รู้ถึงปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ ใส่ใจ รู้ไวป้องกันไว้ห่างไกลโรค

babala

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
16 กันยายน 2020
ข้อความ
131
cancen05032021.png

รู้หรือไม่คะ ว่าในประเทศไทยมีคนเป็นโรคมะเร็งลำไส้เยอะมาก ซึ่งพบได้ 11,496 ราย/ปี อัตราการเสียชีวิต 6,845 ราย/ปี รองจาก มะเร็งตับ, มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม, ตามลำดับ ซึ่งอัตราการตายในโรคนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีการตรวจคัดกรองและป้องกันการเกิดด้วยการตัดติ่งเนื้อ(Polypectomy) ตั้งแต่อาการเริ่มแรกของตัวโรคเริ่มเกิดขึ้น ดังนั้น การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค จึงเป็นประโยชน์ ในการที่ทราบถึงกลุ่มเสี่ยง แง่ของการตรวจคัดกรองในกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย ตาม ได้แบ่งกลุ่มเสี่ยงการเกิดโรคออกเป็น 2 กลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันโดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล (Non-modifiable risk factors)

2. ปัจจัยความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม (Environmental risk factors)

เพราะสาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคนี้ได้แก่

สาเหตุหลักที่มีการศึกษาวิจัยพบว่าประมาณ 50-60% คือพันธุกรรม สาเหตุรองลงมา ประมาณ 30-40% คือ รูปแบบการใช้ชีวิตสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่นพฤติกรรมการทานอาหาร การทานอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูง ทานเนื้อสัตว์ติดมันและเนื้อแดงในปริมาณมาก ทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านขบวนการปรุงแต่ง (ไส้กรอก เบคอน แฮม เป็นต้น) ในปริมาณมาก ๆ ทานผักผลไม้น้อยหรือไม่ทานเลย ขาดการออกกำลังกาย ภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น

พันธุกรรม หากเป็นผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีมะเร็งลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ รวมทั้งมะเร็งชนิดนี้ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางชนิดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้

อาการเตือนบอกโรค

ในระยะแรกอาจจะไม่มีอาการแสดงที่จำเพาะ โดยอาการที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ ได้แก่ ขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูกสลับท้องเสีย มีเลือดออกทางทวาร อุจจาระปนเลือด หรืออุจจาระมีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นเส้นเล็กลง ปวดท้อง โดยลักษณะการปวดขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนและตำแหน่งที่พบ เช่น ถ้าก้อนโตด้านหน้าจะปวดเจ็บคล้ายคนเป็นไส้ติ่ง ถ้ามีก้อนบริเวณลำไส้ใหญ่ด้านซ้ายจะมีอาการลำไส้อุดตัน ปวดท้องคล้ายลำไส้ถูกบิด เป็นต้น สัญญาณเตือน คือ ติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อ เพราะฉะนั้นการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทวารหนัก (Colonoscopy) แนะนำให้ตรวจเป็นประจำทุก ๆ 5 – 10 ปี ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป จะช่วยให้สามารถรับมือได้ทันท่วงที แต่ถ้าหากมีคนในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคนี้ แนะนำให้มาตรวจตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไปจะดีที่สุด

การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และการมาพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสำหรับโรคชนิดนี้แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น นอกจากการตรวจเช็กร่างกายและใส่ใจความผิดปกติที่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญคือการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ควรทานเป็นประจำ ที่สำคัญคือต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงห่างไกลมะเร็งลำไส้ได้แล้วค่ะ

#มะเร็งลำไส้
 
กลับ
บน ล่าง