หลายคนสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง ทำไมพบได้บ่อยในเพศชาย โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีรูปร่างอ้วนลงพุง และมีภาวะนอนกรน ยิ่งคนที่สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย อีกทั้งยังมีความเครียดสะสมจากหน้าที่การงาน บางคนมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน พออายุมากขึ้นเริ่มมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง จะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ แล้วโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปรับข้อมูลความรู้พร้อมกันได้เลยค่ะ
โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร?
- มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า
- มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก
- มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
- พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด
- มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
- มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ
- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
- มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่
- อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- เพศ ผู้ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าผู้หญิง
- เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด
ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่
- ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
- โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ
- รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด
- โรคอ้วน และภาวะนอนกรน
- การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด
การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- การซักประวัติอาการของผู้ป่วย
- การตรวจร่างกายเบื้องต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain)
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้
1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่
- การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง
- การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง
2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก
- ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
- กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ
อยากย้ำเตือนว่าการตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการตรวจสอบสุขอนามัยของตนเองอยู่เสมอ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน สามารถสอบถามกับทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร?
- มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า
- มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก
- มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
- พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด
- มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
- มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ
- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
- มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่
- อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- เพศ ผู้ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าผู้หญิง
- เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด
ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่
- ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
- โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ
- รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด
- โรคอ้วน และภาวะนอนกรน
- การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด
การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- การซักประวัติอาการของผู้ป่วย
- การตรวจร่างกายเบื้องต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain)
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้
1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่
- การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง
- การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง
2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก
- ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
- กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ
อยากย้ำเตือนว่าการตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการตรวจสอบสุขอนามัยของตนเองอยู่เสมอ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน สามารถสอบถามกับทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
กระทู้เพิ่มเติมหมวดหมู่เดียวกัน
- ประตูม้วนกม8 กม4 คู้บอน รามคำแหง บดินทรเดชา รามอินทรา เกษตร ประตูม้วนคลองกุ่ม คลองสามวา เลียบด่วน
- EMMA CLINIC นำเทรนด์ทรงจมูก TEARDROP อ.พญ.วาสิตาหรือคุณหมอกวาง แกะกล่องเทคนิคใหม่ Preservation Rhinoplasty ชี้ฝั่งยุโรปและเอเชียกำลังมาแรง
- หอพักหน้า ม.มหิดล ประตู6 PJ Bed Story ศาลายา พุทธมลฑล นครปฐม ห้องพักใหม่ เช่าถูก เฟอร์ใหม่ทั้งตึก
- EMMA CLINIC ไม่หยุดอัปความรู้ ส่ง “อ.พญ.วาสิตา หรือหมอกวาง ” ดีกรีศัลยแพทย์งานแก้สุดปัง บินตรงเอ็กซ์คลูซีฟเทรนนิ่งความรู้ใหม่ๆเทรนด์ศัลยกรรมจมูก ณ ป
- เตาปิ้งย่างกลางแจ้ง เฟอร์นิเจอร์เหล็กดัด ขาตั้งที่เขี่ยบุหรี่ ขาตั้งวางกระถางต้นไม้ และเหล็กแขวนกระถางต้นไม้ ซุ้มประตูสวน ซุ้มไม้เลื้อย ซุ้มประตูเหล็ก