เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรนได้อย่างไร ?

Vertex

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
19 มิถุนายน 2020
ข้อความ
192


มีใครเคยเจอกับปัญหาเสียงกรนดังรบกวนจากคนรอบข้างเวลานอนกันบ้างไหม นอนทีไรก็กรนทุกที ทำเอาเสียงดังสนั่นลั่นห้องนอนไม่หลับกันไปหมด ซึ่งการนอนกรนไม่ได้เพียงเเค่ส่งเสียงดังรบกวนเพียงอย่างเดียว เเต่ยังส่งผลกระทบที่อันตรายถึงตายได้จากการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อีกทั้งยังทำให้คุณภาพของการนอนไม่มีประสิทธิภาพทั้งคนกรนเเละคนที่นอนด้วย เกิดปัญหานอนไม่พอ ง่วงบ่อยๆในตอนกลางวัน เสี่ยงต่อการวูบเเละหลับใน ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆลดลง เเละส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวของทั้งคนที่นอนกรนเเละคนที่นอนด้วย

ซึ่งหลายๆคนคงอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีการรักษาการนอนกรนที่มีหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้เราจะพูดถึงเครื่องช่วยหายใจนอนกรน ช่วยรักษาอาการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไร รวมถึงเเนะนำเเละเปรียบเทียบวิธีการรักษาในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดลดนอนกรน เลเซอร์นอนกรน รวมไปถึงวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด

นอนกรนรักษาได้ง่ายๆ เริ่มที่ทำความเข้าใจ
เริ่มเเรกเลย อยากให้ทุกคนมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ”เสียงกรน” เกิดขึ้นได้อย่างไร เเล้วเพราะอะไรเราจึงนอนกรน การนอนกรน เกิดจากการที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลงในขณะนอนหลับ

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการตีบแคบลงมาจากการที่กล้ามเนื้อต่างๆภายในช่องปาก เช่น เพดานอ่อน ลิ้น หย่อนคล้อยหรือคลายตัวลง ตกลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ

เเละเมื่อทางเดินหายใจของเราเเคบลง เมื่อเราหายใจเข้าเพื่อนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย ลมก็จะเดินทางผ่านช่องทางเดินหายใจที่ตีบเเคบทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น จากการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อต่างๆภายในช่องปาก เเละในบางรายอาจเกิดการถูกปิดกั้นทางเดินหายใจทั้งหมด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ



ทำความรู้จัก เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน ?
จากเนื้อหาก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดปัญหาการนอนกรนกันไปเเล้ว โดยสรุปสั้นๆได้ว่า สาเหตุของการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นจากการที่ทางเดินหายใจตีบแคบ จากการถูกอุดกั้นทางเดินหายใจจากกล้ามเนื้อต่างๆภายในช่องปาก ทำให้ลมหายใจไม่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก ซึ่งเครื่องช่วยหายใจรักษาอาการนอนกรน หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า CPAP เเละ iNAP จะช่วยรักษาอาการนอนกรนได้อย่างไรบ้าง เรามาดูกัน

1. เครื่องอัดอากาศเเรงดันบวก (CPAP)
เป็นหนึ่งในวิธีรักษานอนกรน เเละ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่มีผลลัพธ์ที่ดีมากในการเเก้ไขอาการกรนโดยตัวเครื่อง CPAP มีหลักการทำงาน คือ ตัวเครื่อง CPAP จะเชื่อมต่อกับหน้ากากโดยมีท่ออากาศเป็นตัวเชื่อมที่คอยทำหน้าที่ส่งเเรงดันอากาศ โดยตัวเครื่องจะผลิตเเรงดันอากาศแรงดันบวกออกมา เเละส่งอากาศผ่านเข้าสู่ท่ออากาศที่ครอบอยู่เหนือบริเวณปากเเละจมูกของผู้ใช้ ซึ่งเเรงดันลมที่ออกมาจากตัวเครื่องจะช่วยขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ลมหายใจสามารถเดินทางผ่านลงสู่ปอดได้อย่างสะดวก

ซึ่งจะช่วยเเก้ไขอาการกรน เเละป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

