ไข้ทับระดู เรื่องจริงที่ผู้หญิงควรรู้

อบิเกล

Junior Member
Registered
เข้าร่วม
22 มีนาคม 2014
ข้อความ
14
fetch
  • ไข้ทับระดู เรื่องจริงที่ผู้หญิงควรรู้ (สสส.)

    "ไข้ทับระดู" ในอดีตอาจเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้หญิง !! บางคนเป็นแล้วถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการมีเพศสัมพันธ์แล้วได้รับเชื้อกามโรคจากคู่นอนหรือสามี แต่ในปัจจุบัน เมื่อได้ยินชื่อของโรคแล้วผู้หญิงคิดถึงเพียงแต่ว่าเป็นโรคที่มีอาการป่วย เป็นไข้ ไม่สบายในช่วงเวลาของการมีประจำเดือน บางคนแค่กินยาแก้ปวดลดไข้ธรรมดาก็หาย....ในขณะที่บางคนทานยาแล้วอาการกลับไม่ดีขึ้น...

    จากการได้พูดคุยกับ รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ไข้ทับระดูสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่
  • ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง โดยจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดภายหลังทานยาแก้ ปวดลดไข้ก็หายได้ สาว ๆ จึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงที่เกิดขึ้นระหว่างมีประจำเดือนซึ่งบางครั้งอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือปวดประจำเดือนร่วมด้วย
  • ไข้ทับฤดูที่มีสภาวะโรคแอบแฝง จะมีอาการไข้ขึ้นสูงหนาวสั่น ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องน้อย มีตกขาวปนหนองออกมาระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งบางครั้งประจำเดือนอาจมีมากผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น หากมีอาการจะรุนแรงมากขึ้นในทุก ๆ รอบเดือนนั่นเป็นสัญญาณของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง

    เนื่องจากขณะมีประจำเดือนร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตเจนและโปรเจสเตอโรน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ระบบร่างกายเสียสมดุล มีภูมิต้านทานลดน้อยลงจึงมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อง่ายกว่าปกติ อีกทั้งมีโอกาสติดเชื้อในมดลูก และปีกมดลูกได้มากกว่าปกติอีกด้ว ซึ่งกล่าวได้ว่า "ไข้ทับระดู" หรือทางการแพทย์เรียกว่า "โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง" เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือการไม่รักษาความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้น
fetch
  • นอกจากนี้ ยังเป็นที่มาของ "โรคปีกมดลูกอักเสบ" ที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกัน ทางการแพทย์เรียกเชื้อแบคทีเรียนี้ว่า "คลามีเดีย" เชื้อที่ว่านี้จะเข้าไปทำลายท่อรังไข่ หรืออวัยวะใกล้เคียงได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการอักเสบของอุ้งเชิงกรานสูงถึงร้อยละ 40 ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น เป็นหมัน มีบุตรยากหรือเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยมักจะเกิดกับผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากปากมดลูกยังไวต่อการติดเชื้อนั่นเอง

    ไม่เพียงเท่านี้อาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกคือ เกิดฝีหนองในอุ้งเชิงกรานที่ส่งผลให้ไข้เพิ่มสูงขึ้นและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บางรายหนองแตกในท้องต้องเข้ารับการผ่าตัดเอาหนองออก หรือไม่ก็ใช้วิธีการให้ยาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะแทนหากอาการไม่รุนแรงมากนัก

    สำหรับระดับความรุนแรงของโรคไข้ทับระดูหรือโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรังในแต่ละช่วงวัย หากเปรียบเทียบระหว่างผู้ใหญ่อายุ 40 ขึ้นปีขึ้นไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายย่อมทำงานได้ไม่เต็มที่เมื่อเทียบกับเด็กสาวที่ อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ระบบภูมิคุ้มกันย่อมดีกว่า เมื่อสภาพร่างกายแข็งแรงการฉีดยาระหว่างมีประจำเดือนย่อมไม่ส่งผลให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ขณะเดียวกันจะพบว่าช่วงวัยเจริญพันธุ์มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรังสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรนั่นเอง
fetch

  • นอกจากนี้ ยังเป็นที่มาของ "โรคปีกมดลูกอักเสบ" ที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกัน ทางการแพทย์เรียกเชื้อแบคทีเรียนี้ว่า "คลามีเดีย" เชื้อที่ว่านี้จะเข้าไปทำลายท่อรังไข่ หรืออวัยวะใกล้เคียงได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการอักเสบของอุ้งเชิงกรานสูงถึงร้อยละ 40 ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น เป็นหมัน มีบุตรยากหรือเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยมักจะเกิดกับผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากปากมดลูกยังไวต่อการติดเชื้อนั่นเอง

    ไม่เพียงเท่านี้อาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกคือ เกิดฝีหนองในอุ้งเชิงกรานที่ส่งผลให้ไข้เพิ่มสูงขึ้นและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บางรายหนองแตกในท้องต้องเข้ารับการผ่าตัดเอาหนองออก หรือไม่ก็ใช้วิธีการให้ยาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะแทนหากอาการไม่รุนแรงมากนัก

    สำหรับระดับความรุนแรงของโรคไข้ทับระดูหรือโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรังในแต่ละช่วงวัย หากเปรียบเทียบระหว่างผู้ใหญ่อายุ 40 ขึ้นปีขึ้นไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายย่อมทำงานได้ไม่เต็มที่เมื่อเทียบกับเด็กสาวที่ อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ระบบภูมิคุ้มกันย่อมดีกว่า เมื่อสภาพร่างกายแข็งแรงการฉีดยาระหว่างมีประจำเดือนย่อมไม่ส่งผลให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ขณะเดียวกันจะพบว่าช่วงวัยเจริญพันธุ์มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรังสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรนั่นเอง
ที่มา www.kapook.com
 

กระทู้ที่คล้ายกัน

กลับ
บน ล่าง