เต้านมส่วนเกินเป็นอันตรายหรือไม่?

ีmrtr

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
3 ตุลาคม 2016
ข้อความ
61
เต้านมส่วนเกินเป็นอันตรายหรือไม่? By Miracle Clinic
admin-ajax.jpg

ทำความรู้จัก Accessory Breast
นมเกิน นม 4 เต้า เนื้อเกิน เนื้อล้นใต้รักแร้ ฯลฯชื่อทั้งหมดนี้ คือ ภาวะที่เรียกว่า“เต้านมเกิน”ในบางท่านอาจมีเต้านมอีก 2 เต้าเกิดขึ้นที่รักแร้ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นอาจเป็นมากกว่า 4 เต้า หรือมีเพียง 3 เต้า หรือมีแค่จุดหัวนม หรือมีแต่เต้านมโดยไม่เห็นหัวนมก็ได้


>>>เต้านมส่วนเกิน (Accessory Breast) เป็นลักษณะที่เต้านมเกินมา ในบางรายจะรู้สึกตึงหรือเจ็บที่บริเวณรักแร้ อาการเหล่านี้จะชัดเจนมากขึ้นในช่วงที่ใกล้กับรอบเดือน ช่วงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว เนื้อเยื่อเต้านมได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มีการขยายใหญ่ขึ้น เนื้อเต้านมเกินจึงขยายตัวไปด้วย ทำให้รู้สึกตึงหรือเจ็บได้ แต่จะไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนมให้บุตร
อย่างไรก็ตามเนื้อส่วนนี้มีลักษณะคล้ายเต้านมปกติทุกอย่าง จึงอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆเช่นเดียวกับเต้านมได้ จึงจำเป็นต้องแยกให้ออกว่าเป็นเนื้อเต้านมเกิน หรือเป็นภาวะที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต หรืออาจเป็นการอักเสบของต่อมไขมันรอบรูขุมขนที่รักแร้
2 สาเหตุหลัก ทำให้เกิดเต้านมส่วนเกิน
1.เกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ จะมีเต้านมหลายเต้าเรียงตัวอยู่ระหว่างขาหน้า และหลังเป็นแนวสองข้าง เช่นเดียวกับมนุษย์เมื่ออยู่ในครรภ์มารดา แต่ว่าในระหว่างการพัฒนาก่อนคลอดออกมานั้น เนื้อเต้านมตำแหน่งอื่นๆ จะฝ่อ และสลายไป ทำให้มนุษย์เรามีเต้านมอยู่เพียง คู่เดียว แต่ในบางรายเนื้อเต้านมในบริเวณอื่น ไม่ฝ่ออย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ยังคงมีเนื้อเต้านมเหลืออยู่ในบริเวณต่างๆ ซึ่งตำแหน่งที่พบเนื้อเต้านมเหลืออยู่บ่อยที่สุด คือ ที่รักแร้

2.เกิดจากสาเหตุภายนอกอื่นๆอาทิการสร้างคอลลาเจน และอีลาสตินในร่างกายจะลดน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้น รวมถึงการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ที่ทำได้ไม่ดีเท่าเดิม และกลายเป็นเต้านมส่วนเกินได้ ทั้งนี้การใส่ชุดชั้นในที่รัดจนเกินไป เป็นการบีบเนื้อบริเวณเต้านม ทำให้เกิดเป็นเต้านมส่วนเกินด้วยเช่นกัน
การรักษาภาวะเต้านมเกิน
• การดูดไขมันเหมาะกับผู้เต้านมส่วนเกินในระดับปานกลาง และมีเนื้อเยื่อส่วนเกินอยู่ติดกับเต้านมปกติ วิธีนี้ไม่ก่อให้เกิดแผลขนาดใหญ่ เจ็บตัวน้อยกว่าการผ่าตัด
• การผ่าตัดเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการกำจัดเต้านมส่วนเกิน เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อเต้านมเกินจำนวนมาก ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาในการพักรักษาและฟื้นตัวนานกว่า


เต้านมส่วนเกินเป็นอันตรายหรือไม่?
>>>เนื่องจากภาวะเต้านมเกิน เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีอันตราย จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาเต้านมเกินออก ยกเว้นกรณีที่เต้านมเกินนั้นมีขนาดใหญ่ อาจส่งผลต่อจิตใจ หรือรบกวนการทำกิจกรรมต่างๆ
ดังนั้น หากมีเนื้อในลักษณะนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง ควรไปตรวจวินิจฉัยโรคกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้แน่ชัด โดยอาจใช้วิธีการให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย หรือสามารถใช้วิธีอัลตร้าซาวด์ หรือแมมโมแกรม เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค

ข้อมูลบางส่วน :: Assoc. Prof. ADUNE RATANAWICHITRASIN(Faculty of Medicine Siriraj Hospital)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองคิวได้ที่
Line. @miracle Clinic
 
กลับ
บน ล่าง