่ส้นสูงนานๆ เดิน-ยืนมากๆ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก



เช็คอาการ “ปวดเข่า”






cats.jpg


ปวดเข่า
เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
1. ปวดรอบเข่า หน้าขา

• มักมีสาเหตุมาจากหลัง ปวดร้าวลงมา (ต้องแก้ปัญหาเรื่องหลังอาการจะหายไปเอง)



2. ปวดที่ข้อเข่า
• มักจะเป็นด้านในของเข่าก่อน ต่อไปจะมีอาการบวมร่วมด้วยเสมอ ปวดที่ข้อเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) เริ่มจากเข่าหลวมเวลาเดิน นั่ง ขึ้น-ลงบันได จะมีเสียงดังเพราะกระดูกและลูกสะบ้าสีกัน ต่อไปจะเริ่มเสียวเดินไม่ปกติจนเกิดกระเผลก (ซึ่งทำให้ขาอีกข้างหนึ่งต้องทำงานหนักแทน และอาจทำให้เป็นทั้งสองข้าง) เกิดบวมเจ็บมาก เข่าจะยิ่งหลวมและโค้งออกข้างๆ (เข่าค้อม)

“ปวดเข่า” พบใน
• วัยสูงอายุ
• วัยหนุ่มสาวที่ใส่ส้นสูงนานๆ เดิน-ยืนมากๆ
• น้ำหนักตัวมาก ยกของหนักเป็นประจำ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
• เคยได้รับอุบัติเหตุหกล้มเข่ากระแทก มีปัญหาจากหลังนาน ๆ
• โรคข้อต่าง ๆ รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคเก๊าท์
การป้องกันและดูแลตัวเอง

• คุมน้ำหนักตัวให้เหมาะกับอายุและอาชีพ
• อายุยิ่งมากกระดูกก็ยิ่งบาง ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
• ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น ผู้สูงอายุไม่ควรขึ้น-ลงบันได
• นอนเตียงแทนการนอนพื้นเพื่อไม่ต้องงอเข่ามาก
• นั่งเก้าอี้ที่สูงพอเข่าตั้งฉากเท้าถึงพื้น (ไม่ควรนั่งโซฟานิ่มๆ) ไม่นั่งกับพื้นนาน ๆ
• หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ
• การเดิน ขึ้น-ลงบันได ให้ก้าวขาดีขึ้นแล้วตามด้วยขาที่เจ็บและตอนลงให้ก้าว ขาเจ็บลงแล้วตามด้วยขาดี (บนบันไดขั้นเดียวกัน)



ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น (ยังไม่ยุบบวมหรือยังเจ็บอยู่)
ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ กระดูกจะสึกหรอมากขึ้นกว่าเข่าค้อม (โก่งออกด้านข้าง) จะทำให้ขาสั้นเดินกระเผลกมากขึ้นและปวดหลังได้ ซึ่งจะต้องถึงขั้นผ่าตัด หรือใส่ข้อเข่าเทียมถ้าทุเลาปวด ยุบบวมให้เริ่มบริหารเข่า

ถ้าเดินเจ็บเสียวมาก
ให้ใส่ปลอกเข่าหรือ ผ้าพันพยุงเข่าไว้ และควรถือไม้เท้าด้านตรงข้ามกับเข่าข้างเจ็บ เพื่อแบ่งน้ำหนักตัวไปลงที่ไม้เท้า ช่วยลดน้ำหนักที่จะลงเข่า
ใช้ความร้อนประคบ ทายา นอนพัก ใช้หมอนรองใต้เข่าเพื่อให้ช่องว่างในเข่าเผยอออก เยื่อบุเข่าจะไม่ถูกบีบมากการอักเสบก็จะดีขึ้น
การนอน ควรใช้หมอนรองเข่า ถ้าเวลาพลิกตัวมีอาการปวดมากขึ้น ก็ควรใช้ผ้าพันเข่าเพื่อช่วยผยุงไว้ (ไม่ควรพันให้แน่นเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อเท้าบวมได้)

