มันกุ้งอันตรายจริงหรือ?

เขต

Junior Member
Registered
เข้าร่วม
16 มีนาคม 2014
ข้อความ
10
กุ้งเผา จัดเป็นอาหารยอดฮิต ที่ถูกแชร์รูปกันในโลกออนไลน์ ทั้งทางเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวีตเตอร์ ให้เราเห็นผ่านตากันมากที่สุดอีกเมนูนึงเลยก็ว่าได้ แต่ละรูปล้วนโชว์ด้วยภาพกุ้งตัวใหญ่ๆ ผ่าครึ่ง ที่มีส่วนหัวที่เป็นมันเยิ้มสีส้ม ๆ เคียงข้างด้วยน้ำจิ้มซีฟู้ดที่ดูแล้วสุดแสนจะยั่วน้ำลายผู้ที่ได้เห็นภาพยิ่งนัก ทำให้รู้ว่า กุ้งเผาเป็นเมนูใกล้ตัวที่ใครต่อใครก็ชอบรับประทาน จนไม่นานนี้ผู้เขียนได้เห็นการแชร์บทความข้อมูลทางเฟซบุ๊ก ให้ระวัง มีข้อความกล่าวอ้างว่า "มันกุ้ง" คือ อะไร?? รู้ไว้ก่อนกิน..มันกุ้งที่หลายคนชื่นชอบนั้น แท้จริงแล้วมันคือ "ตับ" ของกุ้งนั่นเอง ตับกุ้ง เป็นตัวสร้างพิษและโรคร้ายต่าง ๆ อย่างน่าตกใจ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ได้ทำการแจ้งให้แก่ประชาชนทราบถึงพิษภัยของมันกุ้งที่มีต่อผู้บริโภค ตับของกุ้ง ก็เหมือนกับตับของสัตว์และคน คือ ทำหน้าที่ในการกรองสารพิษและเชื้อโรคออกจากกระแสเลือด ตลอดจนสร้างน้ำย่อยให้แก่ระบบทางเดินอาหารในร่างกาย ตับจึงเป็นที่รวมของสารพิษต่าง ๆ ที่อาจตกค้าง ร่างการจึงขับส่วนที่เป็นมันไปตรวจหาสารโลหะ หรือสารพิษต่างๆ เราจึงเห็นมันกุ้งอยู่บริเวณส่วนหัวเป็นจำนวนมาก มันกุ้งจึงเป็นแหล่งรวมพิษภัย และสร้างโรคภัยให้แก่ผู้รับประทานได้อย่างดี ซึ่งคลอเรสเตอรอล Cholesterol ในกระแสเลือดที่จะสะสมเป็นปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกาย และนั่นจะทำให้เกิดโรคภัยในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ภาวะหลอดเลือดต่าง ๆ ตีบตัน ดังนั้นผู้ที่กำลังอร่อยอยู่กับเจ้าหัวกุ้งล่ะก็ ระวังกันหน่อย ผู้เขียน ได้อ่านแล้ว จึงเกิดความสงสัยว่าเจ้ามันที่หัวกุ้งที่สุดแสนจะเอร็ดอร่อย และมีผู้รับประทานกันโดยทั่วไป มันมีอันตรายอย่างเช่น บทความข้างต้นนี้ จริงหรือ?? และถ้าจริง ทำไมหน่วยงานภาครัฐถึงไม่มีการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้บริโภค และควบคุมผู้ประกอบการ ผู้เขียนจึงได้หาข้อมูลทางวิชาการ และทำการติดต่อไปตามหน่วยงานราชการที่ได้ถูกกล่าวอ้างในบทความข้างต้นนี้ คือ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ได้มีโอกาศพูด็คุยกับคุณเจ้าหน้าที่นักวิชาการของสถาบัน เพื่อสอบถามถึงอันตรายตามที่บทความได้กล่าวอ้าง ผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญ ดังนี้นะคะ ดร.สมเกียรติ์ กาญจนาคาร นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ทราบว่า ที่ผ่านมามีประชาชนโทรศัพท์ไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่สถาบันฯ เป็นจำนวนมากถึงฟอร์เวิร์ดเมล และบทความดังกล่าวที่ได้ถูกแชร์กันในโลกออนไลน์ ซึ่งทางสถาบันไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ส่ง และยืนยันว่าไม่ได้ส่งมาจากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืดฯ แน่นอน ดร.สมเกียรติ์ กล่าวว่า มันกุ้ง คือ ตับ ทำหน้าที่ย่อยอาหารของกุ้งจริง การตรวจว่ากุ้งมีร่องรอยของเชื้อโรคหรือไม่จะตรวจที่มันกุ้ง เรื่องที่มันกุ้ง เป็นแหล่งรวมโรคและสารพิษของกุ้ง นั้น ยังไม่มีข้อมูลวิจัยในเรื่องดังกล่าว จึงยืนยันไม่ได้ว่ามันกุ้ง คือ แหล่งสะสมของเชื้อโรคหรือไม่ อีกทั้งเรื่องที่ว่าเป็นแหล่งรวมของสารโลหะหนักหรือสารพิษ ก็ไม่มีข้อมูลวิจัยเช่นกัน จึงไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกกับเรื่องดังกล่าว การบริโภคกุ้งนั้นหากทำให้สุกด้วยความร้อน เชื้อโรคในกุ้งจะตายหมด ผู้บริโภคปลอดภัย รวมทั้งไม่มีรายงานว่าเชื้อโรคในกุ้งติดต่อถึงคนได้ คงโล่งอกโล่งใจกันไปบ้างพอสมควร แต่ผู้เขียนก็ไม่อยากให้คุณผู้อ่าน รับประทานมันที่หัวกุ้งมากเกินไป เพราะเนื่องจากมันที่บริเวณหัวกุ้งนี้ มีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูง หากทานในปริมาณมาก ก็ส่งผลต่อภาวะไขมันในเลือดสูงได้ และเมื่อไขมันสะสมพอกหนาเป็นเวลานานหลายปีจนหลอดเลือดแดงตีบตัน ทำให้อวัยวะสำคัญขาดเลือดไปเลี้ยง มีอาการอันตรายและก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย หรือเสียชีวิตเฉียบพลันได้ และหากนำไปปรุงเป็นเมนู กุ้งเผานั้น หากผ่านความร้อนที่ไม่เพียงพอในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ก็อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับจุลินทรีย์จนเกิดอาการของอาหารเป็นพิษ และท้องเสียได้ สาวกกุ้งเผา ก็เบาๆกันหน่อยนะคะ อย่าลืมนะคะว่าอะไรที่มากไป ก็ไม่ดี ทานได้บ้าง นาน ๆ ที ควบคู่ไปกับผัก ผลไม้บ้าง แบบนี้น่าจะส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวกันนะคะ อย่าลืมหลักสำคัญที่ว่า You are what you eat อยากมีสุขภาพที่ดี ทานอาหารดี ๆ และมีประโยชน์กันในทุกๆมื้อนะคะ ที่มา www.hunsa.com
 
กลับ
บน ล่าง