ที่มา: anngle

จากการศึกษาพบว่าสมองคนมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ (neuroplasticity) ไปจนถึงวันสิ้นอายุขัย การที่สมองยืดหยุ่นและปรับตัวได้เกิดจากการที่สมองสร้างเซลล์ประสาทใหม่ได้ (neurogenesis) ซึ่งส่งเสริมให้การทำงานของระบบประสาทมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการรับรู้และความจำที่ดีแม้เข้าสู่วัยชรา

BR7

ปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้สมองสร้างเซลล์ประสาทใหม่ได้ไปจนถึงวันสิ้นอายุขัย

การสร้างเซลล์ประสาทใหม่มีความสัมพันธ์กับความสุขและสุขภาพที่แข็งแรง วิถีการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นดังต่อไปนี้เป็นอาจเป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมให้สมองคนสร้างเซลล์ประสาทใหม่อยู่ตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง

1. วิถีการกินอาหารและอาหารต่างๆ

คนญี่ปุ่นมีวิถีการกินอาหารที่จำกัดการรับแคลอรี่เข้าสู่ร่างกาย เช่น การกินอาหารในปริมาณส่วนที่น้อยไม่ตามใจปากและกินเพียง 80% ของปริมาณที่อิ่มซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในโอกินาวาอันเป็นสถานที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเกินร้อยปีที่มากที่สุดในโลก ทั้งนี้การจำกัดแคลอรีจะช่วยยืดอายุของชีวิตและชะลอการเกิดสมองเสื่อม นอกจากวิถีการกินแล้วอาหารที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทานหลายชนิดอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 คลอโรฟิลและสารซึ่งส่งเสริมการสร้างเซลล์ประสาทได้แก่

BR2

  • ปลาดิบ ซูชิ และปลาต่างๆ โดยเฉพาะปลาแซลมอน ปลาทูน่าและปลาซาบะ เป็นต้น เป็นปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ของสมอง
  • สาหร่ายต่างๆ ที่อุดมไปด้วยคลอโรฟิลซึ่งเป็นทำหน้าที่กำจัดพิษจากกระแสเลือดและสามารถกระตุ้นการสร้าง GLP-1 (glucagon-like peptide-1), ซึ่งเป็นสารส่งเสริมการสร้างเซลล์ประสาทใหม่
  • ชาเขียว อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ คลอโรฟิลและ แอล- ธรีอะนีน (L-theanine) ซึ่งช่วยในการสร้างเซลล์ประสาทใหม่และส่งเสริมให้เกิดวามจำที่ดี
  • ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองต่างๆ ซึ่งอุดมไปด้วยโอเมก้า-3 และเลซิตินซึ่งส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความจำ
  • การกินผักใบสีเขียวต่างๆ เช่น ปวยเล้ง บล็อกโครี่ กะหล่ำปลีและผักกวางตุ้งซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยในการทำงานที่ดีของระบบประสาท เป็นต้น

BR6

2. การออกกำลังกาย

สังคมญี่ปุ่นส่งเสริมให้ประชากรของประเทศออกกำลังกายตั้งแต่เล็กจนโตเป็นผู้ใหญ่และเข้าสู่วัยชรา ผู้คนมักมีการรวมกลุุ่มกันเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้บริการการขนส่งมวลชนเป็นหลักและใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยทำให้ชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นต้องเดินอย่างน้อย 30 -60 นาที การออกกำลังกายมีผลเป็นอย่างมากในการส่งเสริมให้สมองสร้างเซลล์ประสาทใหม่

3. การมีสมาธิในสิ่งที่ทำในปัจจุบัน

คนญี่ปุ่นได้ถูกปลูกฝังตั้งแต่เล็กให้เรียนและทำงานด้วยความหมั่นเพียรและมีความรู้สึกดีกับสิ่งที่ได้ทำ เหล่านี้เป็นการสร้างสมาธิในการทำงานซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการเจริญสติแบบสมัยใหม่ตามวิถีของศาสนาชินโต การมีสมาธิที่สะสมกันมาเป็นเวลานานจะมีผลดีในการเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อสมองส่วนสีเทา (Grey matter) ซึ่งเนื้อเยื่อส่วนนี้ ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาท นอกจากนี้การมีสมาธิยังส่งผลในการลดการหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียดชื่อคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งหากร่างกายหลั่งฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อการทำงานของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ

BR0

4. การมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการมีวิถีชีวิตที่สุขได้ง่ายของผู้สูงอายุ

หลังจากเกษียณอายุการทำงานคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในวัยเกษียณกับกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปเที่ยวในที่ต่างๆกับทัวร์ผู้สูงอายุ การมีกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น การวาดรูป ร้องเพลง เรียนเขียนอักษรพู่กันจีน เรียนภาษาต่างๆและแต่งโคลงกลอนเป็นต้น ซึ่งการมีกิจกรรมได้ทำอย่างสม่ำเสมอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สมองมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ ป้องกันการเกิดอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

สิ่งสำคัญที่ทุกคนสามารถทำได้เพื่อการมีชีวิตที่มีความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรงและคงไว้ซึ่งความจำที่ดี คือการคิดในด้านบวก การเลือกกินอาหารที่มีแคลอรีต่ำและดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ หาเวลาที่เงียบๆให้กับตัวเองในแต่ละวันและไม่เลิกหรือหยุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆที่ตัวเองชอบ

เรื่องน่าสนใจ