- เข้าร่วม
- 6 กันยายน 2019
- ข้อความ
- 13
โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าร้อนซึ่งมากับอากาศร้อน เมื่ออุณหภูมิความร้อนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้คนส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาโรคต่างๆ หนึ่งในโรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม คือโรคผดร้อน โดยมีอาการเป็นตุ่มคันขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจากต่อมเหงื่อที่อุดตันใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่อเหงื่อออก หรืออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น ผดร้อนอาจปรากฏขึ้นได้ทั่วร่างกาย แต่แม้ผดร้อนจะเป็นภาวะทางผิวหนังที่ไม่อันตราย และอาจหายได้เองเมื่ออากาศเย็นลง เราก็ควรศึกษาข้อมูลไว้เพื่อป้องกันหรือรับมือหากเกิดอาการผดร้อนขึ้นกับตนเอง
ลักษณะอาการผดร้อน
อาการคันและมีตุ่มคันเล็ก ๆ ขึ้นตามร่างกาย เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของผดร้อน โดยมักปรากฏขึ้นบริเวณใต้ร่มผ้า หรือบริเวณใบหน้า คอ หลัง อก และต้นขาซึ่งผดร้อนอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น
1.ตุ่มน้ำใสขนาด 1-2 มิลลิเมตร ไม่แสดงอาการเจ็บหรือคัน แต่อาจแตกเป็นสะเก็ดได้ง่าย มักเกิดจากการอุดตันในผิวหนังชั้นที่ตื้นที่สุด ทำให้เหงื่อที่รั่วออกมาจากท่อเหงื่อสะสมอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณนั้นซึ่งถูกปกคลุมด้วยผิวหนังบาง ๆ โดยมักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยสัมผัสอากาศร้อนไม่กี่วัน และพบได้ทั่วตัวในทารก หรือบริเวณลำตัวในผู้ใหญ่
2.ผดแดง ซึ่งทำให้รู้สึกคัน เจ็บแสบ หรือระคายเคือง และมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีการเสียดสี เช่น อก คอ หลัง และข้อพับ
3.ตุ่มสีเนื้อขนาด 1-3 มิลลิเมตรไม่แสดงอาการอื่น ๆ เกิดจากการรั่วของต่อมเหงื่อชั้นหนังแท้ ซึ่งมักเกิดในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังสัมผัสความร้อน
4.ตุ่มเป็นหนองจากการอักเสบติดเชื้อ
สาเหตุของผดร้อน
สาเหตุหลักของอาการผดร้อน คือ เหงื่อ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น เพราะเหงื่อปริมาณมากจะทำให้ต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังอุดตัน และไม่สามารถระเหยออกมาได้ และเมื่อท่อส่งเหงื่ออุดตัน อาจทำให้เกิดการรั่วของเหงื่อสะสมอยู่ในชั้นผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มน้ำจนกลายเป็นผดร้อนหรือเกิดการอักเสบตามมาได้
การรักษาอาการผดร้อน
1.การรักษาด้วยตนเอง
-หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็น และประคบผ้าเย็นบริเวณผิวหนัง เพื่อช่วยลดความร้อน
-หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้ารัดรูป เพื่อป้องกันการอุดตันของต่อมเหงื่อ
-หลีกเลี่ยงการทำงานหรือออกกำลังกลางแจ้งที่อาจทำให้เกิดเหงื่อออกมาก
-อาบน้ำด้วยน้ำเย็นและสบู่ที่ไม่ทำให้ผิวแห้ง และปล่อยให้ผิวแห้งเองหลังอาบน้ำเสร็จ ไม่ใช้ผ้าขนหนูเช็ดตัวเพื่อลดการเสียดสีจนเกิดผดร้อนอักเสบเพิ่มขึ้น
-ในส่วนทารกหรือเด็กเล็กได้รับการดูแลเป็นพิเศษให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ระบายอากาศได้ดี
-อาบน้ำเย็น โดยให้น้ำไหลผ่านผิวหนังเรื่อย ๆ เพื่อชำระล้างเหงื่อและไขมันตามร่างกายออกไป
-ตัดเล็บเด็กให้สั้นอยู่เสมอหรือสวมถุงมือให้เด็กเพื่อป้องกันการเกาผิวหนังจนทำให้อาการรุนแรงขึ้น
2.การรักษาด้วยยา
