รับตอกเสาเข็มไมโคไพรในเขตกรุงเทพฯและปริมนฑล โทร 085-6120657

gopiko

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
3 กรกฎาคม 2019
ข้อความ
125
รับตอกเสาเข็มไมโคไพร(ไนพื้นที่จำกัด)ไนเขตกทม.และปริมนทล
ด้วยเข็มไอ18 ไอ22 กลม20และกลมกลวง25
ตอกลึก18-20เมตรหรือถึงดินดาน
เช็คโบว์เค้า
สามารถตอกได้ชิดตัวบ้านงานไม่เลอะ
แรงสัานสะเทือนน้อย
ไม่มีผลข้างเคียงต่อบ้านข้าง
รับน้ำหนักได้20-30ตันต่อต้น หมดปันหาการทรุดตัวของบ้าน

สนใจช่างซ่อมแซ่มและต่อเติมติดต่อได้ที่
เบอร์โทร 085-6120657 ( ช่างโก้ )
LINE 0856120657
http://carehome.lnwshop.com/
0y.jpg


สร้างบ้านไม่ตอกเสาเข็มได้หรือไม่
เวลาเราจะสร้างบ้านก็ต้องตอก “เสาเข็ม” เพื่อรับน้ำหนักบ้านทั้งหลังไว้ ไม่ให้ทรุดตัวลงไปในอนาคต เเต่ก็มีคำถามขึ้นมาว่าเห็นบ้านจัดสรรในโครงการเเห่งหนึ่งที่ต่างจังหวัด
ไม่ได้ตอกเสาเข็มก่อนทำฐานราก ก็เลยเกิดข้อสงสัยว่าจำเป็นจะต้องเสาเข็มหรือไม่?
คำตอบก็คือ… “ได้ค่ะ” ถ้าสภาพบริเวณที่จะสร้างบ้านเป็นชั้นดินเเข็งมาก (ชาวบ้านอาจะเรียกว่าดินดาน) หรืออาจมีชั้นหินแข็งอยู่ใต้ผิวดินลงไป ซึ่งสภาพดินดังกล่าวส่วนมากเป็นที่ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก รวมถึงภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่มีภูเขาหรือเป็นที่ราบสูงจากการยกตัวของแผ่นดิน (อีสาน) ยกเว้นภาคกลางและภาคตะวันออกบางพื้นที่ที่สภาพชั้นดินเป็นดินตะกอนปากอ่าวทับถมเป็นชั้นๆ
เเต่ก็ไม่ได้ความว่าโครงสร้างทุกประเภทที่มีชั้นดินเเข็งไม่ต้องตอกเสาเข็มนะคะ เพราะต้องสำรวจชั้นดินที่ก่อสร้างก่อนว่าเป็นอย่างไร วิศวกรจึงจะออกแบบฐานรากได้ว่าต้องตอกเสาเข็มหรือไม่
ทีนี้เรามาขยายความเรื่องการรับน้ำหนักของเสาเข็มกันเพิ่มดีกว่าค่ะ

การรับน้ำหนักของเสาเข็มมี 2 ลักษณะ คือ
1.การรับน้ำหนักด้วยแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสของเสาเข็มกับดิน
2.การรับน้ำหนักด้วยแรงกดลงถ่ายลงในชั้นดินแข็งหรือชั้นหิน
ตัวอย่างของบ้านทั่วไปในเขตกรุงเทพฯ วิศวกรจะคำนวณออกแบบให้เสาเข็มรับน้ำหนักด้วยแรงเสียดทาน ซึ่งความยาวเสาเข็มจะประมาณ 12-21 เมตรเป็นส่วนมาก
ยกเว้นอาคารขนาดใหญ่จะต้องออกแบบให้รับน้ำหนักด้วยแรงกดที่ชั้นดินแข็งที่ความลึกอาจถึงประมาณ 50 เมตร
กรณีที่ไม่ใช้เสาเข็มก็จะเป็นการออกแบบให้ถ่ายน้ำหนักลงบนชั้นดินแข็ง ซึ่งวิศวกรต้องทราบว่าชั้นดินแข็งบริเวณดังกล่าวรับน้ำหนักได้เท่าไร
สมมติรับน้ำหนักได้ 10 ตันต่อตารางเมตร และน้ำหนักที่คำนวณได้ลงที่จุดนั้นเท่ากับ 20 ตัน ก็ต้องออกแบบฐานราก (เรียกว่าฐานรากแผ่) ให้พื้นที่สัมผัสดินเท่ากับ 2 ตารางเมตร ซึ่งจะรับน้ำหนักได้ 2x10 = 20 ตัน ตามการออกแบบ
ตัวอย่างของการกระจายน้ำหนักโดยการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสที่เห็นได้ชัด ก็คือการแสดงมายากลด้วยการนอนบนเตียงตะปู ซึ่งหลักการก็คือการกระจายน้ำหนักกดลงบนตะปูจำนวนมากนั่นเอง
นอกจากนั้นก็มีเรื่องการวางถังเก็บน้ำ แนะนำว่าถ้าบ้านมีพื้นที่พอให้วางบนดินจะดีกว่า เนื่องจากหากฝังถังไว้ใต้ดินเมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งก็อาจะมีการทรุดตัวของถัง
ทำให้ระบบท่อที่ต่ออาจขาดได้ และซ่อมได้ยากกว่าการวางบนดิน หรือถ้าถังน้ำใต้ดินเกิดแตกร้าวรั่วซึมน้ำภายนอกอาจซึมเข้าถังเก็บได้ และกลายเป็นปัญหาได้เช่นกัน
a2_9.jpg

