เนื้อหาโดย Dodeden.com

gotoknow.org

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานหลักปรัชญาเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้แก่ประชาชนชาวไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ก่อนวิกฤติทางเศรษฐกิจต้มยํากุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2540 จะเกิดขึ้นซะอีก จะเห็นว่าหลักปรัชญาของพระองค์นั้น ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยจริงๆ

พระองค์ทรงรับสั่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงว่า การพัฒนาบ้านเมือง ก็เหมือนกับการสร้างบ้าน หากเราจะสร้างบ้านสองชั้น เสาเข็มที่วางเป็นรากฐานบ้านก็ต้องรับน้ำหนักได้สองชั้น ไม่สามารถรับได้มากกว่านั้น ดังนั้น หากเราจะพัฒนาบ้านเมือง ก็ต้องคํานึงถึงรากฐานของประเทศด้วยเช่นเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นแล้วว่า ประเทศเรามีฐานในภาคการเกษตรเป็นหลัก และยังมีประชาชนในพื้นที่ชนบทที่ยากจนอยู่เป็นจํานวนมาก ถึงแม้ประชาชนในประเทศบางคนมีเงินมาก แต่บางคนก็ไม่มีเลย พระองค์จึงทรงอยากให้สร้างพื้นฐานความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน

เมื่อพื้นฐานมั่นคงแล้ว จึงค่อยสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นต่อไป ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ที่ว่า

gypznuchchaba

“…การพัฒนาประเทศ จําเป็นต้องทําตามลําดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชน ส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด…”

ซึ่งหัวใจหลักของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น คือการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยท่านให้หลักปฏิบัติอยู่ 3 ประการ โดยวางบนอีกหนึ่งรากฐานที่สําคัญ ดังนี้

ความพอประมาณ
คือความพอดี ไม่น้อยไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น หากวางแผนจะทํางานสักอย่าง ให้พิจารณาศักยภาพตนเองก่อน ว่ามีโอกาสพอที่จะทําได้หรือไม่ไม่ใช่ไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาลงทุนบางอย่างที่มากเกินตัว และพิจารณาตามศักยภาพแล้ว ไม่สามารถใช้หนี้ได้แน่ๆ

ความมีเหตุผล
ก่อนที่จะตัดสินใจ จะต้องใช้เหตุและผล พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลดีและผลเสียที่อาจเกิดจากการกระทํานั้นๆ อย่างรอบคอบ ไม่จําเป็นต้องตามกระแสของ โลกหรือสังคม

matichon.co.th

ภูมิคุ้มกัน
คือการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงตลอดเวลา ดังนั้น เราต้องสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้ เช่น ราคาน้ำมันที่ขึ้นสูงมาก หากนําไบโอดีเซลมาใช้ทดแทน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันที่ผันแปรได้ เป็นต้น ซึ่งหลักการทั้งสาม ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและคุณธรรม ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทนและความ เพียร ใช้สติและใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไม่ได้ใช้เฉพาะเกษตรกรหรือคนยากจนเท่านั้น แต่ใช้ได้ในทุกองค์กร ทุกอาชีพ ถึงแม้จะมีเงินมาก ก็ควรใช้หลักการของความพอเพียงด้วยเช่นเดียวกัน

“…คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่าทําอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้ อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทําอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…” 

เรื่องน่าสนใจ