ปั๊มเติมไฟฟ้า…เรื่องจริงที่คนใช้รถควรรู้

ยายแมวน้ำ

Junior Member
Registered
เข้าร่วม
20 ธันวาคม 2013
ข้อความ
5
T 24 Hrs. ปั๊มเติมไฟฟ้า…เรื่องจริงที่คนใช้รถควรรู้
จากวิกฤติภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบกับชีวิตและทรัพย์สินเสียหายเป็นวง กว้างในหลายประเทศ ทำให้การลดภาวะโลกร้อนจึงเป็นประเด็นให้หลายประเทศรณรงค์ร่วมกันอนุรักษ์ พลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้น “รถยนต์ไฟฟ้า” จึงมีบทบาทเป็นทางเลือกใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ลดโลกร้อน ลดมลพิษ ลดกลิ่น ลดเสียง ลดละอองฝุ่น ในระยะหลังจึงมีสื่อต่างๆ และโซเชียลมีเดียนำรถยนต์ไฟฟ้าของแต่ละค่าย ออกมาโชว์ถึงความสำเร็จของยานพาหนะไฟฟ้าเพียวๆ (Electric Vehicle :EV) แทนรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง
ซึ่งการจะทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีการใช้งานได้อย่างแพร่หลายและเกิดขึ้นจริง ก็ต้องมีสถานีหรือปั๊มเติมไฟฟ้า เหมือนกับที่เรามีปั๊มน้ำมันในปัจจุบัน ให้สามารถรองรับกับการใช้งานที่จะขึ้น กองทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือ PEA จึงได้ให้ทุนสนับสนุนให้กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการศึกษา วิจัย และสร้างต้นแบบ สถานีบริการอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้าแบบรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า EV Quick Charging Station ซึ่งก็คือปั๊มเติมไฟฟ้าให้กับรถยนต์นั้นเอง
โดย Quick Charging ก็คือ ความรวดเร็วในการอัดประจุไฟฟ้าไปยังแบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งตอนนี้มีสถานีต้นแบบที่เป็น Q 20 คือจะใช้เวลาในการอัดประจุไม่เกิน 20 นาที ซึ่งถ้าเป็นแต่ก่อนต้องใช้เวลากว่า 5- 6 ชั่วโมงเลยทีเดียว ส่วนพลังงานไฟฟ้าที่เติมในรถนั้น นำมากจากการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้โซล่าเซลล์ที่อยู่บนหลังคาของสถานี โดยจะมีหน้าจอที่ทำการควบคุมบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ ซึ่งเครื่องอัดประจุจะดึงพลังงานไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้นั้นมาใช้ในการอัดประจุ ให้กับรถยนต์ หากกรณีที่ไฟฟ้าที่เก็บไว้ไม่เพียงพอก็จะดึงพลังงานมาจากโครงข่ายไฟฟ้าของ PEA และหากในกรณีที่พลังงานที่เก็บสะสมมีมากเกินความต้องการ ระบบจะจัดการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ากลับคืนเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้าได้ด้วย
ผู้ใช้งานสามารถเติมไฟฟ้าได้เองอย่างสะดวกโดยนำหัวจ่ายไฟต่อเข้ากับรถ คล้ายกับการเติมน้ำมัน แล้วสั่งงานผ่านจอทัชสกรีนของเครื่องอัดประจุ ซึ่งทำงานง่าย ไม่ซับซ้อน โดยในเวลานี้สถานีต้นแบบที่ PEA นี้ได้เปิดให้ใช้บริการได้แล้ว โดยคุณนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก็บอกว่า ในช่วงทดลองการใช้งานนี้จะเปิดให้ผู้ใช้บริการใช้งานได้ฟรีอีกด้วย อีกทั้งในขณะนี้เองทีมวิจัยก็กำลังเร่งพัฒนา Q15 ที่จะใช้เวลาในการอัดประจุสั้นลง เหลือเพียงไม่เกิน 15 นาที ซึ่งอีกไม่นานคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์
รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะตอบสนองนโยบายการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายจากการใช้ พลังงานไฟฟ้า เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้กันอย่างแพร่หลายในอนาคต และเป็นการช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งสถานีอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้าเพื่ออนาคตนี้ก็เป็นงานวิจัยคนไทยที่ใช้ได้ จริง ไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่ควรได้รับการสนับสนุนต่อไป

ที่มา sanook.com
 
กลับ
บน ล่าง