โดยส่วนใหญ่ ผดร้อนและอาการต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรงมากนักอาจหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่หากอาการมีความรุนแรง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยารักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาแก้แพ้ ถ้ามีอาการตุ่มคัน และใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นผิวเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากผด เพื่อรักษาผดร้อนไม่ให้ลุกลาม
ปรึกษาสอบถามสินค้า สอบถามข้อมูลการใช้ยาโดยเภสัชกรโดยตรง
คอยให้คำแนะนำตลอดทั้งวันได้ที่ คลังยามีนบุรี http://a0.pise.pw/MTYCT
ลักษณะอาการผดร้อน
อาการคันและมีตุ่มคันเล็ก ๆ ขึ้นตามร่างกาย เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของผดร้อน โดยมักปรากฏขึ้นบริเวณใต้ร่มผ้า หรือบริเวณใบหน้า คอ หลัง อก และต้นขาซึ่งผดร้อนอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น
1.ตุ่มน้ำใสขนาด 1-2 มิลลิเมตร ไม่แสดงอาการเจ็บหรือคัน แต่อาจแตกเป็นสะเก็ดได้ง่าย มักเกิดจากการอุดตันในผิวหนังชั้นที่ตื้นที่สุด ทำให้เหงื่อที่รั่วออกมาจากท่อเหงื่อสะสมอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณนั้นซึ่งถูกปกคลุมด้วยผิวหนังบาง ๆ โดยมักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยสัมผัสอากาศร้อนไม่กี่วัน และพบได้ทั่วตัวในทารก หรือบริเวณลำตัวในผู้ใหญ่
2.ผดแดง ซึ่งทำให้รู้สึกคัน เจ็บแสบ หรือระคายเคือง และมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีการเสียดสี เช่น อก คอ หลัง และข้อพับ
3.ตุ่มสีเนื้อขนาด 1-3 มิลลิเมตรไม่แสดงอาการอื่น ๆ เกิดจากการรั่วของต่อมเหงื่อชั้นหนังแท้ ซึ่งมักเกิดในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังสัมผัสความร้อน
4.ตุ่มเป็นหนองจากการอักเสบติดเชื้อ
สาเหตุของผดร้อน
สาเหตุหลักของอาการผดร้อน คือ เหงื่อ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น เพราะเหงื่อปริมาณมากจะทำให้ต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังอุดตัน และไม่สามารถระเหยออกมาได้ และเมื่อท่อส่งเหงื่ออุดตัน อาจทำให้เกิดการรั่วของเหงื่อสะสมอยู่ในชั้นผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มน้ำจนกลายเป็นผดร้อนหรือเกิดการอักเสบตามมาได้
การรักษาอาการผดร้อน
1.การรักษาด้วยตนเอง
-หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็น และประคบผ้าเย็นบริเวณผิวหนัง เพื่อช่วยลดความร้อน
-หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้ารัดรูป เพื่อป้องกันการอุดตันของต่อมเหงื่อ
-หลีกเลี่ยงการทำงานหรือออกกำลังกลางแจ้งที่อาจทำให้เกิดเหงื่อออกมาก
-อาบน้ำด้วยน้ำเย็นและสบู่ที่ไม่ทำให้ผิวแห้ง และปล่อยให้ผิวแห้งเองหลังอาบน้ำเสร็จ ไม่ใช้ผ้าขนหนูเช็ดตัวเพื่อลดการเสียดสีจนเกิดผดร้อนอักเสบเพิ่มขึ้น
-ในส่วนทารกหรือเด็กเล็กได้รับการดูแลเป็นพิเศษให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ระบายอากาศได้ดี
-อาบน้ำเย็น โดยให้น้ำไหลผ่านผิวหนังเรื่อย ๆ เพื่อชำระล้างเหงื่อและไขมันตามร่างกายออกไป
-ตัดเล็บเด็กให้สั้นอยู่เสมอหรือสวมถุงมือให้เด็กเพื่อป้องกันการเกาผิวหนังจนทำให้อาการรุนแรงขึ้น
2.การรักษาด้วยยา
โดยส่วนใหญ่ ผดร้อนและอาการต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรงมากนักอาจหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่หากอาการมีความรุนแรง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยารักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาแก้แพ้ ถ้ามีอาการตุ่มคัน และใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นผิวเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากผด เพื่อรักษาผดร้อนไม่ให้ลุกลาม
ปรึกษาสอบถามสินค้า สอบถามข้อมูลการใช้ยาโดยเภสัชกรโดยตรง
คอยให้คำแนะนำตลอดทั้งวันได้ที่ คลังยามีนบุรี http://a0.pise.pw/MTYCT