ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงาน ว่า คนไทยหลายคนเคยได้ยินและรู้จักประเทศภูฏาน ในฐานะที่เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับความสุขของประชาชนไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ โดยเฉพาะระบบบริการสุขภาพ และการสาธารณสุขของประเทศภูฏาน จะพบว่าระบบสุขภาพได้อิงบนหลักการพัฒนาแบบองค์รวมด้วยเช่นกัน กล่าวคือให้ความสำคัญมิติทางสุขภาพไม่น้อยไปกว่ามิติทางสังคม
สำหรับ ประเทศภูฏาน มีโรงพยาบาลทั้งหมดประมาณ 31 แห่ง [ บวกลบ ) แบ่งเป็น โรงพยาบาลแห่งชาติ (National Referral Hospital) ขนาด 350 เตียง, โรงพยาบาลประจำภูมิภาค, โรงพยาบาลอำเภอ (ขนาด 20-40 เตียง) 26 แห่ง และโรงพยาบาลแพทย์พื้นบ้านอีก 1 แห่ง
โดยมีเตียงสำหรับผู้ป่วย 1,232 เตียง โดยมีหน่วยบริการสุขภาพในระดับตำบล ( Basic Health Units ) 176 แห่ง และคลินิกย่อยในหมู่บ้าน(out-reach clinics) อีก 514 แห่ง โดยในทุกอำเภอจะมีการให้บริการการแพทย์พื้นบ้านแบบภูฏานไว้ให้บริการผู้ป่วยด้วย
ที่สำคัญคือ จำนวนบุคคลการสาธารณสุขมีกว่า 3,787 คน หมอ 187 คน, พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล 556 คน, หมอแผนโบราณ 43 คน, เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย (Basic health workers) 169 คน, เภสัชกร 11 คน ที่น่าสนใจคือที่นี้มีอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (Village health worker) ด้วยเช่นกัน ประมาณพันกว่าคน คล้ายๆ กับ อสม.บ้านเรา
สิ่งที่น่าสนใจ คือ จำนวนทรัพยากรและบุคลากรทางสุขภาพดูมีจำนวนไม่มาก แต่หากดูสัดส่วนของหมอเทียบกับจำนวนประชากร หมอ 1 คนของภูฏานดูแลประชากรประมาณ 3,720 คน ปัจจุบันประชาชนชาวภูฏานสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้สูงถึง 90 % ของจำนวนประชากร ถึงแม้ว่าภูมิประเทศจะเป็นภูเขาและมีการเดินทางที่ลำบาก
และถึงแม้จะมีทรัพยากรทางด้านสุขภาพอย่างจำกัด แต่ก็ไม่ได้กระทบกระเทือน “นโยบายรักษาฟรี” ของรัฐบาลของภูฏานแต่อย่างใด เพราะในรัฐธรรมนูญของภูฏาน มาตรา 9 ระบุว่า
“รัฐมีหน้าที่จัดให้มีการบริการสุขภาพแก่ประชาชนฟรี ทั้งแผนปัจจุบันและแผนพื้นบ้าน” รัฐบาลจึงยังคงมุ่งให้บริการการรักษาและจัดให้มียาที่จำเป็นแก่ประชาชนทุกคนฟรี นอกจากนี้คนภูฏานยังมีสิทธิในการเลือกรักษาว่าจะรักษาแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์พื้นบ้าน คล้ายๆ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ของไทย
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงาน นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ได้นำทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเอกเอกชนที่มีจิตอาสา
เช่น นายแพทย์กำพล พลัสสินทร์ ผู้บริหาร กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ และ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ มาออก medical camp ที่ประเทศภูฎาน ในงาน FIRST BHUTAN – THAILAND FESTIVAL 2017 ระหว่างวันที่ 9 – 11 มิถุนายน 2560 โดยมี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย
“งาน First Thailand-Bhutan festival ถือเป็นกิจกรรมในลักษณะ CSR ของประเทศไทย กับทาง ประเทศภูฏาน โดย สมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน พระองค์ท่านให้ความสนใจงานด้านสาธารณสุขอย่างมาก พระองค์ทรงอยากให้ประเทศไทยเข้ามาช่วยเหลือประชาชนของท่านด้วย
สำหรับการเข้าร่วม งาน FIRST BHUTAN – THAILAND FESTIVAL 2017 เป็นภารกิจที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบให้ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) นำทีม โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ – กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ออกหน่วยแพทย์ medical camp โดยทางเราได้นำแพทย์ บุคลากร เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ต่างๆ ไปด้วย
ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนที่มีจิตอาสา มาให้บริการอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งปรากฏว่ามีประชาชนชาวภูฏาน มาเข้ารับบริการมากมาย ซึ่งประเทศไทย ได้รับคำชื่นชมจากทางการประเทศภูฎานอย่างมาก เพราะทางภูฎานอยากให้ไทยมาช่วยเหลือ
เนื่องจาก ระบบการแพทย์ อาจจะมีปัญหาบ้าง เช่น เรื่องการเข้าถึงการบริการสุขภาพ แม้ว่าจะเป็นรัฐสวัสดิการ 100% แต่อุปสรรคคือ การคมนาคมที่อยากลำบาก ภูมิประเทศเป็นภูเขา ศักยภาพของบุคลากร รวมทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ เรื่องของงบประมาณที่มีอย่างจำกัดเมื่อเทียบกับประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยมหิดลได้ไปเยือน และพร้อมสนับสนุนความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างกระทรวงสาธารณสุขไทยและ ภูฏาน
นอกจากนี้ทางการของภูฏานได้ขอบคุณประเทศไทยที่ให้ความช่วยเหลือประเทศภูฏานอย่างเต็มที่ และขอบคุณกระทรวงสาธารณสุขไทยที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาด้านการสาธารณสุขที่เข้มแข็งมาโดยตลอดด้วย