เพราะอะไร? น้ำมันไทยมีน้อยแต่ส่งออกถูกกว่า มาดูกัน

chatcha1996

สมาชิกโดดเด่น
Registered
เข้าร่วม
16 กรกฎาคม 2018
ข้อความ
18
คำตอบคือ “จริง” …ประเทศไทยมีน้ำมันน้อย จัดหาได้เพียง 15% จากปริมาณการใช้ในประเทศ แต่ยังมีบางส่วนที่ยังคงต้องมีการส่งออก น้ำมัน ทั้งรูปแบบน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ซึ่งกรณีดังกล่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนที่รับข้อมูลบางกลุ่ม ถึงขนาดมีบางคนคิดว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมันมหาศาลติดอันดับโลก หรือไม่ก็มีการคอรัปชั่นในวงการพลังงาน


a965e7f0b3e97b4f5b7c4389d7cff2eb.jpg



“ประเทศไทยมีน้ำมันน้อย” คำว่าน้อย-มาก วัดกันที่ไหน? ส่วนตัวคิดว่าวัดกันที่จำนวนการใช้ ถ้าประเทศต้องพึ่งพาการนำเข้า น้ำมันอย่างนี้เรียกว่ามีน้อย แต่ถ้ามีพอใช้ในประเทศหรือมีเหลือจากการใช้ในประเทศแล้วสามารถส่งออก น้ำมันได้อย่างนี้ เรียกว่ามีมาก ซึ่งพอใช้หลักการนี้ในการวัด คนอาจสับสนได้เพราะมันดูย้อนแย้ง ประเทศไทยทั้งพึ่งพาการนำเข้า น้ำมันแต่ก็ยังมีการส่งออก น้ำมัน อย่างนี้เรียกว่ามีมากหรือมีน้อย คำตอบคือ “มีน้อย”

เหตุผลของการนำเข้า-ส่งออก น้ำมัน ที่ถือว่าไทยมีน้ำมันน้อย คือ

  1. กรณีน้ำมันที่นำเข้าเพื่อการส่งออก คล้ายกับประเทศไทยเป็นพ่อค้าคนกลาง ซื้อน้ำมันจากต่างประเทศมาขึ้นท่าเรือที่เมืองไทย และส่งออก น้ำมัน ให้ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งราคาที่ส่งขายจะเป็นราคาที่ถูกกว่า เพราะไม่ได้เก็บภาษีสินค้าในประเทศ ตามหลักสากลทั่วไป หรือการนำเข้า น้ำมัน มากลั่นเพื่อส่งออก อันนี้ต้องทำความเข้าใจว่าประเทศชาติไม่ได้เสียผลประโยชน์อะไร กลับกันการที่โรงกลั่นสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กลั่นได้ทีละมาก ๆ ยิ่งทำให้ต้นทุนการกลั่นในประเทศลดลงด้วยจึงทำให้เป็นสาเหตุที่ว่าส่งออกถูกกว่า
    นอกจากนี้การกลั่นน้ำมันเราไม่สามารถเลือกได้ว่าอยากได้เบนซินกี่เปอร์เซ็นต์หรือดีเซลกี่เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นน้ำมันที่ได้จากการกลั่นย่อมไม่ตรงหรือไม่บาลานซ์กับปริมาณการใช้ สมมติเรากลั่นน้ำมันดีเซลได้ 50% เบนซิน 35% ที่เหลือเป็นอื่น ๆ แต่ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลบ้านเราอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านลิตรต่อวัน ในขณะที่เบนซิน 95 อยู่ที่ประมาณ 1ล้านลิตรต่อวัน แบบนี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้า น้ำมันมามาก ๆ เพื่อกลั่นดีเซลให้เพียงพอต่อความต้องการ กลับกันเบนซินที่เกิดจากความต้องการก็ส่งขายออกนอกประเทศ
  2. กรณีส่งออก น้ำมันดิบในประเทศ ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุสำคัญคือ โรงกลั่นไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบได้ หรือน้ำมันดิบไม่เหมาะกับการใช้ของคนในประเทศ ในกรณีแรกน้ำมันจากบางแหล่ง มีสารปรอทมาก ซึ่งมีผลต่อวัสดุโรงกลั่น โรงกลั่นก็ไม่อยากรับซื้อ จึงส่งออก น้ำมันให้กับประเทศที่สามารถกลั่นน้ำมันดิบชนิดนั้นได้ บางคนอาจเถียงว่าทำไมโรงกลั่นไทยไม่สามารถกลั่นน้ำมันในไทยได้ทั้งหมด ตอบง่ายๆ ว่าเอกชนย่อมลงทุนสร้างโรงกลั่นที่สามารถกลั่นน้ำมันส่วนใหญ่ในประเทศ การที่จะสร้างโรงกลั่นที่สามารถกลั่นน้ำมันได้ทั้งหมด นั่นหมายความว่าต้นทุนโรงกลั่นจะสูงขึ้น มีผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นตามไปด้วย กรณีที่สองซึ่งถือว่าน้อยมากในปัจจุบัน คือการขุดเจาะพบน้ำมันดิบที่สามารถกลั่นเบนซินได้มาก ไม่บาลานซ์กับการใช้ของคนไทย ก็จะมีการส่งออกเพื่อนำเข้า น้ำมันดิบที่ต้องกับการใช้ของคนไทยคือกลั่นดีเซลได้มากเข้ามาแทน ทั้งนี้ปัจจุบันการส่งออก น้ำมันดิบไม่มีแล้ว หากแต่ปัญหาน้ำมันดิบยังคงอยู่ คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีมาตรการณ์แก้ปัญหาอย่างไรในอนาคต


614b5898c59570482266874d753df923.jpg



การจะเชื่อว่าพลังงานไทยมีมากมีน้อย จำเป็นต้องใช้เหตุผลและข้อเท็จจริงเป็นหลัก ซึ่งทุกคำถามมีคำตอบอยู่เสมอ สำคัญคือการไม่อคติมองข้อมูลอย่างเป็นกลาง จำไว้ว่าการโกหกตัวเองว่าเรามีน้ำมันเยอะ ไม่ได้ทำให้น้ำมันที่มีอยู่จริงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเชื่อในข้อเท็จจริงเพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์ย่อมเป็นเรื่องที่ดี



ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/นำเข้า-ส่งออกน้ำมันไทย/
 

กระทู้เพิ่มเติมหมวดหมู่เดียวกัน

กลับ
บน ล่าง