- เข้าร่วม
- 16 กันยายน 2020
- ข้อความ
- 131
การปวดท้องน้อย เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้หญิงทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ การปวดท้องน้อยแบบเรื้อรัง การปวดท้องน้อยแบบเฉียบพลัน โดยการปวดท้องน้อยแบบเรื้อรังส่วนใหญ่จะเริ่มจากปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ กระทั่งปวดตลอดเวลา หรืออาจจะปวดหน่วง ๆ เป็นช่วง ๆ ไม่สม่ำเสมอ บางรายปวดร่วมกับการมีประจำเดือน ตามหลักเมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึก ถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นจากโรคอื่น ๆ เช่น เนื้องอกมดลูก การปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นลม สาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุ หรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว และนอกจากนี้อาการปวดท้องน้อยอาจเป็นสัญญาณเตือนจากโรคอื่น ๆ ได้อีกดังนี้
อาการปวดท้องน้อยที่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคอื่น ๆ
1.โรคที่เกิดในระบบสืบพันธุ์
โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ โรคเนื้องอกมดลูก และโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในกลุ่มนี้จะมีอาการปวดประจำเดือนมาก ประจำเดือนมามาก มีลักษณะเป็นลิ่มเลือดหรือเป็นก้อน เวลาปวดจะปวดประจำเดือนและมักปวดร้าวไปทั้งหลัง ก้น จนถึงขา
2.โรคที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท่อปัสสาวะอักเสบ, นิ่ว, กรวยไตอักเสบ เป็นต้น มักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับปัสสาวะสามารถที่สังเกตได้ทันที เช่น รู้สึกแสบขัดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด และปวดท้องน้อยร่วมด้วย หรือสีของน้ำปัสสาวะมีความผิดปกติ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด มีฟอง สีขุ่น
3.โรคที่เกิดในระบบลำไส้
โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งในกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติที่ทางเดินอาหารหรือสำไส้ คนไข้จึงมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือด หรือถ่ายเหลว ร่วมด้วย
4.โรคที่เกิดในระบบกล้ามเนื้อ
โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบ มักพบว่าเป็นไปตามประวัติการใช้งานของคนไข้ อาการคือปวดบริเวณหน้าท้อง ท้องน้อย ไปจนถึงหัวหน่าว คนไข้ที่ปวดบริเวณนี้มักจะมีประวัติยกของหนัก หรือเกร็งกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
หากคุณไม่อยากมีอาการปวดท้องน้อยคุณก็สามารถป้องกันตนเองได้โดยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักผ่อนคลายความเครียดเพื่อให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งในขณะมีประจำเดือนควรทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เพื่อไม่ให้ลำไส้เกิดการบีบรัดเกินไป จะช่วยทุเลาอาการปวดท้องน้อยได้
#ปวดท้องน้อย