2. เครื่องอัดอากาศเเรงดันลบ (iNAP)
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำหรับช่วยเเก้ไขอาการกรนเเละภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างเเรงดันลบ ช่วยให้บริเวณของเพดานอ่อน เเละโคนลิ้น เคลื่อนตัวไปทางด้านหน้า เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจขยายกว้างมากขึ้น ลมหายใจสามารถเดินทางผ่านอวัยวะต่างๆภายในช่องปากเพื่อไหลเข้าสู่ปอดได้สะดวกมากขึ้น

รูปแบบการทำงานของเครื่องมีความคล้ายกับ CPAP เเต่จะมีความเเตกต่างกันในส่วนของหน้ากากที่ใช้ส่งผ่านอากาศ รวมไปถึงขนาดตัวอุปกรณ์ที่จะมีขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับการพกพาที่มากกว่า เเละตัวเครื่องมีความเงียบที่มากกว่าไม่ส่งเสียงดังรบกวนในขณะเปิดใช้งานเพื่อนอนหลับ

เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน เหมาะสำหรับใคร
เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีปัญหาภาวะการหยุดหายใจขณะหลับหรือมีอาการกรน ที่อยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงรุนเเรงซึ่งอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต หรือผู้ที่มีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับเพียงเล็กน้อย เเต่มีอาการนอนกรนเสียงดัง ตื่นมาหอบหรือสำลักในขณะหลับ หรือ ตื่นขึ้นจากการนอนหลับเเละเกิดอาการอ่อนเพลีย

อีกทั้งเครื่องช่วยหายใจยังเหมาะสำหับผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจ ที่ส่งผลกระทบต่อการหายใจในระหว่างนอนหลับ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) ภาวะหัวใจล้มเหลว(CHF) หรือผู้ที่มีอาการลมหายใจรั่วไหลในขณะนอนหลับ

ต้องเลือกแบบไหน ถึงเหมาะสมกับตัวเอง
เครื่องช่วยหายใจมีความเเตกต่างกันไปตามเเต่ละรุ่นเเละเเต่ละยี่ห้อ เช่น

ขนาดเเละรูปร่าง : ในบางรุ่นจะมีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการพกพา ในขณะที่บางรุ่นมีขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่ เเละน้ำหนักเครื่องที่มากกว่า

เสียงรบกวน : ในบางรุ่นตัวเครื่องจะมีเสียงรบกวนที่เงียบเเละเบากว่ารุ่นอื่นๆ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับยาก ไวต่อเสียงรบกวน

ฟังก์ชั่นการใช้งาน : เครื่องช่วยหายใจนอนกรนในเเต่ละรุ่นมีรูปแบบการใช้งานที่เเตกต่างกันไป เช่น การลดหรือเพิ่มเเรงดันลมขณะหายใจเข้าหรือออก การทำความชื้น เวลาในการแปรผัน การบันทึกข้อมูล ซึ่งในเเต่ละรุ่นจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สามารถปรับเเต่งได้เเตกต่างกันไป

การเลือกเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะสมกับตัวเอง สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการเเละความสะดวกในการใช้งาน เเละสิ่งสำคัญที่สุดคือการได้รับคำเเนะนำจากเเพทย์ หรือคลินิกนอนกรนที่มีเเพทย์เฉพาะ ให้คำเเนะนำอย่างใกล้ชิดเพื่อให้วัตถุประสงค์ในการใช้เครื่องช่วยหายใจ สามารถรักษาปัญหาการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด



เปรียบเทียบกับวิธีการรักษานอนกรนวิธีต่างๆ
มาถึงในส่วนสุดท้ายของบทความสุดท้ายกันเเล้ว ในส่วนนี้เราจะเเนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับวิธีการรักษาการนอนกรนในรูปแบบอื่นๆนอกจากการใช้เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เพื่อให้ทุกคนสามารถเปรียบเทียบเเละตัดสินใจในการเลือกรับวิธีการรักษา

ที่ VitalSleep Clinic เป็นคลินิกนอนกรนที่มีการรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ รวมไปถึงการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ(OSA) ที่มีรูปแบบการรักษาที่ครบวงจร

