ที่มา: dodeden

ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า หลังจากกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ด้วยชุดบริการ RRTTR” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนโลกด้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย หรือ “The Global Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria ; GFATM” ในรอบการจัดทุนรูปแบบใหม่ หรือ “New Funding Model; NFM”

ทั้งนี้ เพื่อยุติปัญหาเอดส์ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยลดการติดเชื่อรายใหม่ให้ต่ำกว่า 1,000 คน จากการคาดการประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่

รวมทั้ง เพื่อลดอัตราความชุกวัณโรค จาก 159 ต่อแสนประชากร เป็น 120 ต่อแสนประชากร ระหว่างปี พ.ศ.2558 ถึง พ.ศ. 2562 กลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด  พนักงานบริการหญิงและพนักงานบริการชาย ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง ฯลฯ

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม ได้รับเอกสาร จาก ภาคีสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ 7 วิชาชีพ ประกอบด้วย แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สัตวแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ และสภากายภาพบำบัด ได้ประชุมและ เห็นด้วยกับมติทั้ง 7 วิชาชีพ

 

โดยให้ นักเทคนิคการแพทย์ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตรวจคัดกรอง ภูมิคุ้มกันต่อไวรัส เอช ไอ วี  ในผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัส เอช ไอ วี  ด้วยการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว  จาก ชุดบริการ Reach-Recruit-Test-Treat-Retain: RRTTR  ที่จากเดิมกำหนดให้ พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.  เพื่อควบคุมคุณภาพ ความถูกต้อง ปลอดภัย ต่อประชาชน  

 

ตามเอกสารที่ ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม  ได้รับมาดังนี้

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)  เป็นสถานพยาบาลประจำตำบล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ได้รับการยกฐานะจากสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน

โดยเกือบทั้งหมด จะไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนที่ขนาดใหญ่พอจะเป็นหน่วยส่งต่อได้  และ มีบุคลากร ประกอบด้วย นักวิชาการสาธารณสุข  พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุข (จบ ปวท/ปวส) เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (จบ ปวท/ปวส) เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (จบ ปวท/ปวส) ฯลฯ โดยประชาชนจะเรียกกันว่า “หมออนามัย” นั่นเอง 

เรื่องน่าสนใจ