1. เริ่มต้นด้วยการคิดถึงชีวิตเกษียณ เราอาจกำลังคิดถึงเงินก้อนโตก้อนหนึ่ง และถือเป็นเรื่องดีที่เรามีการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตเกษียณ แต่ความสุขไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงเพราะเรามีเงินทอง การใช้ชีวิตในแต่ละวันต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสุขให้กับชีวิตเกษียณของเรา
2. เมื่อความสุขของชีวิตเกษียณเกิดจากการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ดังนั้น เราต้องวางแผนล่วงหน้าสำหรับสิ่งที่อยากจะทำ ซึ่งอาจเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ในยามเช้าที่สวนสาธารณะใกล้บ้าน การนั่งเขียนหนังสือพร้อมจิบชาจีนอุ่นๆ ในยามบ่าย การหาความรู้เพิ่มเติมในวันที่คุณมีเวลาเต็มที่ การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ หรือเลือกรับงานที่ไม่ต้องทำประจำบ้างเพื่อช่วยลับสมองของคุณให้เฉียบแหลมอยู่เสมอ จะชอบแบบไหนก็ทำเถิดครับ อย่าไปรับจ้างเข้าม็อบก็แล้วกัน เพราะสังขารเราอาจไม่เอื้อแล้ว
3. เมื่อมีแผนชีวิตเกษียณสุขแล้ว เราก็จะเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างราบรื่น ยกตัวอย่างเช่น หากวางแผนจะไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น คุณก็ควรเริ่มศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ รวมถึงเส้นทาง และเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นคิกขุ อาโนเนะ บันไซ คัมไป กันไว้บ้าง
4. “ชีวิตคือการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด” ดังนั้น อย่ากลัวที่จะเปิดโอกาสให้ชีวิตได้ลองทำสิ่งแปลกใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปจะได้ไม่เกิดความรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ทำ แต่อย่าแปลกจนถึงขั้นประหลาดก็แล้วกันนะครับ
5. การเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในองค์กรต่างๆ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ นอกจากจะได้ทำประโยชน์กลับคืนสู่สังคมแล้ว ยังเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ๆ มีเป้าหมายที่ทรงคุณค่าอีกด้วย
6. สังคมรอบตัวมีส่วนช่วยส่งเสริมความสุขในชีวิตเกษียณ อย่าลืมแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ กับคนในครอบครัว ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของเพื่อนรักอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ต้องถึงขั้นโทรศัพท์ไปหาทุกชั่วโมงนะครับ นอกจากนี้ มันยังไม่สายที่จะสร้างมิตรภาพใหม่ๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ยิ่งกว้างมากขึ้น เพราะเมื่อเรามีความสุขในสังคมที่เราใช้ชีวิตอยู่ ก็จะส่งผลให้เรามีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นด้วย
7. หากมีคู่ชีวิตหรือเพื่อนสนิทที่อยู่ในวัยเกษียณหรือใกล้เกษียณเหมือนกัน การแบ่งปันความคิดในการวางแผนชีวิตเกษียณก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะความฝันของเราอาจเป็นสิ่งที่เขาอยากทำ และความฝันของเขาก็อาจสามารถเติมเต็มให้ชีวิตเกษียณของเราสดใสมากขึ้นได้ เพราะเมื่อมีคนรู้ใจที่พร้อมจะไปด้วยกัน ก้าวเดินของเราบนเส้นทางในวัยเกษียณก็คงจะเป็นไปได้ง่าย และไม่เงียบเหงา
8. หากคุณยังไม่พร้อมที่จะใช้ชีวิตเกษียณอย่างเต็มที่ การทำงานแบบไม่ประจำถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยคุณอาจทำงานที่เดิมหรือลองทำงานใหม่ๆ บ้างก็ได้ เพราะไม่ว่าคุณจะเลือกทำงานอะไร ข้อดีของการทำงานคือคุณจะมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ เรื่องนี้ผมเห็นผู้บริหารหลายคนที่เกษียณไปแล้วเขาไปเป็นอาจารย์พิเศษ เป็นกรรมการบริษัทต่างๆ กันครับ
9. ทัศนคติหรือมุมมองต่อชีวิตเกษียณเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขที่จะเกิดขึ้น ถ้ามีการเตรียมตัวเตรียมใจไว้เป็นอย่างดี การเปลี่ยนแปลงชีวิตเข้าสู่ช่วงวัยเกษียณก็เหมือนกับการเริ่มต้นก้าวเดินไปสู่เส้นทางเส้นใหม่ที่น่าค้นหา
10. สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในวัยเกษียณ ร่างกายของเราถูกใช้งานหนักมาอย่างยาวนานในช่วงโหมงาน จึงปฏิเสธความทรุดโทรมไปไม่ได้ แต่อย่าปล่อยให้สุขภาพกายมาเป็นอุปสรรคของชีวิตเกษียณสุข เลือกออกกำลังกายเบาๆ ที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น
เมื่อสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี วางแผนไว้ดี เราก็พร้อมที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาให้ชีวิตตื่นเต้น มีความหมาย และมีค่าได้ครับ