มีรูปแบบการรักษาเหมาะสำหรับเเต่ละบุคคล โดยมีเเพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับให้

การดูเเลรักษา

นอนกรนรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง ?
การรักษาปัญหาอาการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักๆแล้วสามารถเเบ่งได้เป็น 2 ประเภทการรักษา นั่นก็คือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เเละ การรักษาโดยการผ่าตัด

1. การรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด
– รักษาด้วยเครื่องมือทันตกรรม (Oral appliance)

หรือที่เรียกว่า เครื่องครอบฟัน เป็นอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ใช้สวมใส่ในช่องปากขณะหลับ โดยการนำตัวอุปกรณ์มาใส่ครอบฟัน ซึ่งตัวอุปกรณ์จะช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่ออ่อนในลำคอหรือโคนลิ้น เกิดการตกลงสู่ด้านล่างเเละอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิธีรักษานอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากตัวอุปกรณ์มีขนาดที่เล็ก เเละสามารถพกพาได้ง่าย

– รักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

การรักษาด้วยวิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น หรือ “Radiofrequency at Base of Tongue: RF BOT” เป็นกระบวนการทางการเเพทย์ในการรักษาเพื่อลดอาการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้หายไป ด้วยการนำคลื่นความถี่วิทยุส่งผ่านเข็มชนิดพิเศษจี้ไปที่บริเวณเนื้อเยื่อโคนลิ้น ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนในบริเวณโคนลิ้นเกิดการหดตัวลงเเละทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น ลมหายใจสามารถผ่านได้สะดวกมากขึ้นในขณะหลับ เป็นอีกหนึ่งในวิธีการลดอาการนอนกรนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้เวลาในการรักษาเพียงเเค่ 15 นาที เเละมีอาการเจ็บเเผล อาการปวดไม่มาก มีเเผลบริเวณเยื่อบุที่โคนลิ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก

– ใช้คลื่นความถี่วิทยุรักษาเยื่อบุจมูกบวม (Radiofrequency (RF) for inferior turbinate reduction

เป็นรูปแบบการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหา อาการคัดจมูก คัน จาม น้ำมูกไหลเรื้อรัง เเละมีเสมหะลงคอ ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา การใช้ยาพ่นจมูก หรือการปฎิบัติตนพื้นฐานเพื่อลดอาการ การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้ การรักษาด้วยวิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุที่บริเวณเยื่อบุจมูก จะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณของเยื่อบุจมูกเกิดการหดตัวลง ทำให้หลังการรักษาเเล้วจะสามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น จมูกโล่งมากขึ้น เเละในส่วนของอาการคัดจมูก คัน,จาม,น้ำมูกไหล ลดลง อีกทั้งการรักษายังมีขนาดของแผลเพียงเท่ารูเข็มไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก มีอาการปวดหรือเจ็บน้อยจากการรักษา

– รักษาด้วยการฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน (Pillar)

การรักษาด้วยการฝังพิลลร์ในเพดานอ่อน เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน เเละ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่รุนเเรงมากนัก ซึ่งหลายๆคนอาจตกใจเเละกลัวกับชื่อของการรักษาในรูปแบบนี้ เเต่ที่จริงเเล้วการรักษาในรูปแบบนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเเถมยังมีข้อดีในการรักษาอีกด้วย

กระบวนการรักษาในรูปแบบนี้จะเป็นการนำพิลลาร์(Pillar) ที่ทำจากวัสดุโพลิเอสเตอร์ที่มีสัมผัสอ่อนนุ่ม เเละเป็นวัสดุทางการเเพทย์ชนิดที่สามารถใส่ในร่างกายของมนุษย์อย่างถาวรได้ ซึ่งเมื่อทำการฝังเข้าไปในเพดานอ่อนเเล้ว จะช่วยพยุงกล้ามเนื้อเพดานอ่อนไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบรอบๆบริเวณเพดานปาก ทำให้ทางเดินหายใจขยายกว้างมากขึ้น อาการกรนลดน้อยลง อีกทั้งหลังการรักษาผู้รับการรักษาจะไม่รู้สึกถึงความไม่สบายช่องปาก ในขณะรับประทานอาหารหรือพูดคุย สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติโดยที่ไม่รู้สึกถูกรบกวน เเละยังมีข้อดีในการรักษาคือ มีอาการเจ็บที่น้อยเเละมีบาดเเผลน้อยกว่าการรักษาในรูปแบบการรักษาด้วยเลเซอร์นอนกรน หรือ รูปแบบการใช้คลื่นความถี่วิทยุ

