R&D แบตเตอรี่ ก้าวสำคัญของ EA บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

Unclezamm

สมาชิกใหม่
Registered
เข้าร่วม
6 พฤษภาคม 2019
ข้อความ
3
เทรนของไฟฟ้ากำลังจะมา ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า,เรือไฟฟ้า,รถไฟฟ้า, พลังงานที่จะมาแทนน้ำมันในอนาคต

EA คือบริษัทนึงที่มองไกลไปเห็นถึงจุดนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของประเทศเลยก็ได้ เพราะตอนนี้ก็มีที่เดียวที่มุ่งเป้าไปที่พลังงานสะอาด ไม่เพียงความสำคัญของการผลิตไฟฟ้าและการใช้เท่านั้น ที่สำคัญอีกอย่างนึงเลยก็คือตัวเก็บพลังงาน หรือแบตเตอรี่ อีกความสำคัญนึงที่ EA มองเห็นและสนใจที่จะพัฒนาแบตเตอรี่ เลยต้องพุ่งเป้าไปที่ผู้ผลิตและผู้วิจัยแบตเตอรี่

03-1EA-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E-RD2-728x486.png



การเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท Amita ทำให้ EA ได้รับการสนับสนุนจาก Industrial Technology Research (ITRI) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนาของไต้หวัน ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับโลกในเรื่องของการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง มีผลงานมากมายที่นำไปยกระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของไต้หวันและของโลก ก่อให้เกิดสตาร์ตอัพถึง 143 ราย

“โปรไฟล์ของ ITRI เป็นศูนย์รวมนักคิดนักพัฒนาระดับด็อกเตอร์ถึง 1,434 คน ระดับผู้เชี่ยวชาญ 3,685 คน มีผลงานสิทธิบัตรมหาศาลถึง 28,045 ใบ”


%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2aa.jpg



สิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไออนก็คือประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน ตัวแบตเตอรี่ที่ Amita และ ITRI คิดและผลิตขึ้นจะมีเทคนิคการขึ้นรูปแบบซิกแซ็ก แยกขั้วบวก-ลบ ง่ายต่อการรีไซเคิล สามารถชาร์จไฟเข้า-ออกได้ถึง 10,000 ครั้ง ทำให้อายุการใช้งานนานถึง 10 ปี นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่ชื่อ Stoba ป้องกันปัญหาแบตเตอรี่ลัดวงจร ช่วยให้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าปลอดภัย

Amita ให้ข้อมูลกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สาร Stoba ที่ ITRI และ Amita พัฒนาขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนฉนวน ป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่ลุกไหม้จากความร้อนที่พุ่งสูง หรือระเบิดจากการลัดวงจร ที่สำคัญในลิขสิทธิ์ในตัว Stoba ทำให้ EA ได้รับกรรมสิทธิ์ไปด้วยในตัว

แน่นอนว่าทั้ง Amita และ ITRI จะเป็นขุมกำลังสำคัญ รวมทั้งโนว์ฮาวความรู้ต่าง ๆ ที่จะเข้าไปสนับสนุนแผนการลงทุนของ EA ในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ในนิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ซิตี้ ฉะเชิงเทรา

“การลงทุนโรงงานแบตเตอรี่ที่เกิดขึ้นจะใช้เครื่องจักรทันสมัยที่สุด มีกำลังการผลิตในเฟสแรก 1 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง(GWh) ด้วยเงินลงทุน 5,000 ล้านบาทและขยายการลงทุนในเฟสที่ 2 อีก 49 กิกะวัตต์ (GWh) ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ใช้เงินลงทุนมากกว่าแสนล้านบาท”

การเข้าไปลงทุนในบริษัทแบตเตอรี่ต่างชาติของ EA ในครั้งนี้ก็เพื่อการพัฒนาจุดเก็บพลังงานหรือ energy storage ทั้งในส่วนของยานยนต์ไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้าสะอาด energy storage ซึ่งล้วนแต่เป็นเทรนด์โลกในอนาคต


ขอบคุณข้อมูล https://www.prachachat.net/economy/news-347049

https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_2694957
 
กลับ
บน ล่าง