เนื้อหาโดย Dodeden.com

ทำไมการที่เราอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นจนอุณหภูมิติดลบแค่ครู่สั้นๆ ถึงทำให้นิ้วเรากุดได้ เรามีความรู้เกี่ยวกับโรคความเย็นกัดมาฝากกันค่ะ

หลอดเลือดหดตัว
เวลาที่อากาศข้างนอกเย็นจัด ร่างกายจะพยายามรักษาระดับอุณหภูมิของอวัยวะสำคัญๆ โดยทำให้หลอดเลือดในอวัยวะส่วนที่ยื่นออกมา อย่างนิ้วมือ นิ้วเท้า หู จมูก และอัณฑะ เกิดการหดตัวเลือดจะได้ไหลย้อนกลับไปยังอวัยวะสำคัญ

เซลล์กลายเป็นน้ำเเข็ง
ภายในเวลาแค่ 30 นาทีที่ไม่มีการไหลเวียนของเลือดอุ่นๆ ระดับอุณหภูมิของผิวหนังจะดิ่งจนต่ำพอๆ กับระดับอุณหภูมิของอากาศข้างนอก ความชื้นที่แทรกอยู่ทั้งข้างในและรอบๆ เซลล์ผิวหนังจึงเริ่มก่อตัวเป็นผลึกน้ำแข็งและทำให้เราเป็นโรคความเย็นกัดระดับที่ 1 ซึ่งเรียกว่า ฟรอสนิป (Frostnip)

ผิวซีด
พอระดับอุณหภูมิของเลือดต่ำลง เกล็ดเลือดกับเซลล์เม็ดเลือดแดงก็จะเเข็งตัว และการไหลเวียนเลือดจะยิ่งมีปัญหา

น้ำแข็งก่อตัว
ถ้าเราไม่เริ่มละลายน้ำแข็งโดยเร็ว ความเย็นก็จะยิ่งกัดลึกและเพิ่มความรุนเเรงเป็นระดับที่ 3 ซึ่งน้ำแข็งจะก่อตัวรอบเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูก และเลือดที่หนืดขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไม่สามารถส่งอ๊อกซิเจนไปยังจุดที่โดนความเย็นกัดได้

เนื้อตาย
พอไม่ได้รับอ๊อกซิเจน เนื้อเยื่อก็จะตาย นี่คือโรคความเย็นกัดระดับที่ 4 ซึ่งเราควรจะรีบขอความช่วยเหลือทันที เพราะอ๊อกซิเจนจะช่วยคงสภาพเนื้อเยื่อได้ แม้จะได้รับในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม โดยแพทย์จะจัดการกับเนื้อส่วนที่กลายเป็นน้ำแข็งด้วยการเเช่น้ำอุ่นจนน้ำเเข็งละลายและอาจให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อให้เลือดกลับมาไหลเวียนได้ตามเดิมด้วย

ถึงเเม้ว่าสภาพภูมิอากาศบ้านเราจะเอื้อให้เกิดโรคนี้ได้น้อยมาก แต่ยังไงซะรู้ไว้ก็ไม่เสียหาย เผื่อได้ไปเที่ยวประเทศที่มีหิมะตกเเล้วเกิดเหตุร้ายเเรงขึ้น จะได้มีหนทางไว้ป้องกันตัวเองค่ะ ^^

ป้ายกำกับ: |

เรื่องน่าสนใจ