ที่มา: voicetv

โครงการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ – เมืองเดินดี โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ UddC กำลังก้าวเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการดำเนินการแล้ว หลังจากเริ่มต้นระยะที่ 1 “เมืองเดินได้” เมื่อปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ด้วยการศึกษาศักยภาพ และจัดทำแผนที่ศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดิน (accessibility index) ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

01

การศึกษาเบื้องต้น พบว่า ย่านสยาม-ปทุมวัน ย่านราชประสงค์-ประตูน้ำ และย่านสีลม- สาทร มีศักยภาพในการเข้าถึงด้วยการเดินมากที่สุด ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม คำว่า “เมืองเดินได้” ยังไม่การันตีว่าจะเดินได้ดีหรือไม่ ดังนั้น ระยะที่ 2 ของโครงการ หรือ “เมืองเดินดี” จึงเป็นการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่ยุทธศาสตร์ และจัดทำดัชนีเมืองเดินดี (walkability index) เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบทางเดินเท้า ที่เหมาะสมกับการเดินต่อไป

02

การประชุมเชิงปฏิบัติการในระยะที่ 2 ของโครงการกรุงเทพฯ เมืองเดินได้-เมืองเดินดี ก็ได้รับความร่วมมือของหลายภาคส่วน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถึงภาพในฝันของทางเดินเท้า ตลอดจนสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

ความคิดเห็นร่วมกันข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ภาครัฐควรพัฒนาเมืองโดยให้ความสำคัญกับทางเดินเท้าเป็นลำดับที่ 1 / เนื่องจาก เป็นสาธารณูปโภคที่เข้าถึงคนทุกคน ในขณะที่ประชาชนทุกคนควรตระหนักถึงสิทธิในการใช้ทางเท้าอย่างมีคุณภาพด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน บนผิวการจราจรในกรุงเทพมหานคร มีประชาชนที่ใช้งานรถยนต์ส่วนบุคคล ประมาณ 30 เปอร์เซนต์ ขณะที่คนส่วนใหญ่ ประมาณ 70 เปอร์เซนต์ที่เหลือ คือ ประชาชนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะและการเดินเท้า การพัฒนาที่มุ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะรถส่วนบุคคลจึงถือเป็นความเหลื่อมล้ำอย่างหนึ่งในสังคม

เรื่องน่าสนใจ