- เข้าร่วม
- 16 กันยายน 2020
- ข้อความ
- 131
การรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยการผ่าตัดที่ผิวข้อส่วนที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ มีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการตรวจวัดก่อนที่แพทย์จะทำการตัดกระดูกส่วนที่เสื่อมออกทั้ง 3 ส่วน พื้นผิวของกระดูกส่วนบนจะถูกเปลี่ยนเป็นโลหะที่มีลักษณะมนซึ่งจะเข้าและสมดุลกับโครงสร้างของกระดูกอย่างเป็นธรรมชาติ พื้นผิวของกระดูกส่วนล่างจะถูกเปลี่ยนเป็นโลหะที่เรียบโดยจะมีแผ่นพลาสติก ที่รองรับน้ำหนักได้ดีรองอยู่ด้านบนทำหน้าที่คล้ายกับกระดูกอ่อนตรงส่วนของใต้พื้นผิวของกระดูกลูกสะบ้าอาจจะถูกปรับพื้นผิวของกระดูกเช่นกัน ซึ่งจะแทนที่โดยพลาสติก ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายกับส่วนของกระดูกลูกสะบ้า ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นถึงแม้จะทำให้เราได้รับประโยชน์หลายอย่าง แต่ก็แอบมีข้อเสียอยู่ด้วยเหมือนกัน เพราะมันมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ดังนี้
1.การติดเชื้อของข้อเข่า ซึ่งโอกาสในการเกิดการติดเชื้อนี้น้อยกว่าร้อยละ 2 ของผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
2.โอกาสในการเกิดภาวะของเส้นเลือดที่สมอง และหัวใจตีบตันในช่วงผ่าตัดและหลังผ่าตัด โอกาสในการเกิดค่อนข้างน้อยมาก ขึ้นอบู่กับปัจจัยเสี่ยงในแต่ละบุคคล
3.การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งในคนไทยเกิดค่อนข้างน้อย ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดทางแพทย์ผู้ผ่าตัดจะมีการสอนการบริหาร การเตรียมตัวผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะนี้
4.อาการปวดหลังผ่าตัด ซึ่งอาจมีอยู่บ้างเล็กน้อยในช่วงประมาณ 2 – 3 เดือนหลังผ่าตัด ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและวิวัฒนาการที่ทันสมัยทำให้การควบคุมอาการปวดหลังผ่าตัดเป็นไปได้อย่างดี
5.อาการชาที่รอบ ๆ บริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งมักเกิดในช่วงที่ทำการผ่าตัดมีการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้น
ดังนั้นถ้าไม่อยากเจออาการแทรกซ้อนภายหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมควรที่จะต้องดูแลตนเองให้ดี ๆ ทำตามคำแนะนำจากแพทย์และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เจ็บปวดน้อย แผลหายไว และผู้ป่วยจะได้สามารถกลับมาเดินได้ดีโดยเร็ว
#ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า