– รักษาด้วยการบำบัดกล้ามเนื้อบนใบหน้าเเละทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)

เป็นวิธีรักษานอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพียงวิธีเดียวที่รักษาปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการฝึกบำบัดกล้ามเนื้อบนใบหน้าเเละทางเดินหายใจ โดยจะมุ่งเน้นไปในส่วนของการเสริมสร้างความเเข็งแรงให้กับ กล้ามเนื้อลิ้น เพดานอ่อน ขากรรไกร เเละทางเดินหายใจ เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้เกิดความเเข็งแรงเเละสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติเเม้ในขณะหลับ ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อภายในช่องปากเกิดการหย่อนคล้อยหรือคลายตัวลงปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

2. การรักษานอนกรนด้วยการผ่าตัด
– รักษาด้วยการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร

ในบางรายปัญหาการนอนกรนเกิดขึ้นจากการที่มีพันธุกรรมของโครงสร้างใบหน้าเเละขากรรไกรที่ผิดปกติ คือการที่มีกระดูกขากรรไกรบนเเละล่าง ถอยร่นไปทางด้านหลังมากเกินกว่าปกติจนทำให้ขนาดของทางเดินหายใจเเคบลง การผ่าตัดโดยเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนเเละล่างมาทางเดินหน้าจึงจะช่วยให้ทางเดินหายใจที่ตีบเเคบสามารถขยายขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยเเก้ปัญหาการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

– รักษาด้วยการผ่าตัดตกเเต่งเพดานอ่อนเเละลิ้นไก่ ด้วยการใช้เลเซอร์

เป็นการผ่าตัดลดนอนกรนที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับที่มีความรุนเเรงน้อยไปจนถึงปานกลาง ซึ่งจะมีวิธีการรักษาโดยการใช้เเสงเลเซอร์ผ่าตัดนำเนื้อเยื่อบริเวณของลิ้นไก่เเละเพดานอ่อนที่มีความหย่อนยานออก เมื่อนำเนื้อเยื่อที่มีความหย่อนยานออกจะทำให้การอุดกั้นของทางเดินหายใจน้อยลดลง ส่งให้ผลอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับดีขึ้น

– ผ่าตัดเเก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด

ในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาภาวะการนอนกรน เนื่องจากมีผนังกั้นช่องจมูกที่คด ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้การจากที่มีความผิดปกติเเต่กำเนิด หรือเกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงการพัฒนาการของขากรรไกรที่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะผนังกั้นช่องจมูกคด

โดยการผ่าตัดจะทำการผ่าตัดผ่านช่องจมูก เพื่อปรับเเต่งเเละตัดนำส่วนที่มีปัญหาหรือผิดรูปที่ปิดกั้นทางเดินหายใจออก เเละจัดผนังกั้นจมูกให้อยู่ในลักษณะเเนวตรง ซึ่งจะช่วยให้ทางเดินหายใจสามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดเล็กที่สามารถฟื้นตัวได้ไว เเละไม่มีเเผลหรือร่องรอยของการผ่าตัดให้เห็นจากด้านนอก

สรุป

การรักษาปัญหานอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนั้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จะต้องได้รับการประเมินจากเเพทย์เฉพาะทางเเละเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อให้เเพทย์สามารถระบุวิธีการรักษาการนอนกรนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในเเต่ละราย เนื่องจากในเเต่ละบุคคลมีอาการระดับความรุนเเรงเเละสาเหตุที่เเตกต่างกันไป จึงจำเป็นจะต้องได้รับการประเมินจากเเพทย์เฉพาะทางอย่างละเอียด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพเเละมีผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด

Cr. https://www.vitalsleepclinic.com/snoring-surgery-treat/
 
กลับ
บน ล่าง