ความรู้เรื่องเสาเข็ม
เพราะ เสาเข็ม เป็นหลักสำคัญของการสร้างบ้าน แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักมันจริง ๆ วันนี้เลยขอนำข้อมูลเกี่ยวกับ เสาเข็ม มาเล่าใหม่ตั้งแต่หน้าที่ความสำคัญกันเลย
เสาเข็ม เป็นส่วนที่ถือว่าสำคัญที่สุดของอาคาร ทำหน้าที่ในการค้ำยันอาคาร ถ่ายน้ำหนักของตัวบ้านลงสู่พื้นดิน ลักษณะของการรับน้ำหนักเสาเข็มมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ การรับน้ำหนักจากตัวเสาเข็ม และการรับน้ำหนักจากชั้นดิน ซึ่งการรับน้ำหนักจากชั้นดินเป็นการใช้แรงเสียดทานของดินในการรับน้ำหนัก (Skin Friction)
ร่วมกับการใช้ปลายของเสาเข็มในการรับแรงกดดันของดิน (End Bearing) โดยลักษณะของการตอกเสาเข็มเราจะตอกลงไปถึงชั้นทราย เนื่องจากเป็นชั้นที่สามารถรับน้ำหนักได้ดีที่สุด ถ้าหากตอกไม่ถึงชั้นทรายในระยะยาวจะทำให้อาคารทรุดได้ แต่ละจังหวัดก็จะมีความลึกของชั้นทรายไม่เท่ากัน อีกทั้งระยะห่างของเสาเข็มสำคัญเช่นกัน
ปกติแล้วต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 3 เท่าของขนาดความกว้างเสาเข็ม เพื่อไม่ให้แรงระหว่างดินกับเสาเข็มถูกรบกวน เสาเข็มมีด้วยกันหลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้ประเภทของเสาเข็ม
1. เสาเข็มตอก
มีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก และเสาคอนกรีต ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากราคาถูกกว่าเสาเหล็กและแข็งแรงกว่าเสาไม้ สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า
เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบกลม แบบตัว I และแบบตัว T เป็นต้น เสาเข็มตอกสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 10-120 ตันต่อต้น
วิธีการตอกเสาเข็ม
ต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดิน โดยช่วงสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็ม จะต้องมีการตรวจสอบการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เข็มที่ตอกมีการทรุดตัวกว่าค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าหากทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้แสดงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ
2. เสาเข็มเจาะระบบแห้ง
เป็นเสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกสำหรับการขนย้าย ให้สามารถทำงานในสถานที่แคบ ๆ เสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 20–30 เมตร
วิธีการทำเสาเข็มเจาะแบบแห้ง
สามารถเจาะโดยใช้ขาตั้ง 3 ขา แล้วใช้ลูกตุ้มเหล็กหรือกระบะตักดินกระแทกลงไปในดินลึกประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้นนำปลอกเหล็กตอกลงไปในหลุมเจาะ โดยปกติจะลงไปลึกประมาณ 12-14 เมตร ซึ่งระดับความลึกระดับนี้จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน หลังจากนั้นทำการเจาะดินโดยทิ้งกระบะตักดินลงไปในปลอกเหล็ก แล้วตักขึ้นมาทิ้งบริเวณปากหลุม
การเจาะดินจะทำการเจาะไปถึงชั้นทรายแล้วจึงหยุดเจาะ เนื่องจากชั้นทรายจะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดซึ่งจะทำให้ก้นหลุมพัง หลังจากนั้นใส่เหล็กเสริมลงไปในปลอกเหล็ก แล้วเทคอนกรีตลงไปในปลอกเหล็ก หลังจากเทเสร็จให้รีบดึงปลอกเหล็กขึ้นทันที

สนใจช่างซ่อมแซ่มและต่อเติมติดต่อได้ที่
เบอร์โทร 085-6120657 ( ช่างโก้ )
LINE 0856120657
http://carehome.lnwshop.com/
a_4.jpg
 

กระทู้เพิ่มเติมหมวดหมู่เดียวกัน

กระทู้ที่คล้ายกัน

กลับ
บน ล่าง