โรคเริม มีอาการอย่างไร ?
เริมเป็นโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ “เฮอร์ปีส์” ก่อโรคได้เกือบทุกแห่งของร่างกาย พบได้บ่อย 2 บริเวณ ได้แก่
- เริมที่ริมฝีปาก
- เริมบริเวณอวัยวะเพศ ก้น
รอยโรคของเริมมีลักษณะเริ่มต้นเป็นตุ่มน้ำพองใสเหมือนหยดน้ำเล็ก ๆ มีขอบแดง มักขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม ต่อมาตุ่มน้ำเหล่านี้จะแตกเป็นแผลถลอกตื้น ๆ และหายไปในที่สุด ถ้าไม่ได้รับเชื้อหนองซ้ำเติม
การติดเชื้อครั้งแรก
อาการ และรอยโรคจะค่อนข้างรุนแรงมีไข้ปวดเมื่อย หรือต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงกับรอยโรค อักเสบร่วมด้วย เช่น ถ้าเป็นเริมที่อวัยวะเพศ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบอักเสบ หรือถ้าเป็นเริมที่ริมฝีปาก ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบได้ เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาแผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์โรคเริมที่เกิดซ้ำ อาการและรอยโรคไม่ค่อยรุนแรงเหมือนครั้งแรก ผู้ป่วยจะมี “อาการเตือน” นำตุ่มน้ำมาก่อนประมาณ 2 ชม. – 3 วัน เช่นเจ็บเสียวแปลบ ๆ คันยุบยิบ ปวดแสบปวดร้อนในบริเวณรอยโรคเดิม แผลจะหายเร็วภายใน 7-10 วัน ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยมะเร็ง รอยโรคอาจรุนแรงหรือเป็นแผลเรื้อรังได้
เชื้อไวรัส “เฮอร์ปีส์” ติดต่อได้อย่างไร ?
เรา สามารถตรวจพบเชื้อไว้รัสนี้ในตุ่มน้ำและแผลถลอกที่รอยโรคเริม เชื้อกระจายสู่ผู้อื่นได้ทางการสัมผัสทางกาย จูบ ร่วมเพศ โดยแทรกเข้าทางเยื่อบุ หรือผิวหนังที่ถลอกเป็นแผล แล้วก่อให้เกิดผื่นเริมใน 2-20 วัน หลังรับเชื้อ หรือในรายที่มีร่างกายแข็งแรงอาจไม่ปรากฏรอยโรคเริมเลยก็ได้หลังจากนั้น เชื้อหลบแฝงตัวที่ปมประสาท ไม่ก่อรอยโรคเริม จนกว่าจะถูกกระตุ้น ก็จะกลับมาก่อรอยโรคเริมอีกครั้ง
อะไรคือ “ตัวกระตุ้น” โรคเริมให้เกิดซ้ำ ?
“ตัวกระตุ้น” ดัง กล่าวได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลง พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลียขาดสารอาหาร ความเครียด วิตกกังวล ผู้หญิงใกล้มีประจำเดือน ผิวหนังอักเสบ เสียดสีกับเครื่องแต่งกายรัด ๆ การหลีกเลี่ยง “ตัวกระตุ้น” เหล่านี้อาจทำให้การเกิดเป็นซ้ำของเริมห่างออกไป
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคเริม ?
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลเริม เพราะอาจแพร่เชื้อไปสู่บริเวณอื่นของร่างกายหรือติดต่อผู้อื่นได้
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หลังเข้าห้องน้ำ อย่าขยี้ตา
- เมื่อมีแผลเริมที่ริมฝีปาก ห้ามจูบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ผู้หญิงมีครรภ์
- งดการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่เริ่มมี “อาการเตือน” จนกระทั่งแผลหาย เพราะเป็นช่วงปล่อยเชื้อ ถึงแม้ใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่ปลอดภัย 100%
เริมรักษาได้หรือไม่ ?
