- เข้าร่วม
- 16 กันยายน 2020
- ข้อความ
- 131
มะเร็งรังไข่จัดว่าเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงหลายช่วงวัยทั้งในวัยเด็กและวัยเจริญพันธุ์ แต่มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40-60 ปี โรคนี้เกิดจากการที่มีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง หากใครที่เป็นระยะแรก ๆ จะดูไม่ค่อยออกเพราะไม่มีอาการแสดงออกมา แต่ถ้าหากมีอาการที่แสดงออกมาดังต่อไปนี้ควรที่จะต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยโรคโรคอย่างด่วนเลยค่ะ
อาการของมะเร็งรังไข่
มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการผิดปกติ มีบางรายอาจคลำได้ก้อนในท้องหรือมีความรู้สึกว่าบริเวณท้องน้อยโตขึ้น อาการที่ควรสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งรังไข่คือ อาการอืดแน่นท้อง เรอบ่อย ๆ เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือมีแก๊สมากในกระเพาะอาหาร รับประทานยาลดกรดแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อาการอืดแน่นท้องมักเกิดจากการมีสารน้ำในช่องท้องปริมาณมากหรือมีก้อนมะเร็งในช่องท้อง บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
การป้องกันและการตรวจคัดกรอง
สตรีที่มีความเสี่ยงสูงจากการมีประวัติมะเร็งรังไข่ในครอบครัว ควรให้คำแนะนำในการป้องกัน โดยถ้ายังไม่แต่งงานหรือยังไม่ต้องการมีลูก แนะนำให้รับประทานยาคุมกำเนิดไว้ตลอด แต่ถ้ามีลูกเพียงพอแล้ว แนะนำเรื่องการตัดรังไข่ออก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะตัดรังไข่ออกไปแล้วก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของเยื่อบุช่องท้อง เพราะเป็นเซลล์ที่พัฒนามาจากต้นกำเนิดเดียวกันของเซลล์บุผิวรังไข่
การตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ ในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพสูงพอ ส่วนใหญ่จะแนะนำในสตรีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ วิธีการตรวจคัดกรองได้แก่
1. การตรวจภายในประจำปี
2. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด เพื่อดูลักษณะและขนาดของรังไข่รวมทั้งปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่
3. การตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ คือ สาร CA125 ซึ่งอาจจะสูงขึ้นใน มะเร็งรังไข่บางชนิดและอาจปกติในมะเร็งรังไข่บางชนิด สาร CA125 อาจจะสูงขึ้นได้ในภาวะ อื่นที่ไม่ใช่มะเร็งรังไข่ เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ตับอักเสบ การอักเสบในเชิงกราน เยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่ เนื้องอกของมดลูก การตั้งครรภ์และการมีประจำเดือนเป็นต้น
ในทางป้องกันการเป็นมะเร็งรังไข่นี้ ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางเฉพาะ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค อีกทั้งมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งตรวจสุขภาพตรวจภายในหรือทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องอย่างน้อยปีละครั้งด้วยนะคะ
#มะเร็งรังไข่
อาการของมะเร็งรังไข่
มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการผิดปกติ มีบางรายอาจคลำได้ก้อนในท้องหรือมีความรู้สึกว่าบริเวณท้องน้อยโตขึ้น อาการที่ควรสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งรังไข่คือ อาการอืดแน่นท้อง เรอบ่อย ๆ เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือมีแก๊สมากในกระเพาะอาหาร รับประทานยาลดกรดแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อาการอืดแน่นท้องมักเกิดจากการมีสารน้ำในช่องท้องปริมาณมากหรือมีก้อนมะเร็งในช่องท้อง บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
การป้องกันและการตรวจคัดกรอง
สตรีที่มีความเสี่ยงสูงจากการมีประวัติมะเร็งรังไข่ในครอบครัว ควรให้คำแนะนำในการป้องกัน โดยถ้ายังไม่แต่งงานหรือยังไม่ต้องการมีลูก แนะนำให้รับประทานยาคุมกำเนิดไว้ตลอด แต่ถ้ามีลูกเพียงพอแล้ว แนะนำเรื่องการตัดรังไข่ออก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะตัดรังไข่ออกไปแล้วก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของเยื่อบุช่องท้อง เพราะเป็นเซลล์ที่พัฒนามาจากต้นกำเนิดเดียวกันของเซลล์บุผิวรังไข่
การตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ ในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพสูงพอ ส่วนใหญ่จะแนะนำในสตรีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ วิธีการตรวจคัดกรองได้แก่
1. การตรวจภายในประจำปี
2. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด เพื่อดูลักษณะและขนาดของรังไข่รวมทั้งปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่
3. การตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ คือ สาร CA125 ซึ่งอาจจะสูงขึ้นใน มะเร็งรังไข่บางชนิดและอาจปกติในมะเร็งรังไข่บางชนิด สาร CA125 อาจจะสูงขึ้นได้ในภาวะ อื่นที่ไม่ใช่มะเร็งรังไข่ เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ตับอักเสบ การอักเสบในเชิงกราน เยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่ เนื้องอกของมดลูก การตั้งครรภ์และการมีประจำเดือนเป็นต้น
ในทางป้องกันการเป็นมะเร็งรังไข่นี้ ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางเฉพาะ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค อีกทั้งมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งตรวจสุขภาพตรวจภายในหรือทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องอย่างน้อยปีละครั้งด้วยนะคะ
#มะเร็งรังไข่