- เข้าร่วม
- 19 มิถุนายน 2020
- ข้อความ
- 192
7 วิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทาง
วิธีทำให้หายกรนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์รักษาการนอนกรน สามารถทำได้ดังนี้
ปรับเปลี่ยนท่านอน: การนอนหงายเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนอนกรนมากขึ้น เนื่องจากเพิ่มโอกาสที่กล้ามเนื้อภายในช่องปากหย่อนคล้อยจนปิดกั้นทางเดินหายใจ ท่านอนที่แนะนำคือ ท่าตะแคง
ลดความอ้วน: เหตุผลที่คนอ้วนมีโอกาสเกิดอาการนอนกรนมากกว่าคนผอมเพราะ ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณช่องคอมีความหนาตัวขึ้น จึงค่อยๆปิดกั้นทางเดินหายใจ อากาศที่ผ่านได้บางส่วนทำให้อวัยวะภายในเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงกรนออกมาในที่สุด
งดดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน: เป็นการเพิ่มความเสี่ยงการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ ซึ่งนำไปสู่ภาวะนอนกรนในที่สุด
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน: เป็นเพราะการสูบบุหรี่ทำให้เนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบนมีอาการบวมหรือเกิดอาการคัดจมูก ส่งผลให้หายใจติดขัดนำไปสู่อาการกรนในที่สุด
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนล้า และเกิดภาวะการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นที่มาของโรคนอนกรน
หลีกเลี่ยงยาบางชนิด: เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง เป็นต้น เพราะเสี่ยงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการนอนกรนตามมา
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: เพื่อช่วยเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย และลดการอุดกั้นในทางเดินหายใจ
7 วิธีทำให้หายกรนที่แนะนำไป เป็นการรักษาตนเองอย่างเบื้องต้น หากแต่ใช้ทั้ง 7 วิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล คุณอาจมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอาจส่งผลเสียร้างแรงถึงชีวิต
อาการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถสังเกตได้ดังนี้
เสียงกรนดังมากแม้ปิดประตูยังได้ยิน
ปวดศีรษะหลังตื่นนอน
ง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน
นอนเตะขาไปมาในขณะหลับ
ตื่นขึ้นมาเพราะหายใจแรง, สำลัก หรือหายใจติดขัด
ความต้องการทางเพศลดลง
วิธีเช็คอาการหยุดหายใจขณะหลับที่กล่าวมา เป็นแค่การสังเกตอาการเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ แนะนำให้ตรวจการนอนหลับ (sleep test) ร่วมด้วย เพื่อประเมินการรักษาได้อย่างตรงจุด
Cr. https://www.vitalsleepclinic.com/snore-sleep-apnea-treatment/