โกลเบิลโพสต์รายงานวันที่ 18 พ.ย. ว่า แม้อินโดนีเซียจะต้องการเพิ่มจำนวนตำรวจหญิงอีก จากขณะนี้ที่เข้ารับการฝึก 7,000 ราย แต่การเข้าเป็นตำรวจหญิงของอินโดนีเซียไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากคุณสมบัติอายุ 17 ปีครึ่งถึง 22 ปี สูง 165 เซนติเมตรขึ้นไป ต้องจบชั้นมัธยมฯปลาย ไม่เคยแต่งงานแล้ว ยังต้องรักษาพรหมจรรย์ด้วย

12

 กลุ่มฮิวแมนไรต์วอตช์ แถลงตำหนิมาตรการตรวจพรหมจารี ของผู้สมัครตำรวจหญิงว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศและลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ หลังพบกรณีตัวอย่างหลายรายรายหนึ่งสมัครตำรวจหญิงในปี 2556 เปิดเผยว่า ในการตรวจสุขภาพนั้นมีการตรวจภายในซึ่งตนไม่รู้มาก่อน รู้สึกอายและเครียดมาก แต่ไม่กล้าปฏิเสธ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่ได้เป็นตำรวจ

อีกรายเผยว่า คาดไม่ถึงว่าการตรวจจะเป็นเช่นนี้ เพราะทุกคนต้องถอดเสื้อผ้าออกต่อหน้าผู้สมัครอื่นๆ 20 คน และการตรวจพรหมจารีนห้องที่แยกออกไปนั้น ไม่มีประตู การตรวจทำให้ตนเครียดมาก และกลัวว่า ตรวจครั้งนี้แล้ว ตนจะไม่บริสุทธิ์อีก เพราะทีมตรวจใช้นิ้่วสองนิ้วสอดใส่เข้าไปตรวจ เจ็บมาก เพื่อนคนหนึ่งถึงกับเป็นลม เพราะเจ็บจริงๆ การตรวจเช่นนี้ไม่จำเป็นเลย ทั้งเจ็บและอับอาย

ด้านนายรุสเดียนโต หัวหน้าศูนย์สุขภาพ ประจำสำนักงานตำรวจ กล่าวว่า การตรวจไม่ได้มีเพียงตรวจพรหมจารี  แต่ตรวจอวัยวะสืบพันธุ์และกระเพาะปัสสาวะด้วยว่า มีเชื้อหรือการติดเชื้อหรือไม่ เมื่อนักข่าวถามว่า การตรวจพรหมจารีจำเป็นจริงหรือ นายรุสเดียนโตกล่าวว่า การตรวจทุกอย่างทำเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผู้สมัครที่ดีที่สุด

ศรีรุมิอาติ คณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นสตรี กล่าวกับฮิวแมนไรต์ว่า  พยายามให้ยกเลิกมาตรการตรวจพรหมจารีาหลายครั้งแล้ว หลังจากตนเองก็เคยถูกตรวจเมื่อ 30 ปีก่อน แต่คำโต้แย้งที่ได้รับคือ “เราอยากได้โสเภณีมาเป็นตำรวจงั้นหรือ”

แอนดี้ เยนตรียานี คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการต่อต้านความรุนแรงต่อสตรี กล่าวว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่อินโดนีเซียถกเถียงกันเรื่องนี้ เมื่อปีก่อน ทางหน่วยงานการศึกษาของเมืองในสุมาตรา ถึงกับขอเพิ่มมาตรการตรวจพรหมจารีในโรงเรียนมัธยมปลาย ยังดีที่ถูกต่อต้านมาก จนถอนออกไป ความจริงแล้วการให้ความรู้ด้านเพศศึกษาเป็นประโยชน์มากกว่าวิธีนี้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

2012-11-21_101152

 

ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE5qTXpOVEV5TlE9PQ==&subcatid=

เรื่องน่าสนใจ