ใน ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ทำให้โรคนี้หายขาดได้ ถึงแม้ว่ายาต้านไวรัสจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดความรุนแรงของอาการ แผลหายเร็วขึ้น แต่ยังมีราคาค่อนข้างแพงในรายที่เป็นเริมถี่มากจนรบกวนการดำเนินชีวิต หรือเป็นถี่มากกว่า 6 ครั้งต่อปี ควรปรึกษาแพทย์ซึ่งจะพิจารณาใช้ยาต้านไวรัสขนาดต่ำ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หรือลดความถี่ของเริมต่อไป
ที่มา www.mthai.com
เริมเป็นโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ “เฮอร์ปีส์” ก่อโรคได้เกือบทุกแห่งของร่างกาย พบได้บ่อย 2 บริเวณ ได้แก่
- เริมที่ริมฝีปาก
- เริมบริเวณอวัยวะเพศ ก้น
การติดเชื้อครั้งแรก
อาการ และรอยโรคจะค่อนข้างรุนแรงมีไข้ปวดเมื่อย หรือต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงกับรอยโรค อักเสบร่วมด้วย เช่น ถ้าเป็นเริมที่อวัยวะเพศ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบอักเสบ หรือถ้าเป็นเริมที่ริมฝีปาก ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบได้ เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาแผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์โรคเริมที่เกิดซ้ำ อาการและรอยโรคไม่ค่อยรุนแรงเหมือนครั้งแรก ผู้ป่วยจะมี “อาการเตือน” นำตุ่มน้ำมาก่อนประมาณ 2 ชม. – 3 วัน เช่นเจ็บเสียวแปลบ ๆ คันยุบยิบ ปวดแสบปวดร้อนในบริเวณรอยโรคเดิม แผลจะหายเร็วภายใน 7-10 วัน ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยมะเร็ง รอยโรคอาจรุนแรงหรือเป็นแผลเรื้อรังได้
เชื้อไวรัส “เฮอร์ปีส์” ติดต่อได้อย่างไร ?
เรา สามารถตรวจพบเชื้อไว้รัสนี้ในตุ่มน้ำและแผลถลอกที่รอยโรคเริม เชื้อกระจายสู่ผู้อื่นได้ทางการสัมผัสทางกาย จูบ ร่วมเพศ โดยแทรกเข้าทางเยื่อบุ หรือผิวหนังที่ถลอกเป็นแผล แล้วก่อให้เกิดผื่นเริมใน 2-20 วัน หลังรับเชื้อ หรือในรายที่มีร่างกายแข็งแรงอาจไม่ปรากฏรอยโรคเริมเลยก็ได้หลังจากนั้น เชื้อหลบแฝงตัวที่ปมประสาท ไม่ก่อรอยโรคเริม จนกว่าจะถูกกระตุ้น ก็จะกลับมาก่อรอยโรคเริมอีกครั้ง
อะไรคือ “ตัวกระตุ้น” โรคเริมให้เกิดซ้ำ ?
“ตัวกระตุ้น” ดัง กล่าวได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลง พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลียขาดสารอาหาร ความเครียด วิตกกังวล ผู้หญิงใกล้มีประจำเดือน ผิวหนังอักเสบ เสียดสีกับเครื่องแต่งกายรัด ๆ การหลีกเลี่ยง “ตัวกระตุ้น” เหล่านี้อาจทำให้การเกิดเป็นซ้ำของเริมห่างออกไป
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคเริม ?
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลเริม เพราะอาจแพร่เชื้อไปสู่บริเวณอื่นของร่างกายหรือติดต่อผู้อื่นได้
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หลังเข้าห้องน้ำ อย่าขยี้ตา
- เมื่อมีแผลเริมที่ริมฝีปาก ห้ามจูบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ผู้หญิงมีครรภ์
- งดการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่เริ่มมี “อาการเตือน” จนกระทั่งแผลหาย เพราะเป็นช่วงปล่อยเชื้อ ถึงแม้ใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่ปลอดภัย 100%
เริมรักษาได้หรือไม่ ?
ใน ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ทำให้โรคนี้หายขาดได้ ถึงแม้ว่ายาต้านไวรัสจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดความรุนแรงของอาการ แผลหายเร็วขึ้น แต่ยังมีราคาค่อนข้างแพงในรายที่เป็นเริมถี่มากจนรบกวนการดำเนินชีวิต หรือเป็นถี่มากกว่า 6 ครั้งต่อปี ควรปรึกษาแพทย์ซึ่งจะพิจารณาใช้ยาต้านไวรัสขนาดต่ำ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หรือลดความถี่ของเริมต่อไป
ที่มา www.mthai.com