4 แอปพลิเคชันในวัน “Shut down Bangkok”

เพื่อต้อนรับวันปิดกรุงเทพหรือ shut down Bangkok ที่กลุ่ม กปปส (กลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ระบุว่าจะปิดเส้นทางจราจรและสถานที่ราชการสำคัญในวันที่ 13 มกราคม 2557 นี้ ชาวบางกอกและชาวต่างชาติที่ยังมีภารกิจต้องเดินทางในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครควรดาวน์โหลด 4 แอปพลิเคชันนี้เพื่อการใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้นและไม่ต้องเครียดกับสภาพรถติดจนเกินไป

     1. นกหวีดไฮเทค

557000000312802
แอปพลิเคชันนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการร่วมประท้วงแต่ยังไม่มีนกหวีดเป็นของตัวเอง การติดตั้งแอปพลิเคชัน Whistle for Thai จะทำให้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (Android) สามารถส่งเสียงนกหวีดออกมาโดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือลมหายใจในการเป่าแต่อย่างใด

  2. รายงานจราจรทันใจ
557000000312803

ไม่เพียง Google Map ยังมีแอปพลิเคชันอย่าง BMA Live Traffic ที่ผู้ใช้อุปกรณ์ iOS จะสามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์ได้จากกล้อง CCTV ตามท้องถนนของกรุงเทพมหานคร ขณะที่ผู้ใช้ Android แอปพลิเคชันอย่าง Bangkok Traffic ถือเป็นตัวเลือกที่ดีซึ่งจะช่วยให้การเดินทางในกรุงเทพฯทำได้อย่างสะดวกกว่าเดิม

อีกหนึ่งช่องทางรายงานสภาพการจราจรและรับข้อมูลอัปเดทเหตุการณ์บนถนนในกทม.คืแอปพลิเคชันสวพ FM 91 ซึ่งผู้ใช้สามารถร่วมกันรายงานสภาพจราจรได้แบบเรียลไทม์เช่นกัน

 3. รู้ทันแท็กซี่-รถไฟฟ้า

557000000312804

เส้นทางขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯถือเป็นประเด็นใหญ่ระหว่างที่กรุงเทพฯถูก shut-down ผู้ที่ต้องการโดยสารรถแท็กซี่ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชันอย่าง Easy Taxi ของ Rocket Internet และสตาร์ทอัปดาวรุ่งอย่าง Grab Taxi เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีต้องรอรถนานเกินไป

แต่หากใครที่กังวลว่าโดยสารรถแท็กซี่แล้วจะต้องติดแหงกบนท้องถนน ระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้า BTS และ MRT ถือเป็นตัวเลือกที่ดี จุดนี้ใครที่ยังไม่เชี่ยวชาญสามารถใช้แอปพลิเคชัน BangkokGate เพื่อศึกษาเส้นทางในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทในกรุงเทพฯ โดยแอปเปิลให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้แม้ไม่ได้ออนไลน์อยู่

  4. รับมือเหตุฉุกเฉิน

557000000312805

ไม่มีใครอยากให้เกิดสถานการณ์เลวร้ายกับตัวเอง แต่หากกรณีนั้นเกิดขึ้น เราสามารถใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันที่จะทำให้ความช่วยเหลือมาถึงจุดเกิดเหตุได้เร็วยิ่งขึ้น จุดนี้ลูกค้า Dtac สามารถใช้แอปพลิเคชันเพื่อติดต่อกับศูนย์ช่วยเหลือของสายด่วน ร่วมด้วยช่วยกัน” ด้วยการกดปุ่ม SOS จากแอปเพื่อขอวามช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเมื่อปุ่ม SOS ถูกกด เสียงหวอจะดังขึ้นเหมือนไซเรนรถตำรวจ โดยระบบจะส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปยัง 3 เบอร์ล่าสุดที่ถูกโทรออกโดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชัน BES I lert U พัฒนาโดยกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ผู้ใช้สามารถติดต่อกับศูนย์รถพยาบาลและศูนย์ฉุกเฉินได้ด้วยการระบุพิกัดจุดที่อยู่ในขณะนั้นบนแผนที่ เพื่อให้โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดสามารถส่งทีมแพทย์ไปดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อการรักษาเต็มรูปแบบต่อไป

 
Credit : http://www.manager.co.th

 

เรื่องน่าสนใจ