ที่มา: paolophahol.com

นาฬิกาชีวิต ในร่างกายคนเรา หมุนเป็นเวลาเท่ากันหรือเปล่านะ? Biological Clock หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ นาฬิกาชีวิต เป็นสิ่งที่ถูกติดตั้งไว้ในร่างกายมนุษย์ ที่จะคอยบอกเวลาให้เราตื่นในยามเช้า หลับในตอนกลางคืน หรือทานอาหารในช่วงเช้า กลางวัน และเย็น บอกเวลาในการออกกําลังกาย รวมถึงเวลาขับถ่าย

นาฬิกาชีวิต

 

นาฬิกาชีวิต กับการสร้างสมดุล คืนความสดใสให้ร่างกาย

ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ จะมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ คือกลางวันและกลางคืน และระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบฮอร์โมน จึงเป็นข้อสงสัยว่าปัจจุบัน ที่ผู้คนทํางานกลางคืนทั้งที่เป็นเวลา หลับนอนตามกฎของนาฬิกาชีวิต แต่ยังคงดําเนินชีวิตอยู่ได้ ทั้งที่ดูเป็นการฝืนธรรมชาติ หรือนาฬิกาชีวิตสามารถปรับกลางวันให้เป็นกลางคืนได้ เรามีความรู้มาไขข้อสงสัยกันค่ะ

นาฬิกาชีวิตของแต่ละคน เหมือนกันหรือไม่ ?
คนที่ทำงานกลางคืนในระยะยาวมักจะพบว่า เมื่ออายุมาก จะมีอัตราพบเรื่องของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือดในสมองมากกว่าคนที่นอนปกติ เพราะชีวิตเสียสมดุล ถ้าไม่เชื่อ ลองสังเกตดูตัวเองหากไม่นอนหนึ่งคืนแล้วชดเชยด้วยการนอนกลางวัน เราเองก็ยังรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาไม่สดใส ยังไงก็ต้องนอนตอนกลางคืน ดังนั้น นาฬิกาของทุกคนจึงเหมือนกัน

คนที่ทำงานตอนกลางคืน แล้วใช้เวลากลางวันในการนอน
แต่ปรับแสงให้มืดเหมือนเช่นตอนกลางคืน เพื่อหลอกร่างกาย ทำได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ เพราะนาฬิกาถูกตั้งมาให้รับกับธรรมชาติ คือพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก สังเกตดูเวลาเดินทางไปต่างประเทศที่เวลากลางวันกับกลางคืนสลับกัน เช่น อเมริกา แม้ว่าเราเดินทางไปถึงตอนกลางวันที่มีแสงแดด เราก็ยังรู้สึกง่วง เพราะนาฬิกาชีวิตเราติดตั้งเช่นนี้ แต่สักระยะหนึ่ง เราจะปรับได้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ กล่าวคือ ร่างกายจะปรับเข้าหาธรรมชาติ แต่สำหรับคนที่ทำงานกลางคืน แล้วนอนกลางวันได้นั้น เป็นเพียงความเคยชินเท่านั้นเอง แต่นาฬิกาชีวิตไม่ได้ปรับ

เมื่อเราใช้ร่างกายสลับกับนาฬิกาชีวิต อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง?
ปัญหาเบื้องต้นคือการนอนไม่พอ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ใช้ชีวิตตามระบบของนาฬิกาชีวิต เพราะโดยปกติ คนเราควรนอน 1 ใน 3 เวลาชีวิตตามรอบนาฬิกาชีวิต เราควรตื่นนอนช่วง ตี 5-6 โมงเช้า เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol) จะหลั่ง ซึ่งเป็นฺฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เราลุกขึ้นมาทำงาน โดยฮอร์โมนชนิดนี้ จะดึงน้ำตาลในร่างกายไปใช้ เพื่อสร้างพลังงาน เมื่อน้ำตาลถูกนำไปใช้ เราจะรู้สึกหิว ในช่วงเวลา 7-8 โมงเช้า และเราต้องทาน และ 4 ชั่วโมงต่อมา เราก็จะต้องทานอีกครั้ง เนื่องจากน้ำตาลในเลือดเริ่มต่ำลง

กระทั่งเวลา 22.00 น. ร่างกายเราจะเริ่มสร้างเมลาโทนิน ทำให้เราเริ่มง่วงนอน เข้าสู่สภาวะการหลับ ซึ่งเมลาโทนินทำหน้าที่หลายอย่าง นอกจากเรื่องภาวะการนอน เช่น ในการต้านอนุมูลอิสระที่คอยทำร้ายเซลล์ จึงไม่แปลก หากผู้หญิงที่อดนอน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

เราควรปรับนาฬิกาชีวิตอย่างไร?
คุณภาพของการนอนเป็นเรื่องสำคัญ คือการนอนหลับลึกโดยไม่ฝัน ไม่สะดุ้งตื่นระหว่างคืน ได้เวลาหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ นั่นหมายถึงการที่ร่างกายได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟู ทำให้อวัยวะทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้น ควรปิดไฟให้มืดสนิท และหลีกเลี่ยงการเล่น หรือดูมือถือก่อนนอน 90 นาที

…………………………………………………………………….

ในส่วนของคนที่จำเป็นต้องทำงานกลางคืน สิ่งที่ทำได้คือ การหลับในช่วงกลางวันเพื่อทดแทน และหาเวลาออกกำลังกาย ตลอดจนทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงๆ เนื่องจากการอดนอน ทำให้ภูมิต้านทานต่ำลงด้วยเช่นกัน

 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

ป้ายกำกับ: |

เรื่องน่าสนใจ