ถ้าทุเลาปวด ยุบบวม ให้เริ่มบริหารเข่า
บริหารไม่ต้านน้ำหนัก (ถ้ามีปลอกเข่าก็สวมด้วย)
1. บริหารอยู่กับที่ (ควรทำในท่านอน)


• นอนหงาย วางเข่า 2 ข้างบนหมอน ส้นเท้าวางลงพื้น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา (กดขาพับลงบนหมอนส้นเท้าวางกับพื้น)

• นับ 1-10 พัก (นับ 1-10 = 1ครั้ง ) ทำทั้งหมด 10 ครั้ง ถ้าขณะที่บริหารมีอาการปวด ให้หยุดบริหาร

• ท่านั่ง นั่งเก้าอี้ ก้นชิดและพิงผนัง ควรมีม้วนผ้ารองใต้ขาเหนือเข่า (ใกล้ขอบเก้าอี้ที่นั่ง) จะทำให้ตัวไม่แอ่นหรือหลังโก่งเหยียดเข่าตรง เกร็ง นับ 1-10 พัก (เวลาพักควรวางเท้าบนไม้รองเท้าเตี้ยๆ) แล้วนับ 1-10 ต่อทำจนครบ 10 ครั้งแล้วสลับข้าง

2. บริหารแบบเคลื่อนไหวที่เข่า

(ทำในลักษณะต้านทางแรงดึงดูดของโลก) ทำได้ทั้งท่านอนและท่านั่ง ให้เริ่มตั้งแต่น้อยครั้งแล้วค่อยๆ เพิ่มจนครบ 10 ครั้ง

ท่าเหยียดเข่า

ท่านอนหงาย นอนหงาย วางเขาลงบนหมอนข้าง (รองใต้ขาพับ) เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา เข่าเหยียดตรง (ส้นเท้าลอยจากพื้น ต้นขาอยู่กับที่ นับ 1-10 ทำจนครบ 10 ครั้ง)

ท่างอเข่า นอนคว่ำ

หมอนรองที่หน้าท้องบริเวณบั้นเอวก้นและหลัง (ถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง) ถ้าเข่ามีเสียงดังให้งอแค่ตั้งฉาก ถ้าไม่มีเสียงให้งอเต็มที่ การบริหารท่านี้ หากงอเข่าแม้เพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดให้หยุดทำ ต้องรักษาให้หายอักเสบก่อน

เช็คกลุ่มเสี่ยง อาการข้อเข่าดีหรือข้อเข่าเสื่อม หากคุณ

  • อายุ 50 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน (BMI ดัชนีมวลกายมากกว่า 23)
  • ผู้ที่มีโรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์
  • ผู้ที่มีอาการปวดเข่า ปวดมากขึ้นเวลาใช้งานและปวดลดลงหลังจากพัก มีเสียงหรือมีความรู้สึกว่ากระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อ เช่น เวลาเดิน
  • ข้อเข่าหลวม รู้สึกไม่มั่นคงเวลายืนหรือเดิน เนื่องจากเอ็นรอบๆ ข้อหย่อน
  • ข้อเข่าบวม อาจเป็นๆ หายๆ เกิดจจากเยื่อบุข้อมีอาการอักเสบและมีการสร้างน้ำไขข้อมากขึ้น
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
หากคุณเข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นอย่างน้อย 1-2 ข้อ คุณมีโอกาสเสี่ยงโรค “ข้อเข่าเสื่อม” ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้คำแนะนำและให้การรักษาอย่างมืออาชีพ ด้วยทีมแพทย์มากประสบการณ์ด้านศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง



ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Knee-Pain-Symptoms.php
#ข้อเข่าเสื่อม,อาการข้อเข่าเสื่อม, โรงพยาบาลนนทเวช


 

กระทู้ที่คล้ายกัน

กลับ
บน ล่าง