คอลัมน์บัวหลวง Money Tips โดยสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ
อยากได้การวางแผนวัยเกษียรที่ดีอ่านต่อ http://goo.gl/TVjPrQ
2. เมื่อความสุขของชีวิตเกษียณเกิดจากการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ดังนั้น เราต้องวางแผนล่วงหน้าสำหรับสิ่งที่อยากจะทำ ซึ่งอาจเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ในยามเช้าที่สวนสาธารณะใกล้บ้าน การนั่งเขียนหนังสือพร้อมจิบชาจีนอุ่นๆ ในยามบ่าย การหาความรู้เพิ่มเติมในวันที่คุณมีเวลาเต็มที่ การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ หรือเลือกรับงานที่ไม่ต้องทำประจำบ้างเพื่อช่วยลับสมองของคุณให้เฉียบแหลมอยู่เสมอ จะชอบแบบไหนก็ทำเถิดครับ อย่าไปรับจ้างเข้าม็อบก็แล้วกัน เพราะสังขารเราอาจไม่เอื้อแล้ว
3. เมื่อมีแผนชีวิตเกษียณสุขแล้ว เราก็จะเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างราบรื่น ยกตัวอย่างเช่น หากวางแผนจะไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น คุณก็ควรเริ่มศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ รวมถึงเส้นทาง และเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นคิกขุ อาโนเนะ บันไซ คัมไป กันไว้บ้าง
4. “ชีวิตคือการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด” ดังนั้น อย่ากลัวที่จะเปิดโอกาสให้ชีวิตได้ลองทำสิ่งแปลกใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปจะได้ไม่เกิดความรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ทำ แต่อย่าแปลกจนถึงขั้นประหลาดก็แล้วกันนะครับ
5. การเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในองค์กรต่างๆ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ นอกจากจะได้ทำประโยชน์กลับคืนสู่สังคมแล้ว ยังเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ๆ มีเป้าหมายที่ทรงคุณค่าอีกด้วย
6. สังคมรอบตัวมีส่วนช่วยส่งเสริมความสุขในชีวิตเกษียณ อย่าลืมแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ กับคนในครอบครัว ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของเพื่อนรักอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ต้องถึงขั้นโทรศัพท์ไปหาทุกชั่วโมงนะครับ นอกจากนี้ มันยังไม่สายที่จะสร้างมิตรภาพใหม่ๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ยิ่งกว้างมากขึ้น เพราะเมื่อเรามีความสุขในสังคมที่เราใช้ชีวิตอยู่ ก็จะส่งผลให้เรามีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นด้วย
7. หากมีคู่ชีวิตหรือเพื่อนสนิทที่อยู่ในวัยเกษียณหรือใกล้เกษียณเหมือนกัน การแบ่งปันความคิดในการวางแผนชีวิตเกษียณก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะความฝันของเราอาจเป็นสิ่งที่เขาอยากทำ และความฝันของเขาก็อาจสามารถเติมเต็มให้ชีวิตเกษียณของเราสดใสมากขึ้นได้ เพราะเมื่อมีคนรู้ใจที่พร้อมจะไปด้วยกัน ก้าวเดินของเราบนเส้นทางในวัยเกษียณก็คงจะเป็นไปได้ง่าย และไม่เงียบเหงา
8. หากคุณยังไม่พร้อมที่จะใช้ชีวิตเกษียณอย่างเต็มที่ การทำงานแบบไม่ประจำถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยคุณอาจทำงานที่เดิมหรือลองทำงานใหม่ๆ บ้างก็ได้ เพราะไม่ว่าคุณจะเลือกทำงานอะไร ข้อดีของการทำงานคือคุณจะมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ เรื่องนี้ผมเห็นผู้บริหารหลายคนที่เกษียณไปแล้วเขาไปเป็นอาจารย์พิเศษ เป็นกรรมการบริษัทต่างๆ กันครับ
9. ทัศนคติหรือมุมมองต่อชีวิตเกษียณเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขที่จะเกิดขึ้น ถ้ามีการเตรียมตัวเตรียมใจไว้เป็นอย่างดี การเปลี่ยนแปลงชีวิตเข้าสู่ช่วงวัยเกษียณก็เหมือนกับการเริ่มต้นก้าวเดินไปสู่เส้นทางเส้นใหม่ที่น่าค้นหา
10. สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในวัยเกษียณ ร่างกายของเราถูกใช้งานหนักมาอย่างยาวนานในช่วงโหมงาน จึงปฏิเสธความทรุดโทรมไปไม่ได้ แต่อย่าปล่อยให้สุขภาพกายมาเป็นอุปสรรคของชีวิตเกษียณสุข เลือกออกกำลังกายเบาๆ ที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น
เมื่อสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี วางแผนไว้ดี เราก็พร้อมที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาให้ชีวิตตื่นเต้น มีความหมาย และมีค่าได้ครับ
คอลัมน์บัวหลวง Money Tips โดยสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ
อยากได้การวางแผนวัยเกษียรที่ดีอ่านต่อ http://goo.gl/TVjPrQ