รู้ทันชีวิต..เทคโนโลยี Afib กับการตรวจจับภาวะหัวใจสั่นพริ้ว ทางเลือกเพื่อการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลื

zuzyza

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
3 พฤษภาคม 2018
ข้อความ
82
การตรวจวัดความดันเดี๋ยวนี้ เค้าให้ค่าอะไรมากกว่าค่าความดันแล้ว เทคโนโลยีหนึ่งของแบรนด์เครื่องวัดความดันอย่าง Microlife ที่น่าสนใจมาก คือเทคโนโลยี เอฟิบ (AFIB) ซึ่งสามารถตรวจจับภาวะหัวใจสั่นพริ้ว สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือด และพัฒนาสู่การเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วคือภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ ทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนสามารถก่อให้เกิดลิ่มเลือด หากหลุดไปอุดตันที่สมองจะทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้

เทคโนโลยี Afib มีการศึกษาและใช้งานทางการแพทย์ในหลายประเทศ รวมถึงมหาลัยวิทยาลัย Oxford ที่แนะนำ Microlife watch BP Home A ในการตรวจจับภาวะ Atrial Fibrillation รวมถึงสถาบันสุขภาพแห่งชาติของประเทศอังกฤษเองที่แนะนำให้คนอังกฤษใช้ในการสกรีนภาวะ Afib เบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็น Stroke และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย (Nice Guideline, 2013)

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยอีกมายมาย รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ https://www.samh.co.th/microlife/blood-pressure/#afibandstroke

97cXaW.jpg
ในประเทศไทย ที่ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดย อ.นพ.ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย ก็มีการใช้ เทคโนโลยีนี้ในการสกรีนภาวะหัวใจสั่นพริ้วก่อนและขณะการรักษา (หลักการทำงานและการใช้เครื่องวัดความดัน Microlife ABPM ในการประเมินการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.samh.co.th/microlife/blood-pressure/#afibandchula
97cpz2.jpg
ส่วนการใช้งานที่บ้านสามารถเลือกใช้เป็น HBPM ในการตรวจจับ Afib เบื้องต้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น stroke และลดคชจ.ในการดูแล stroke ได้
97cG6y.jpg
นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังมีการใช้เทคโนโลยี Afib ร่วมกับเทคโนโลยี ioT ที่ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำโดย ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ หัวหน้าศูนย์ ในโครงการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องถึงบ้าน โดย HomeHealth Care Robot

โดยใช้หุ่นยนต์คุณหมอขนาดเล็กในการประเมินและติดตามอาการของผู้ป่วยที่บ้านหลังได้รับการรักษาช่วงแรกในระยะเฉียบพลันที่โรงพยาบาลแล้ว รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำโดยเฉพาะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งอาจตรวจไม่พบขณะที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือบางรายอาจมีความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูในระยะยาว


การตรวจจับภาวะหัวใจสั่นพริ้วในขณะวัดความดันจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและทำการตรวจวัดความดันที่บ้าน ในการเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงใช้ในการติดตามอาการเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.samh.co.th/microlife/blood-pressure/#news




ขอบคุณข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/somchi2018/2018/12/11/entry-1
 

กระทู้เพิ่มเติมหมวดหมู่เดียวกัน

กลับ
บน ล่าง