ใครๆ ก็อยากมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่การ ออกกำลังกาย จะให้ได้สุขภาพดีนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
1. รู้จักประมาณตน การประมาณตนในการ ออกกำลังกาย แต่พอควร จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารและพลังงานส่วนเกินได้ดี มีข้อสังเกตคือ ถ้าออกกำลังกาย เหนื่อยแล้ว ยังฝืนต่อด้วยความหนักเท่าเดิมโดยไม่เหนื่อยเพิ่มขึ้น และพักไม่เกิน 10 นาที ก็รู้สึกหายเหนื่อย แสดงว่าร่างกายทนได้ ตรงข้ามถ้า ออกกำลังกาย จนเหนื่อยทนไม่ไหว หรือพักแล้วยังไม่หายเหนื่อย แนะนำให้หยุด เพราะขืนเล่นต่อไป อาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้
2. มีโรคประจำตัวหรือไม่ หากมี ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ที่จะเลือกวิธีการ ออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัย
3. แต่งกายเหมาะสม ควรใช้ผ้าฝ้าย เพื่อระบายความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย เพราะความร้อนจะเป็นตัวจำกัดการออกกำลังกาย แล้วยังทำอันตรายต่อระบบต่างๆ ในร่างกายด้วย ส่วนการเลือกใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะกับสภาพสนาม อาจส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวและเกิดการบาดเจ็บได้
4. เลือกเวลาออกกำลังกาย เวลาเช้าตรู่และตอนเย็นเหมาะที่สุดในการออกกำลังกายมากกว่าตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้เหนื่อยเร็วและได้ปริมาณน้อย บางรายอาจหน้ามืดเป็นลมก็มี ทั้งนี้ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของร่างกาย
5. สภาพกระเพาะอาหาร ควรงดอาหารหนักเพื่อป้องกันการจุกเสียดก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง โดยเฉพาะกีฬาที่มีการกระทบกระแทก เช่น รักบี้ฟุตบอล บาสเกตบอล รวมถึงกีฬาที่ต้องเล่นเป็นเวลานานๆ เช่น วิ่งมาราธอน จักรยานทางไกล ซึ่งควรรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายในปริมาณไม่ถึงอิ่มเป็นระยะๆ จะดีกว่า
6. ดื่มน้ำเพียงพอ หลังการออกกำลังกาย ร่างกายจะสูญเสียเสียน้ำได้ถึง 2 ลิตร หรือมากกว่านั้น ดังนั้นควรให้น้ำชดเชยในปริมาณเท่ากับที่สูญเสียไป โดยดื่มทีละนิดๆ เป็นระยะ
7. บาดเจ็บกลางคัน ขณะออกกำลังกาย ให้หยุดพักจะดีที่สุด แต่หากบาดเจ็บเล็กน้อย อาจออกกำลังกายต่อได้ แต่ถ้ารู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น ก็ต้องหยุด เพราะการฝืนต่อไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
8. จิตใจต้องพร้อม ควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หากมีเรื่องไม่สบายใจ ก็ไม่ควรออกกำลังกายเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
9. ความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงหรือลดน้ำหนัก แต่จะได้ผลแค่ไหนขึ้นกับปริมาณ และความหนักเบาของการออกกำลังกายด้วย
10.พักผ่อนเพียงพอ หลังการออกกำลังกาย จำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูสภาพของตนเองและพร้อมรับการออกกำลังกายครั้งใหม่อย่างมีพลังต่อไป
ที่มา www.mthai.com
2. มีโรคประจำตัวหรือไม่ หากมี ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ที่จะเลือกวิธีการ ออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัย
3. แต่งกายเหมาะสม ควรใช้ผ้าฝ้าย เพื่อระบายความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย เพราะความร้อนจะเป็นตัวจำกัดการออกกำลังกาย แล้วยังทำอันตรายต่อระบบต่างๆ ในร่างกายด้วย ส่วนการเลือกใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะกับสภาพสนาม อาจส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวและเกิดการบาดเจ็บได้
4. เลือกเวลาออกกำลังกาย เวลาเช้าตรู่และตอนเย็นเหมาะที่สุดในการออกกำลังกายมากกว่าตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้เหนื่อยเร็วและได้ปริมาณน้อย บางรายอาจหน้ามืดเป็นลมก็มี ทั้งนี้ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของร่างกาย
5. สภาพกระเพาะอาหาร ควรงดอาหารหนักเพื่อป้องกันการจุกเสียดก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง โดยเฉพาะกีฬาที่มีการกระทบกระแทก เช่น รักบี้ฟุตบอล บาสเกตบอล รวมถึงกีฬาที่ต้องเล่นเป็นเวลานานๆ เช่น วิ่งมาราธอน จักรยานทางไกล ซึ่งควรรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายในปริมาณไม่ถึงอิ่มเป็นระยะๆ จะดีกว่า
6. ดื่มน้ำเพียงพอ หลังการออกกำลังกาย ร่างกายจะสูญเสียเสียน้ำได้ถึง 2 ลิตร หรือมากกว่านั้น ดังนั้นควรให้น้ำชดเชยในปริมาณเท่ากับที่สูญเสียไป โดยดื่มทีละนิดๆ เป็นระยะ
7. บาดเจ็บกลางคัน ขณะออกกำลังกาย ให้หยุดพักจะดีที่สุด แต่หากบาดเจ็บเล็กน้อย อาจออกกำลังกายต่อได้ แต่ถ้ารู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น ก็ต้องหยุด เพราะการฝืนต่อไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
8. จิตใจต้องพร้อม ควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หากมีเรื่องไม่สบายใจ ก็ไม่ควรออกกำลังกายเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
9. ความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงหรือลดน้ำหนัก แต่จะได้ผลแค่ไหนขึ้นกับปริมาณ และความหนักเบาของการออกกำลังกายด้วย
10.พักผ่อนเพียงพอ หลังการออกกำลังกาย จำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูสภาพของตนเองและพร้อมรับการออกกำลังกายครั้งใหม่อย่างมีพลังต่อไป
ที่มา www.mthai.com