วิธีป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุด คือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ จริงหรือ?

thidarat

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
25 กันยายน 2019
ข้อความ
66
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ฟังดูร้ายแรงก็จริง แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากรู้ถึงสัญญาณเตือนของโรคได้เร็ว จากการสังเกตอาการ และรีบเข้าทำการรักษาในระยะแรกเริ่ม หากตอนนี้คุณหรือคนที่คุณรู้จัก กำลังมีปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับระบบการขับถ่ายอุจจาระอยู่ มีอาการท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระมีเลือดปนมากับอุจจาระ ถ่ายสีดำหรือสีดำแดง ถ่ายไม่สุด ปวดลงทวาร อ่อนเพลียหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมทั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีเครื่องมือที่ทันสมัยในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นอีกแนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เชิงรุก ที่สามารถลดอัตราการสูญเสียจากการเจ็บป่วยลงได้ มาดูข้อมูลรายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ

f9b820477ef6f997402d5f29072291ee.jpg
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่เกิดการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนจนไม่สามารถควบคุมได้ การเจ็บป่วยระยะแรกจึงอาจเป็นเพียงแค่ก้อนหรือติ่งเนื้องอกธรรมดาในลำไส้ แต่หากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้และไม่รีบเข้ารับการรักษา เซลล์ดังกล่าวอาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ จึงเป็นแนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เชิงรุกที่สามารถลดอัตราการสูญเสียจากการเจ็บป่วยได้

รู้จักการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) จึงเป็นการตรวจหาความผิดปกติของภายในลำไส้ใหญ่ โดยการใช้กล้องขนาดเล็กประมาณนิ้วมือ มีความยืดหยุ่นสูง มีลักษณะคล้ายท่อสอดเข้าทางทวารหนักเข้าไปในลำไส้ตรง และตรวจสอบตลอดภายในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะมีเลนส์รับภาพ แล้วส่งต่อมาที่จอภาพ เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง

โดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ควรทำในผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
- ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
- เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก
- มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
- มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
- ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุก ๆ 3-5 ปี

วิธีการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
สำหรับวิธีการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะให้ผู้ป่วยจะนอนตะแคงข้างหรือนอนหงายในขณะตรวจ โดยแพทย์จะค่อยๆ สอดกล้องเข้าไปในลำไส้ พร้อมตรวจผิวภายในลำไส้อย่างละเอียด การส่องกล้องจะสิ้นสุดเมื่อถอนกล้องออกมา โดยปกติใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที ซึ่งรวมกับเวลาเตรียมตัว การตรวจ กระทั่งออกมาพักฟื้นที่ห้อง รวมแล้วใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่สามารถส่องกล้องได้ทั้งลำไส้ใหญ่ ซึ่งแพทย์จะแนะนำการตรวจวิธีอื่น ๆ ในการตรวจส่วนลำไส้ใหญ่ในส่วนที่ไม่สามารถสอดกล้องเข้าไปได้

กรณีที่ตรวจพบตรวจพบความผิดปกติ
แพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มโดยการสอดเครื่องมือขนาดเล็กผ่านกล้องเพื่อเอาชิ้นเนื้อมาตรวจวินิจฉัย โดยชิ้นเนื้อจะเป็นเพียงเยื่อบุผิวขนาดเล็กแค่เพียงพอต่อการวินิจฉัยเท่านั้น ถ้าหากตรวจพบติ่งเนื้อ (Polyps) ซึ่งก็คือ เยื่อบุลำไส้ที่งอกเติบโตผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ดีไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งติ่งเนื้อจะมีขนาดรูปร่างและชนิดต่าง ๆ กันไป โดยแพทย์จะตัดติ่งเนื้อออกทั้งหมดเพื่อช่วยการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ จากนั้นนำติ่งเนื้อไปตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยาอีกครั้ง

โรคของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
- ระยะแรก มะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้ มีลักษณะเป็นก้อนหรือติ่งเนื้อบริเวณผิวของผนังลำไส้ใหญ่
- ระยะที่สอง มะเร็งเริ่มกระจายสู่ผนังลำไส้ใหญ่ โดยการทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้และ/หรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง
- ระยะที่สาม มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
- ระยะที่สี่ มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสเลือดไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด หรือกระดูกเป็นต้น

โดยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ นั่นคือพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น อาหารประเภทให้ความหวานมันมาก ๆ และทานผักผลไม้น้อยเกินไป อีกทั้งสภาวะแวดล้อมที่หลาย ๆ คนต้องเผชิญ เช่น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออีกปัจจัยอีกหนึ่งคือพันธุกรรม

อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ทั้งยังสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ ซึ่งแนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 45 ปี เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางลำไส้ใหญ่มากที่สุด

โดยจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ครั้งแรก ส่วนใหญ่มักเป็นระยะลุกลามแล้ว แต่ในปัจจุบันพบว่าการส่องกล้องเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ร่วมกับการตัดติ่งเนื้อออก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่กว่าครึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารหรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังได้อีกด้วย

ผลข้างเคียงจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
ในส่วนของผลข้างเคียงจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ อาจรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด หรือง่วงนอนหลังจากทำการตรวจ และอาจมีเลือดออกขณะที่ลำไส้มีการเคลื่อนไหวในช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไรก็ตามควรรีบพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
- มีไข้
- มีอาการปวดรุนแรง
- มีเลือดออกจำนวนมากหรือเลือดออกเป็นก้อน
- ร่างกายอ่อนเพลีย
- วิงเวียนศีรษะ

ทั้งนี้ นอกจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงจากการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องส่อง เช่น มีเลือดออก ลำไส้ใหญ่ทะลุ การตอบสนองต่อยาระงับความรู้สึก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก

การเตรียมตัวก่อนการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย 3 วันก่อนเข้ารับการตรวจ
- งดรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีเส้นใย
- รับประทานยาระบายให้ตรงตามจำนวนและเวลา ตามที่แพทย์สั่ง
- ควรดื่มน้ำ 1 แก้วทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ
- คืนวันก่อนตรวจ ให้งดอาหาร และน้ำดื่ม จนกว่าจะทำการตรวจเสร็จ

การปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- สังเกตอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำจะไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ จึงต้องมีญาติคอยดูแลสังเกตอาการ
- ห้ามขับรถหรือทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่ต้องใช้การตัดสินใจ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ แนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยการตรวจวินิจฉัยผ่านการส่องกล้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแพทย์แนะนำว่า สำหรับผู้มีความเสี่ยงเนื่องจาก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ และควรเข้ารับการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำแบบรายบุคคลต่อไป โดยเร็ว ทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับของโรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการตรวจวินิจฉัยผ่านการส่องกล้อง
 

กระทู้เพิ่มเติมหมวดหมู่เดียวกัน

กระทู้ที่คล้ายกัน

กลับ
บน ล่าง