ที่มา: dodeden

วันนี้ (26 กันยายน 2559) นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันที่ 27 กันยายน 2559นี้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 จะมีผลบังคับใช้กับธุรกิจสปา นวดเพื่อสุขภาพ หรือเสริมความงามที่คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ และมีบุคลากรในสายธุรกิจนี้ไม่ต่ำกว่า 100,000 คน

กรม สบส.ได้วางระบบความพร้อมในการขออนุญาตประกอบกิจการ ที่กรม สบส. และที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ผู้ที่เปิดกิจการอยู่แล้วในระหว่างทียื่นขอใบอนุญาตสามารถดำเนินการต่อได้ โดยใช้เอกสารที่ออกให้แทนใบอนุญาตแสดงที่จุดบริการ ไม่ต้องปิดกิจการแต่อย่างใด

1932199_646612508720628_1340147852_n

การออกใบอนุญาตฉบับจริงจะใช้เวลาประมาณ 60 วัน หลังจากได้ตรวจสอบว่ามีมาตรฐานครบถ้วน ได้แก่ สถานที่สะอาด, ผู้ประกอบการ/ผู้ดำเนินการมีคุณสมบัติครบถ้วน, ผู้ให้บริการผ่านการอบรมจากหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง และมีมาตรฐาน, การให้บริการ และความปลอดภัยขณะให้บริการ

 “พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีเจตนารมณ์หลักเพื่อส่งเสริมคุณภาพ มาตรฐาน การดำเนินธุรกิจสปา-นวดโดยตรง เป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกไม่มีในต่างประเทศ จึงมั่นใจได้ว่าจะช่วยผลักดันธุรกิจนี้ รวมทั้งสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ที่อยู่ในสายอาชีพนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยตรง

และตั้งแต่บัดนี้ธุรกิจสถานประกอบการเพื่อสุขภาพของไทยจะไม่มีบริการแอบแฝงใดๆทั้งสิ้น เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของนวดไทยให้สมศักดิ์ศรี ความเป็นมรดกของภูมิปัญญาไทย และจะเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมในอนาคต” อธิบดีกรม สบส.กล่าว

thumbnail_26-9-59

ด้าน นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ในการกำหนดมาตรฐานบริการของสปา กรม สบส.ได้กำหนดให้สปาทุกแห่งต้องมีบริการ 3 ประเภท

ได้แก่ การบำบัดด้วยน้ำ การนวดร่างกาย พร้อมบริการเสริมอีกอย่างน้อย 3 อย่าง ซึ่งขณะนี้กรม สบส. ได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเภท ได้แก่ 1.การบริการที่ใช้ความร้อนที่ให้ผลผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ผิวหนัง เช่น การประคบหินร้อน ซาวน่า การพันร้อน ผ้าห่มร้อน Sand Bath 2.การบริการที่ใช้ความเย็น ที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อผิวหนังหดตัว เช่น การประคบตัว 3.การบริการผิวกาย (Body Treatment)

เช่น การทำความสะอาดผิว บำรุงผิว ขัดผิว พอกผิว พันตัว 4.การบริการผิวหน้า (Facial Treatment) เช่น การปรับสภาพผิว ขัดผิว นวดหน้า พอกหน้า บำรุงผิวหน้า 5.การบริการที่ใช้ศาสตร์และเทคนิคต่างๆที่ทำให้เกิดการผ่อนคลายจิตใจ อารมณ์

เช่น คลื่นเสียงบำบัด (Sound Therapy) รงคบำบัด (Color Therapy) 6.การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เช่น ฟิตเนส ฟิตบอล ไทเก๊ก ไทชิ ชกมวย 7.โยคะ 8.ฤาษีดัดตน 9.การทำสมาธิ10.อาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้สปา แตกต่างสถานบริการทั่วไปอย่างสิ้นเชิง

นายแพทย์ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผู้อำนวยการกองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กล่าวว่า สำหรับกิจการสปาจะต้องมีผู้ดำเนินการที่มีวุฒิบัตรรับรอง โดยผู้ที่ได้รับการรับรองจากกรม สบส.มาแล้ว สามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ให้ยื่นเรื่องขออนุญาตตามกฎหมายฉบับนี้ภายใน 180 วัน

ส่วนผู้ดำเนินการที่ยังไม่มีใบอนุญาต จะต้องสอบเป็นผู้ดำเนินการที่กรม สบส. โดยจะมีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการขอใบอนุญาตฯ ที่กรม สบส. ในวันที่ 29 กันยายน 2559 นี้

เรื่องน่าสนใจ