ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

thidarat

สมาชิกโดดเด่น
สมัครเมื่อ
25 กันยายน 2019
โพสต์
66
คุณเคยทราบไหมคะว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ซึ่งโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่นการดื่มชา กาแฟ การทานยาบางชนิด หรือผู้มีความเครียด ความวิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เช่น ผนังหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจรั่ว ผู้เป็นโรคเบาหวาน มีความดันสูง ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ มากกว่าคนทั่วไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ เราทุกคนจึงไม่ควรมองข้าม และบางคนอาจมีคำถาม หากมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว จะมีโอกาสให้กลับมาปกติได้ไหมโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด? คำถามนี้ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีคำตอบมาให้ เพื่อคุณจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อเตรียมรับมือ ก่อนที่โรคนี้จะเข้ามาส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่สงบสุขของคุณและคนที่คุณรักค่ะ

134e40d691bbb638359afd3941f93ae9.jpg
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น หัวใจเต้นสะดุด หรือบางครั้งหัวใจจะเต้นช้า มีอาการเหมือนกับหัวใจหยุดเดินไป 1-2 จังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะเพราะเต้นเร็วเกินไป ในบางรายมีอาการใจหวิว วูบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการเป็นลม หมดสติ เหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถรักษาให้หายได้ โดยใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลจากการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ รวมถึงภาวะโรคเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา

ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มักไม่ค่อยรู้ตัว จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่คงที่ไม่แน่นอน แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) การเอ็กซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ และการตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การจี้หัวใจ รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในกรณีที่หัวใจยังทำงานเป็นปกติ สามารถรักษาให้หายได้ โดยแพทย์จะให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลจากการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา

โดยวิธีการคือ แพทย์จะทำการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ (เช่นเดียวกับการตรวจสวนหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี) สายสวนหัวใจชนิดพิเศษดังกล่าวจะมีขั้วโลหะที่ส่วนปลาย จึงสามารถบันทึกกระแสไฟฟ้าในหัวใจ แสดงให้เห็นบนจอ Monitor ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 - 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยวิธีดังกล่าวได้ผล 95% โดยมีผลแทรกซ้อนน้อยกว่า 1% เช่น หัวใจทะลุ ลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ปอด เกิดลิ่มเลือดบริเวณที่เจาะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ แต่น้อยและยังไม่เคยเกิดขึ้น และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนหลังจากทำเสร็จ หลังจากนั้นก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ในบางกรณีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) หรือในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation สามารถรักษาได้โดยการฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator)

การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการจี้หัวใจ
ก่อนการทำหัตถการจี้หัวใจด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง ผู้ป่วยจะต้องงดรับประทานยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างน้อย 3 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วยในวันทำหัตถการ งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในวันทำการรักษาควรนำญาติมาด้วยเพื่อร่วมตัดสินใจในการรักษาของแพทย์ นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้างหรือคอด้านขวาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะใส่สายสวน รวมทั้งจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำบางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย

การปฏิบัติตัวหลังการทำหัตถการจี้หัวใจ
หลังทำการรักษาเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ที่ห้องพักฟื้น 1 คืนเพื่อรับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อถึงห้องพักต้องนอนราบห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการมีเลือดออกและมีก้อนเลือดได้ผิวหนัง หากมีอาการแน่นหน้าอกเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้และรู้สึกอุ่นๆ ขึ้น ๆ หรือพบว่ามีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ ควรแจ้งให้แพทย์พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที วันรุ่งขึ้นถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะควรมีการดูแลรักษาตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น สูบบุหรี่. ดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชากาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน พร้อมควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด ประจำตัว เพราะความเครียดจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น รวมทั้งควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคประจำตัว และหากรู้สึกว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วงที่มีอาการทันที เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วไม่ส่งผลต่ออันตราย

เนื่องจากอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ หากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าตนเองมีอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ อย่าปล่อยปละละเลยสัญญาณเตือนของร่างกาย เพราะภาวะเจ็บป่วยดังกล่าวหากไม่รีบรักษา อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้

ทั้งหมดนั้นคือข้อมูลดี ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากจากทางโรงพยาบาลนครธน ซึ่งทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/จี้หัวใจ-รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
 
ด้านบน ด้านล่าง