- เข้าร่วม
- 7 สิงหาคม 2020
- ข้อความ
- 87
หลายคนคงเคยทรมาณกับอาการปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขาไปถึงน่องหรือหลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง, เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา และ/หรือปวดคอเรื้อรัง โดยอาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ในปัจจุบันพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน ซึ่งหากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันมีผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงาน อาจเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ แล้วอาการแบบไหน...เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท” วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาล นนทเวชมาฝากกันค่ะ
หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คืออะไร?
กระดูกสันหลัง ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยหมอนรองกระดูก และข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยที่ตัวกระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง ส่วนหมอนรองกระดูกทำหน้าที่เหมือนกับโช๊คอัพของรถยนต์ คือ ทำให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหวดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวัน หรืออายุที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้ โดยหมอนรองกระดูกที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดคือ หมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนักมากในร่างกายเมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลง และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก ทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอก และกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้
อาการแบบไหน...เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท”
• อาการปวดหลัง สะโพก และปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
• อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและ ปลายนิ้วหัวแม่เท้า
• อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2
• อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
1. รักษาโดยการลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การยกของหนัก
- การนั่งรถยนต์นาน ๆ
- หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือเบ่ง ถ่ายอุจจาระแรงๆ เป็นต้น เนื่องจากทำให้เกิดแรงดันในหมอนรองกระดูกสูง เป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกทนแรงดันไม่ได้ เกิดการแตกของหมอนรองกระดูกตามมา
2. ยาต้านการอักเสบ NSAIDS, ยาคลายกล้ามเนื้อ
3. กายภาพบำบัดและใช้เสื้อพยุงหลัง ช่วยในการลดอาการปวดและทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติเร็วขึ้น หลักการของการใส่เสื้อพยุงหลังในผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คือ การทำให้หน้าท้องกระชับขึ้นจะช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังได้ร่วมกับจำกัดความเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง
4. การผ่าตัด ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมีดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ แม้จะรักษาโดยรับประทานยา พักและกายภาพบำบัดเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถทำงาน หรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อขาลีบอย่างชัดเจน
- มีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติชัดเจน จากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้
กล้องส่องขยายช่วยในการผ่าตัดอย่างไร (Microscopic Spine Surgery)
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือในการผ่าตัดที่ดีขึ้นมากสามารถทำการผ่าตัดได้สะดวกขึ้น ลดภาวะการเสียเลือดหรือภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นหลังผ่าตัดได้
การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, หมอนรองกระดูกสันหลังโดยการส่องกล้องขยายนั้น สามารถที่จะลดขนาดแผลผ่าตัดให้เล็กลงได้ โดยที่กล้องขยายจะมาช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถที่จะมองเห็นรายละเอียดในการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน
การผ่าตัดแบบแผลเล็กส่งผลดี ทำให้การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาทน้อยลง เสียเลือดน้อยลง เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง ผ่าตัดได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงระยะเวลาพักฟื้นภายหลังการผ่าตัดสั้นลงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วมากขึ้น
พบอีกทางเลือกการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยเทคโนโลยี Minimally Invasive Surgery แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็วแม่นยำสูง ด้วยกล้อง Microscope ที่มีกำลังขยายสูง หากท่านใดมีอาการปวดหลังเรื้อรัง รักษาอาการปวดด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ทำกายภาพ หรือฉีดยาลดการอักเสบเข้าเส้นช่องประสาทเฉพาะจุดแล้วอาการไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษาและเข้ารับการรักษาได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้คำแนะนำและให้การรักษาอย่างมืออาชีพ ด้วยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางกระดูกสันหลัง ร่วมกับวิสัญญีแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด และเภสัชกร
ขอบคุณข้อมูล:นพ.ชัชวาล ปิยะวรรณสุทธิ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนนทเวช https://www.nonthavej.co.th/Herniated-disc-1.php
#หมอนรองกระดูกทับเส้น ,โรงพยาบาลนนทเวช
ปัจจุบันมีผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงาน อาจเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ แล้วอาการแบบไหน...เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท” วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาล นนทเวชมาฝากกันค่ะ
หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คืออะไร?
กระดูกสันหลัง ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยหมอนรองกระดูก และข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยที่ตัวกระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง ส่วนหมอนรองกระดูกทำหน้าที่เหมือนกับโช๊คอัพของรถยนต์ คือ ทำให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหวดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวัน หรืออายุที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้ โดยหมอนรองกระดูกที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดคือ หมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนักมากในร่างกายเมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลง และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก ทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอก และกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้
อาการแบบไหน...เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท”
• อาการปวดหลัง สะโพก และปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
• อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและ ปลายนิ้วหัวแม่เท้า
• อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2
• อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
1. รักษาโดยการลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การยกของหนัก
- การนั่งรถยนต์นาน ๆ
- หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือเบ่ง ถ่ายอุจจาระแรงๆ เป็นต้น เนื่องจากทำให้เกิดแรงดันในหมอนรองกระดูกสูง เป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกทนแรงดันไม่ได้ เกิดการแตกของหมอนรองกระดูกตามมา
2. ยาต้านการอักเสบ NSAIDS, ยาคลายกล้ามเนื้อ
3. กายภาพบำบัดและใช้เสื้อพยุงหลัง ช่วยในการลดอาการปวดและทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติเร็วขึ้น หลักการของการใส่เสื้อพยุงหลังในผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คือ การทำให้หน้าท้องกระชับขึ้นจะช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังได้ร่วมกับจำกัดความเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง
4. การผ่าตัด ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมีดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ แม้จะรักษาโดยรับประทานยา พักและกายภาพบำบัดเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถทำงาน หรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อขาลีบอย่างชัดเจน
- มีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติชัดเจน จากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้
กล้องส่องขยายช่วยในการผ่าตัดอย่างไร (Microscopic Spine Surgery)
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือในการผ่าตัดที่ดีขึ้นมากสามารถทำการผ่าตัดได้สะดวกขึ้น ลดภาวะการเสียเลือดหรือภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นหลังผ่าตัดได้
การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, หมอนรองกระดูกสันหลังโดยการส่องกล้องขยายนั้น สามารถที่จะลดขนาดแผลผ่าตัดให้เล็กลงได้ โดยที่กล้องขยายจะมาช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถที่จะมองเห็นรายละเอียดในการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน
การผ่าตัดแบบแผลเล็กส่งผลดี ทำให้การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาทน้อยลง เสียเลือดน้อยลง เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง ผ่าตัดได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงระยะเวลาพักฟื้นภายหลังการผ่าตัดสั้นลงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วมากขึ้น
พบอีกทางเลือกการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยเทคโนโลยี Minimally Invasive Surgery แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็วแม่นยำสูง ด้วยกล้อง Microscope ที่มีกำลังขยายสูง หากท่านใดมีอาการปวดหลังเรื้อรัง รักษาอาการปวดด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ทำกายภาพ หรือฉีดยาลดการอักเสบเข้าเส้นช่องประสาทเฉพาะจุดแล้วอาการไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษาและเข้ารับการรักษาได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้คำแนะนำและให้การรักษาอย่างมืออาชีพ ด้วยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางกระดูกสันหลัง ร่วมกับวิสัญญีแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด และเภสัชกร
ขอบคุณข้อมูล:นพ.ชัชวาล ปิยะวรรณสุทธิ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนนทเวช https://www.nonthavej.co.th/Herniated-disc-1.php
#หมอนรองกระดูกทับเส้น ,โรงพยาบาลนนทเวช