พังผืดในร่างกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร มีความเกี่ยวข้องกับการอักเสบซ้ำๆ จริงหรือไม่? อันที่จริงแล้ว พฤติกรรมในการใช้ชีวิตของเรา มีผลในการสร้างปัญหาให้ระบบพังผืด ในส่วนของร่างกาย เช่น การชอบนั่งหลังค่อมนานๆ การต้องทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ นานๆ หรือการใช้งานร่างกายหรือทำงานหนักมากเกินไป ออกกำลังกายหนักไปโดยไม่ได้พัก
พังผืด คือ แผ่นเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่นต่ำ โดยปกติร่างกายคนเรามีพังผืดเป็นโครงสร้างอยู่แล้ว เช่น ตรงเอว เรียกว่า thoracolumbar fascia และพังผืด ที่ทำให้เกิดอาการปวด คือ พังผืดที่มาเกิดทีหลัง ซึ่งเกิดขึ้นจากกลไกการซ่อมแซมของร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับการบาดเจ็บ จะต้องมีการซ่อมแซม โดยเริ่มจากการอักเสบ จากนั้นสารอักเสบบางส่วน จะกระตุ้นให้ fibrin หรือสารตั้งต้นพังผืด ออกมาซ่อมเนื้อเยื่อ โดยปกติแล้ว มันก็จะออกมาแต่พอดี แต่สิ่งที่ทำให้เกิดเป็นพังผืดหนาตัว ก็คือ อักเสบซ้ำๆ เช่น เนื้อเยื่อไม่ทันหายดี ก็อักเสบอีกแล้ว พอกำลังซ่อมฟื้นตัว ก็อักเสบอีก มันก็จะเริ่มสร้างพังผืดเกินปกติ แล้วมันก็จะเริ่ม หดรั้ง รัดโครงสร้างเอาไว้ ทำให้เคลื่อนไหวยากขึ้น แล้วก่อให้ปวดได้นั่นเอง
ดังนั้น ไม่แปลกเลย ที่เวลาเราเกิดเจ็บปวดอะไร หมอก็จะบอกให้พัก เพราะยิ่งเราไปใช้งานซ้ำๆ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อักเสบ พังผืดก็จะถามหานั่นเอง แล้วมันก็หายยากซะด้วย ทั้งนี้ พังผืดถือเป็นการรักษาที่มีความซับซ้อน ความยากของพังผืดคือ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะไปติดกับอวัยวะอื่นด้วย การเลาะพังผืดต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้ไปโดนอวัยวะอื่น อันจะส่งผลทำให้เกิดพังผืดขึ้นมาได้อีก
………………………………………………………………..
แม้พังผืดจะมีความซับซ้อนและความยากในการรักษา แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง ด้วยทีมแพทย์ที่มีความชำนาญ สิ่งสำคัญคือ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเอง ใส่ใจตรวจสุขภาพภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้อาการรุนแรงและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ในระยะยาว
เนื้อหาโดย Dodeden.com
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่