ยุคนี้ “โรคซึมเศร้า” เป็นโรคทางด้านจิตเวชที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือปัจจัยพันธุกรรม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ( สารสื่อประสาททางสมอง ) สืบทอดจากพ่อแม่สู่ลูก และอีกปัจจัยเกิดจากทางด้านจิตใจ หรือ สิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าปัจจัยทางอารมณ์ เป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางอารมณ์
นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวกับโดดเด่นดอทคอมว่า การรักษาโรคซึมเศร้า สามารถรักษาได้ และ ไม่ควรหวั่นวิตกว่าจะอายใคร หรือ จะถูกตีตราว่าเป็นคนบ้า ซึ่งทัศนคติสำคัญมาก ดังนั้นการรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด
“ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หากรู้ตัวเอง ต้องพบแพทย์ให้เร็ว และ อย่างต่อเนื่องจริง ๆ ซึ่งผู้ป่วยบางคน ไปพบแพทย์ คิดว่าอาการดีขึ้นแล้ว เลยหยุดยาเอง ไม่ไปพบแพทย์ตามนัดแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว แม้อาการจะเริ่มดีขึ้น ควรต้องไปตามที่นัด เพื่อให้แพทย์ประเมิน ซึ่งแพทย์จะปรับตัวยาไปก่อนระยะหนึ่ง
โดยขณะนี้ ทาง กรมสุขภาพจิต มีเครือข่ายโรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้าทั่วประเทศ สามารถใช้สิทธิรักษาฟรีตามสิทธิของผู้ป่วยคนนั้น ซึ่งทางจิตแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน มีวิธีการบำบัดรักษา ด้วยยา หรือ เครื่องมือ แล้วแต่ระดับความรุนแรงของโรค หากประชาชนที่อยู่ไกลจากตัวเมืองก็สามารถไปรับการรักษา และ คัดกรองได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งตอนนี้มี อสม.ที่มีความรู้ทางด้านโรคจิตเวชทั่วประเทศแล้วครับ”
ทั้งนี้ หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต ภาคกลาง ( กรุงเทพมหานครและปริมณฑล )
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคใต้