นักวิจัยเผยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุ 45 ปีขึ้นไปมีความระมัดระวังในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลมากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นเยาว์
วันนี้(20ม.ค.59)จากการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตล่าสุด เรื่อง “Consumer Security Risks Survey 2015” และ “Are you cyber savvy Quiz” โดยแคสเปอร์สกี้ แลป ผู้ที่อายุต่ำกว่า 24 ปีเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลของตัวเองและใช้มาตรการป้องกันตนเองน้อยกว่า แต่มีความเข้าใจภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ดีมากกว่าและสามารถจำแนกออกได้ง่ายกว่า แต่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุ 45 ปีขึ้นไปมีความระมัดระวังในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลมากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นเยาว์ แต่ขาดความรู้ในการระบุสแกมอันตรายและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า สำหรับคนที่อายุน้อยกว่านั้น การแชร์ข้อมูลออนไลน์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน โดยผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 83% ใช้งานออนไลน์ผ่านข้อความส่วนตัว เปรียบเทียบกับผู้ให้สัมภาษณ์ที่อายุมากกว่า 45 ปี ที่ใช้งานข้อความส่วนตัวเพียง 53% และพบว่า คนที่อายุน้อยกว่าจำนวน 23% จะเปิดเผยเนื้อหาโจ่งแจ้งสู่สาธารณะอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งคิดเป็นสามเท่าของผู้สูงวัย (7%)
ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้ง 2 กลุ่มไม่ระวังเรื่องพาสเวิร์ดเท่าๆ กัน ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 40% กล่าวว่า มีพาสเวิร์ดน้อยกว่าบัญชีออนไลน์ และจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งระบุว่าเก็บพาสเวิร์ดไว้ในที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น เขียนพาสเวิร์ดไว้ในกระดาษจด
เมื่อต้องติดตั้งซอฟต์แวร์และดาวน์โหลดไฟล์ กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าจะมีความใจร้อนกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 26% บอกว่า จะข้ามรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ เ วลาติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจจะหมายความว่า ผู้ใช้จะไม่รู้ตัวว่าอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลประเภทไหนบ้าง มีโปรแกรมใดที่ติดตั้งเพิ่มเติมขึ้นมา หรือระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ให้สัมภาษณ์อายุมากกว่า 45 ปี จำนวน 12% ไม่ให้ความสนใจกับตัวหนังสือขนาดเล็ก กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าได้แสดงความไม่ระมัดระวังเวลาดาวน์โหลดไฟล์เช่นเดียวกัน โดยจำนวนหนึ่งในสาม (31%) ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่มาที่ต่างกัน เทียบกับ 10% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อาวุโสกว่า
กลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปีจำนวนหนึ่งในสี่ (24%) ยกเลิกการใช้งานโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย หากโซลูชั่นไม่อนุญาตให้ติตตั้งซอฟต์แวร์ ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อาวุโสจำนวน 13% จะทำอย่างเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จากผลวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป เมื่อเจอสิ่งที่อาจเป็นภัยคุกคาม กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าจะมีประสบการณ์มากกว่าในการระบุว่าเป็นภัยมัลแวร์ สำหรับประเด็นการดาวน์โหลดเพลงจากตัวอย่างสี่ประเภท ผู้ให้สัมภาษณ์ที่อายุน้อยกว่าจำนวนหนึ่งในสาม (30%) เลือกไฟล์ที่อันตรายมากที่สุดคือ ‘.exe’ ขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีจำนวนเกือบครึ่ง (42%) เลือกไฟล์ประเภทนี้ สำหรับตัวเลือกที่ปลอดภัยคือ ‘.wma’ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นอาวุโสกว่าเลือกดาวน์โหลดเพียงแค่หนึ่งในห้า แต่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นเยาว์มีอัตราการเลือกสูงกว่าคือ 29%
เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ที่ได้รับการควบคุมน้อย กลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้นมักจะรู้ว่าโดนโจมตีโดยมัลแวลร์วายร้าย ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปีจำนวน 57% ได้รับผลกระทบจากมัลแวร์ในปี 2015 เมื่อเทียบกับผู้ที่อาวุโสกว่าจำนวน 34% เหยื่อที่มีอายุมากกว่าระบุว่า ตนไม่เข้าใจว่าติดไวรัสได้อย่างไรจำนวน 17% เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปีที่มีจำนวนเพียง 10% เนื่องจากขาดประสบการณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงทางโลกออนไลน์
เดวิด เอมม์ หัวหน้านักวิจัยด้านความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลป แสดงความคิดเห็นว่า “เห็นได้ชัดว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงอายุมีความเสี่ยงเรื่องข้อมูลส่วนตัวน้อยกว่า เมื่อเจอกับภัยคุกคามไซเบอร์ ผู้สูงวัยจะมีความรู้เรื่องการจำแนกและจัดการปัญหาภัยไซเบอร์ได้น้อยกว่า ด้วยขาดสัญชาตญาณในการป้องกันภัยดิจิตอล ดังนั้น การระมัดระวังและตื่นตัวในเรื่องออนไลน์และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่มอายุ ไม่ว่าจะใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยแค่ไหน หรือใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไร ผู้ใช้ควรมีโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่สามารถครอบคลุมการป้องกันทั้งหมดตั้งแต่ดาวน์โหลด ติดตั้งไฟล์ และการสื่อสารออนไลน์ทุกช่องทาง”